คอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein – HDL)
ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง

High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ

ในร่างกายมนุษย์เราประกอบไปด้วยไขมันมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีเป็นบวกต่อร่างกาย และชนิดที่ไม่ดีเป็นลบต่อร่างกาย ปะปนกันไป ซึ่งคอเลสเตอรอลชนิดดีที่อยู่ในร่างกายมนุษย์เรา จะถูกเรียกว่า High Density Lipoprotein หรือเรียกสั้นๆว่า HDL เป็นคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันชนิดดี ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับ ช่วยทำหน้าที่ในการขจัดคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด

คอเลสเตอรอลไม่สามารถที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้เอง แต่ต้องใช้ตัวชักนำอย่างไลโปโปรตีน ในการพาเข้าไป ซึ่งไลโปโปรตีนก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด โดยจะแบ่งได้ตามความหนาแน่นของ อัตราส่วนไขมันต่อโปรตีน  เมื่อ คอเลสเตอรอลมาจับคู่กับ ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี จะทำให้เกิดเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายที่เรียกว่า  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) นั่นเอง

ประโยชน์ของ HDL

High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  หรือ High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง เนื่องจากจะคอยป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดที่ไม่ดี อย่าง คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง โดย HDL จะนำไขมันชนิดที่ไม่ดีส่งคืนสู่ตับเพื่อนำไปทำลายทิ้งออกจากร่างกายต่อไป ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆได้เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอล ( Total Cholesterol ) ในร่างกายให้ต่ำลงอีกด้วย

hdl คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง

วิธีการเพิ่มระดับ HLD ให้มีค่าสูง

ตามที่ได้ทราบกันแล้วว่า  HDL มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มาก ยิ่งมี HDL ในร่างกายมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อสุขภาพเท่านั้น ซึ่งได้มีข้อมูลทางวิชาการจาก นายแพทย์ ดร.ปีเตอร์ พี ทอธ แห่งโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐเอมริกา ที่แนะนำการเพิ่ม HDL ให้ร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าปล่อยให้ตนเองอ้วนหรือผอมเกินไป ( ตรวจสอบจากค่า BMI )

2. งดการสูบบุหรี่อย่างถาวร

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. ควบคุมปริมาณการกินอาหารประเภทแป้งทั้งหลายเช่น น้ำตาล ข้าว ขนมต่างๆ เป็นต้น ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5. เน้นการบริโภคเนื้อปลาให้มากขึ้น

6. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารในแต่ละวัน โดยให้ความสำคัญกับอาหารประเภท ผักสด ผลไม้ และข้าวไม่ขัดสี ( ข้าวกล้อง , ขนมปังโฮลวีต ) น้ำมันมะกอก และถั่วชนิดต่างๆให้มากขึ้น

7. ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ ขนาด 2 – 6 ออนซ์ ( ประมาณไม่เกิน 2 แก้วไวน์ ) ต่อวัน จะช่วยเพิ่มค่า HDL ให้ร่างกายได้  แต่วิธีไม่เหมาะกับคนไทยมากนัก เพราะวัฒนธรรมการดื่มของคนไทยเราแตกต่างจากชาวตะวันตก โดยชาวตะวันตกจะดื่มแค่ปริมาณที่เหมาะสม แต่คนไทยส่วนมากจะดื่มตามความพอใจของตน ข้อนี้จึงอาจทำให้เสียสุขภาพมากว่า จะได้ประโยชน์

การใช้ค่า HDL ที่ตรวจได้ไปวิเคราะห์ไขมันในเลือด ( TC : HDL )

HDL นอกจากจะมีประโยชน์ตามข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว HDL ยังสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย เนื่องจากค่าของ HDL เป็นตัวเลขอิสระ และมีความแน่นอน ไม่แปลผันง่ายเหมือนค่าของ LDL หรือ Triglyceride เช่นเดียวกับ ค่าของ Total Cholesterol ( TC ) หรือคอเลสเตอรอลรวม ก็มีความชัดเจนและแน่นอนเช่นเดียวกัน

ซึ่งทาง โครงการศึกษาคอเลสเตอรอลแห่งชาติ National Cholesterol Education Program, NCEP ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลว่า สามารถนำอัตราส่วน ระหว่าง TC: HDL ที่มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ไปใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease, CAD ได้ โดยจะเรียกอัตราส่วนนี้ว่า Risk of Coronary Heart Disease หรือ อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพราะหลอดเลือด

หลักการคำนวณ  =  Total Cholesterol ( TC ) / HDL Cholesterol Ratio ( HDL )

