ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ?
ออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงมนุษย์เพราะถ้าร่างกายขาดออกซิเจนแล้วจะทำให้เสียชีวิตได้

ออกซิเจน

ออกซิเจน ( Oxygen ) คือธาตุที่มีสัญลักษณ์ในตารางธาตุ เป็น O มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 มีความหนาแน่น 1.43 กรัม/ลิตร ออกซิเจนเป็นธาตุที่สามารถอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ

  • ออกซิเจนสภาวะก๊าซ : ที่สภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ
  • ออกซิเจนสภาวะของเหลว : ที่อุณหภูมิประมาณ -182.5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ก๊าซออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวสีฟ้า
  • ออกซิเจนสภาวะของแข็ง : ที่อุณหภูมิ -218.4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน

ก๊าซออกซิเจน

ก๊าซออกซิเจน ( O2 ) คือ ออกซิเจนในสภาวะก๊าชที่มีอยู่ในอากาศ โดยธรรมชาติเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ถ้าขาดก๊าชออกซิเจนก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะหลังจากเราหายใจเข้าไปก๊าชออกซิเจนจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย เป็นต้น

โดยในอากาศจะมีค่าก๊าชออกซิเจนผสมอยู่ร้อยละ 21 รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 78 ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟแต่ทว่าออกซิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้

Spo2 คือ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยของเส้นโลหิตฝอยซึ่งเป็นค่าประมาณของปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นเปอร์เซ็นต์ของเฮโมโกลบินออกซิเจน หรือ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดในเลือด ซึ่งเป็นรอบการหายใจ

Oxygen saturation คือ การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงปกติในมนุษย์อยู่ที่ 95–100 เปอร์เซ็นต์

ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังเป็นพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่น ๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ ( H2O )  ก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ ( CO2 ) เป็นต้น

การใช้งานออกซิเจนของร่างกาย

ก๊าชออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อก๊าชออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปจับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเดินทางเข้าหัวใจ หัวใจจะส่งเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนี้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อที่ออกซิเจนจะเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของงเซลล์ตามอวัยวะเพื่อรักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เป็นต้น ถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย

คุณสมบัติขององค์ประกอบออกซิเจน

สัญลักษณ์ออกซิเจนขององค์ประกอบ : O
เลขอะตอม : 8
มวลอะตอม : 15.9994 amu
จุดหลอมเหลว : -218.4 องศาเซลเซียส – 54.750008 เคลวิน
จุดเดือด : -183.0 องศาเซลเซียส – 90.15 เคลวิน
จำนวนโปรตอน / อิเล็กตรอน : 8
จำนวนนิวตรอน : 8
โครงสร้างผลึก : ลูกบาศก์
ความหนาแน่นที่ 293 เคลวิน : 1.429 กรัม / ซม. 3
สีของออกซิเจน : ไม่มีสี

ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ร่างกายคนเราจะใช้ก๊าซออกซิเจนในกระบวนต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการเมตาบอลิซึมของเซลล์

ผลของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด

ปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ โดยปริมาณของออกซิเจนในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. ระดับออกซิเจนต่ำ ( Hypoxemia หรือ hypoxia ) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยว่าปกติ นั่นคือมีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทหรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดน้อยกว่า 96% การที่มีระดับออกซิเจนต่ำอาจเกิดได้จากการเป็นโรคโลหิตจาง โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดบวม หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดลมและปอด ภาวะน้ำท่วมปอด ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้มสมองทำงานและสั่งงานช้าลงหรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือการเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศก็เป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้

2. ระดับออกซิเจนปกติ คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ที่ 96-99% ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ซึ่งระดับออกซิเจนนี้จะส่งผลให้

2.1 สมองทำงานดี ที่ระดับออกซิเจนปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ดี เนื่องจากซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำดี มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีและช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้ปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ถูกต้อง

2.2 ผิวพรรณดี เนื่องจากออกซิเจนและน้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำและออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และช่วยให้เซลล์มีอายุยืนขึ้น ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร

