ผลกระทบต่อการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อตา
มะเร็งดวงตา เป็นโรคมะเร็งชนิดปฐมภูมิ ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของตาและเบ้าตา

มะเร็งดวงตา คือ

มะเร็งดวงตา ( Eye Cancer ) เป็น มะเร็งชนิดปฐมภูมิกับ Adnexal Tumors ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของตาและเบ้าตา คือ Uveal Malignant Melanoma และ Retanoblastoma ถึงแม้ว่ามะเร็งดวงตาที่ส่วนของตาและเบ้าตาจะโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากก็ตาม นอกจากมะเร็งปฐมภูมิและ Adnexal Tumors ที่สามารถพบมะเร็งได้แล้ว มะเร็งชนิดทุติยภูมิที่เกิดขึ้นบริเวณเบ้าตาและตาก็มีเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดวงตา

สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งตา

ผู้ที่เป็นมะเร็งตาอาจพบอาการหรือสัญญาณเตือน ซึ่งอาการที่พบบ่อย ต่อไปนี้

  • พบก้อนเนื้อบนเปลือกตา
  • มีจุดดำบนม่านตา
  • ตาพร่า หรือสูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน
  • เห็นเงา หรือเส้นแสงกระพริบ
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือทั้งหมด
  • สีของดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
  • อาการปวดตาพร้อมทั้งมีน้ำตาไหล
  • การมองเห็นจุดเส้นหยัก หรือวัตถุลอย

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตา

1. อายุ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในลูกตาเบื้องต้น อายุโดยเฉลี่ยของการวินิจฉัยประมาณ 55 ปี ซึ่งพบได้น้อยในเด็กและผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป
2. เชื้อชาติ : เนื้องอกในลูกตาระยะแรกนั้นพบมากในคนผิวขาว แต่จะพบได้น้อยในคนผิวดำ
3. เพศ : เนื้องอกในลูกตามีผลต่อผู้ชายและผู้หญิงจำนวนเท่า ๆ กัน
4. ประวัติส่วนตัว : ผู้ที่มีอาการป่วยมีความเสี่ยงสูงในการเกิดเนื้องอกในลูกตา
5. ปัจจัยอื่น ๆ : การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าแสงแดดหรือสารเคมีบางชนิดอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในลูกตา   

งานวิจัยและการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งดวงตา 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า 3 ปี
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยมะเร็งดวงตาที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีมากกว่า 3 ปี

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งตา ระยะเฉียบพลัน

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสง และการเคมีบำดัดที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรังสีรักษาและส่วนใดของดวงตาผลข้างเคียงที่พบบ่อยบางส่วนมีดังต่อไปนี้

  • การสูญเสียขนตา
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • อาการบวมชั่วคราว
  • มีรอยแดงรอบดวงตา
  • เกิดหมอกหรือมีฝ้าจนมองไม่เห็น
  • ดวงตาขาดความชุ่มชื้น ( แห้งกร้าน )

และการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งเป็นการรักษาที่พบบ่อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีที่ได้รับการรักษา หรือเกิดขึ้นภายหลังการรักษาเพียงเล็กน้อย และจะสามารถหายเป็นปกติภายหลังหยุดการฉายรังสีไปแล้วสักระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลกระทบแบบเฉียบพลันที่แบ่งได้ตามอวัยวะที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. เยื่อตาหรือเยื่อบุตา ( Conjunctiva )
เป็นส่วนที่จะแสดงปฏิกิริยาในทันที่หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้ว อาการที่เกิดขึ้น คือ ดวงตาเยื่อจะมีสีแดง ฉ่ำไปด้วยน้ำ ตาแห้ง
2. บริเวณผิวหนัง
ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีแดงซึ่งอาการจะแสดงให้เห็นเด่นชัดในวันที่ 8 เมื่อได้รับการฉายรังสี และจะแดงชัดมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากได้รับการฉายรังสี
3. ต่อมน้ำตา ( Lacrimal Glands ) 

ดังนั้นก่อนที่จะทำการรักษามะเร็งดวงตาแพทย์ต้องทำการอธิบายและบอกถึงผลกระทลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัว เตรียมใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด และผู้ป่วยก็จะสามารถลดอาการข้างเคียงอาจจะเกิดขึ้นให้น้อยลงด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

Hirano M.Clinical examination of voice. In:Arnold GE, Winkel F, Wyke BD, editors. Disorders of human communication. NewYork: Springer-Verlag. 81-84, 1981.