หรือเรียกสั้นๆว่า TC / HDL

โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่

เพศชาย ค่ามาตรฐานอยู่ที่        5     หรือต่ำกว่า

เพศหญิง ค่ามาตรฐานอยู่ที่       4.4  หรือต่ำกว่า

ตัวอย่างการคำนวณ

นายสมชาย ตรวจวัดค่า TC ได้เท่ากับ 220  mg/dL และ วัดค่า HDLได้เท่ากับ 50 mg/dL
ดังนั้นเมื่อนำมาคิดตามสูตร จะได้    220/50 = 4.4
สรุป : ผลที่ออกมาของคุณสมชาย มีค่าเท่ากับ 4.4 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ในทางที่ดีคุณสมชายจะต้องเพิ่มค่า HDL ในร่างกายให้มากว่านี้

 

โรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา ได้บัญญัติศัพท์เรียกอัตราส่วนค่าคอเลสเตอรอลรวม TC ต่อค่าคอเลสเตอรอลความหนาแน่นสูง HDL ไว้ด้วยเช่นกัน โดยจะเรียกว่า อัตราส่วนความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ Cardiac Ratio หรือ CRR โดยมีสูตรการคำนวณเหมือนdกับโครงการศึกษาคอเลสเตอรอลแห่งชาติ คือ

CCR = Total Cholesterol ( TC ) / HDL Cholesterol Ratio ( HDL )

 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการชี้วัดดังตารางนี้

ค่า CCR  ผลการชี้วัด
6.5 สูง
5.0 เหนือเกณฑ์เฉลี่ย
4.5 เกณฑ์เฉลี่ย
4.0 ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
3.0 ต่ำ

 

ดังนั้นหากค่าที่วัดได้ เกินมาตรฐาน  ( มากว่า 5.0 ขึ้นไป ) จะส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง หรือตีบตันที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอและการรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะสามารถควบคุมหรือลดความเสี่ยงลงได้

การตรวจหาค่าของ HDL-c ในร่างกาย
การตรวจหาค่า HDL-c มีจุดประสงค์ คือ เพื่อต้องการทราบปริมาณของไขมันชนิดดีที่มีอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งค่าของ HDL-c ที่ตรวจได้มีปริมาณยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย

ตารางแสดงผลค่า HDL-c ที่วัดได้

การจัดค่า ชาย หญิง
HDL ( mg/dL )
ค่าปกติ > 45 > 55
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ต่ำ 60 70
ปานกลาง 45 55
สูง 25 35

จากตารางสามารถสรุปได้ว่า สำหรับผู้ชายจะต้องมีค่า HDL-c ในร่างกาย ไม่ต่ำว่า 45 mg/dL ส่วนในผู้หญิงต้องไม่ต่ำว่า 55 mg/dL

กรณีค่า HDL-C มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด HDL-C ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ( เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับร่างกาย  )  อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดจากมีภาวะมีไขมัน Triglycerides ในกระแสเลือดสูง จนเกิดโรค Hypertriglyceridemia ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่มากไปด้วยแป้งและไขมัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งย่อมมีผลทำให้ ค่า HDL ต่ำลงด้วย
  • อาจเกิดโรคเกี่ยวกับตับ  เช่น โรคตับอักเสบ ( Hepatitis ) หรือตับแข็ง ( Cirrhosis ) ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งตับเป็นผู้ผลิต HDL ขึ้นมา จึงทำให้ปริมาณ HDL ที่สร้างโดยตับลดลงตามไปด้วย
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นโรคอ้วน , ชอบสูบบุหรี่ , ไม่ออกกำลังกาย , ชอบทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

2. ตรวจวัด HDL-C ได้มากกว่าค่ามาตรฐาน ( เป็นสิ่งดีที่ควรจะเป็น ) อาจแสดงผลว่า

  • เป็นผลมาจากพันธุกรรม ซึ่งเกิดได้ค่อนข้างน้อยมาก
  • เป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที

HDL เป็นไขมันชนิดที่ส่งผลดีต่อร่างกาย ยิ่งหากมีปริมาณมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีเท่านั้น ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมตัวเองให้เป็นไปในทางดี เพื่อสร้าง  HDL ในร่างกายให้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้น ผักและผลไม้สด รวมถึงเนื้อปลา และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมอย่างการสูบบุหรี่ เป็นต้น  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้โดยไม่ยากเกินไปนัก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆกับร่างกายของเรา เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอล ในร่างกายให้ต่ำลงได้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“LDL and HDL: Bad and Good Cholesterol”. Centers for Disease Control and Prevention. CDC. Retrieved 11 September 2017.

“LDL and HDL Cholesterol: What’s Bad and What’s Good?”. American Heart Association. 2 July 2009. Retrieved 8 October 2009.

Jump up ^ Toth PP (Feb 2005). “Cardiology patient page. The “good cholesterol”: high-density lipoprotein”. Circulation. 111 (5): e89–e91. PMID 15699268. 

Betteridge; et al. (2008). “Structural requirements for PCSK9-mediated degradation of the low-density lipoprotein receptor”. PNAS. 105 (35): 13045–13050.