2.3 ร่างกายแข็งแรง ออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย เมื่อเซลล์ตับแข็งแรงจึงสามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ร่างกายจึงแข็งแรงสมบูรณ์และยังช่วยให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย 

3. ระดับออกซิเจนสูง ( Hyperoxia ) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ นั่นคือมีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอทหรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดมากกว่า 99% เราเรียกว่า สภาวะ Hyperoxia หรือ ออกซิเจนเป็นพิษ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมงที่ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท โดยสภาวะระดับออกซิเจนสูงจะส่งผลดังนี้

3.1 ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เจ็บหน้าอก และส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในปอดเกิดการเสื่อม เนื่องจากปอดมีน้ำและเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุทางเดินอากาศทำให้เยื่อเกิดการอุดตัน ทำให้การแพร่ของก๊าซระหว่างปอดกับเลือดลดลง ความต้านทานในปอดสูงขึ้น ทำให้หายใจลำบากซึ่งจะทำให้เกิดการชักและอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

3.2 ผลต่อระบบประสาทตา โดยเฉพาะในเด็กถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนสูง ออกซิเจนจะเข้าไปทำลายจอตา ( Retina ) จนเป็นสาเหตุของการตาบอดได้

การป้องกันภาวะระดับออกซิเจนต่ำ หรือสูง

สภาวะออกซิเจนต่ำนั้นจะพบได้บ่อยกว่าสภาวะออกซิเจนสูง เนื่องจากการเกิดสภาวะออกซิเจนสูงต้องเกิดจากการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่มากเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งการจะได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์นั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทำให้โอกาสเกิดสภาวะออกซิเจนสูงนั้นเกิดขึ้นได้น้อยต่างจากสภาวะออกซิเจนต่ำที่พบได้ง่ายเนื่องจากร่างกายมีการใช้ออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา

ถ้าเราเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเลือดจางการออกกำลังกายหนักหรือทำงานหนักจนหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่ทันหรือเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศเราก็จะเกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไข้ได้ดังนี้

1. สูดหายใจเข้าลึก ๆ การสูดหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้น ลดอาการออกซิเจนต่ำได้ เช่น อาการขาดออกซิเจนเนื่องจากความเครียดเพราะว่าเวลาที่เราเครียด กล้ามเนื้อของเราจะเกร็ง หายใจสั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเราหายใจยาว ๆ จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เป็นต้น

2. การออกกำลังกาย เวลาออกกำลังกายร่างกายจะหายใจเร็วและแรงขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและการออกกำลังกายยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรงจึงสามารถแรงเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อนำไปใช้งานได้มากขึ้นด้วย

3. นวด การที่กล้ามเนื้อปวดเมื่อยเกิดจากกล้ามเนื้อมีการหดตัวและเกร็งตัว ทำให้เลือดในบริเวณนั้นหมุนเวียนไม่ดี กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจึงเกิดการปวดเมื่อยนั่นเอง การนวดจะเข้าไปกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่มากับกระแสเลือด

4. การอาบแช่น้ำอุ่นหรืออบซาวน่า วิธีการนี้จะช่วยให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยมีการขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้นร่างกายจึงมีการแลกเปลี่ยนเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหน้าตาสดชื่น

5. ดื่มน้ำ น้ำประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจนกับไฮโดรเจน การดื่มน้ำมาก ๆ ก็เป็นการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอีกวิธีหนึ่ง ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าร่างกายขาดออกซิเจนเราควรดื่มน้ำเพื่อช่วยในการนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดและควรดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน

การให้ออกซิเจนในแบบต่าง ๆ

1. ดมออกซิเจนทางจมูก ( Oxygen cannula ) สำหรับผู้ป่วยที่หอบเหนื่อย เกิดโรคต่อปอด หรือ การทำงานหัวใจ จนขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซอเจนไม่เพียงพอ จึงค่อยดม ใช้ได้ในเด็กทุกวัย ใช้ได้ดีในเด็กโต อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป หรือในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี
2. ใส่หน้ากากออกซิเจน ( Oxygen mask ) จะให้ความเข้มข้นออกซิเจนมากกว่าระดับ 2 ในรายที่ขาดออกซิเจนอย่างมาก ( เช่น เป็นปอดติดเชื้อรอยใหญ่ๆ ) ใช้ได้ดีในเด็กโต ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีลักษณะการหายใจที่ค่อนข้างคงที่
3. การใส่ท่อช่วยหายใจ ( Endotracheal intucation ) ในขั้นนี้จะทำเมื่อคนไข้ ” หายใจเอง ” โดยหน้ากากแแกซิเจนแล้วยังเหนื่อยมาก หรือยังขาด ออกซิเจนมาก มักเกิดในคนไข้ที่มีรอยโรคในปอดรุนแรงมาก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ลงไปในหลอดลม
4. การเจาะคอ ( Tracheostomy ) จะพิจารณาทำเมื่อได้ใส่ท่อในระดับ 4 มานานสักระยะแล้ว ( ประมาณ 10-14 วัน ) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเอาท่อออกให้คนไข้หายใจเองได้ แพทย์จะคุยกับญาติเพื่อพิจารณาการเจาะคอ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อนานๆ เช่น ติดเชื้อแทรกซ้อน หรือ หลอดลมบวมตีบตัน

ประโยชน์ของออกซิเจนในด้านอื่น ๆ

นอกจากออกซิเจนจะเป็นก๊าซที่ช่วยในการดำรงชีวิตของพืช สัตว์ และมนุษย์แล้ว ออกซิเจนยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนี้

1. เชื้อเพลิงในจรวด ได้มีการนำออกซิเจนเหลวเข้าไปเป็นตัวช่วยในการออกซิไดซ์เชื้อเพลิงเพราะว่าในการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้นต้องอาศัยออกซิเจนป็นตัวช่วยในการติดไฟ ถ้าไม่มีออกซิเจนแล้วกระบวนการเผาไหม้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

2. ทางการแพทย์ ออกซิเจนจัดเป็นตัวกระตุ้นและช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะแผลที่เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น แผลของหลอดเลือด แผลที่เกิดจากการฉายรังสี เป็นต้น โดยการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้เซลล์ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดการอักเสบหรือบริเวณที่เกิดแผลสามารถทำงานหรือซ่อมแซมเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาทำลายเนื้อเยื่อหรือเซลล์ และช่วยสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ จึงทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายเร็วขึ้น ช่วยในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจ ป้องกันการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย

3. ทางอุตสาหกรรม มีการใช้ออกซิเจนในการเชื่อมและตัด ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ออกจากโรงงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ให้ได้พลังงานสูงขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง

นอกจากนี้แล้วยังมีการนำออกซิเจนไปช่วยในการดำน้ำ โดยการบรรจุออกซิเจนในถังเพื่อช่วยให้นักประดาน้ำใช้เป็นออกซิเจนเมื่อต้องดำน้ำลงไปใต้น้ำที่มีความลึกมากและช่วยในการดำรงชีวิตของนักบินอวกาศที่บินอยู่ในยานอวกาศด้วย

ออกซิเจน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าการทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดีในตัว ถ้าได้รับมากไปหรือน้อยไปก็ย่อมที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรักษาสมดุลของร่างกายด้วยการดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ระบบการทำงานก็จะสมดุลไม่เกิดสภาวะออกซิเจนสูงหรือออกซิเจนต่ำ

1570093786937 - ออกซิเจน คืออะไร และจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

[contact-form-7 id=”19480″ title=”แสดงความคิดเห็น”]

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Meija, J.; et al. (2016). “Atomic weights of the elements 2013 (IUPAC Technical Report)”. Pure and Applied Chemistry. 88 (3): 265–91. doi:10.1515/pac-2015-0305.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

Jastrow, Joseph (1936). Story of Human Error. Ayer Publishing. p. 171. ISBN 0-8369-0568-7.

Wikisource-logo.svg Chisholm, Hugh, ed. (1911). “Mayow, John”. Encyclopædia Britannica. 17 (11th ed.). Cambridge University Press. pp. 938–939.