ประโยชน์ดีๆจากอาร์ติโชค (Artichoke)
อาร์ติโชคเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาสามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหารหรือนำมาสกัดสารไซนาริน รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี

อาร์ติโชค

เมื่อกล่าวถึง อาร์ติโชค ( Artichoke ) คนไทยหลายคนคงไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยได้ยินชื่อพืชชนิดนี้มาก่อน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพืชชนิดนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยเท่าใดนัก แต่ว่าอาร์ติโชคนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศแถบยุโรปที่มีอากาศหนาวหรือหนาวจัดตลอดทั้งปี อย่างประเทศดาลัต ซาปา เป็นต้น  สำหรับประเทศแถบอาเซียนแล้ว มีประเทศเวียดนามที่มีการเพาะปลูกอาร์ติโชคกันมาก เรียกว่าเดินตลาดผักที่ปรเทศเวียดนามแล้วคุณต้องได้เห็นวางขายอยู่ทั่วไปและในราคาพอกับผักพื้ชบ้านชนิดอื่น

ต้นกำเนิด อาร์ติโชค

อาร์ติโชค มีชื่อสามัญว่า Globe Artichoke เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Asteraceae มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศอียิปต์ กรีก โรมัน เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ในปัจจุบับนี้มีการแพร่ขยายพันธุ์มาเขตหนาวเย็น ซึ่งมีความนิยมปลูกกันมาในแอฟริกาตอนเหนือ เมติเตอร์เรเนียน อเมริกาเหนือและประเทศออสเตเรเลีย ส่วนในประเทศไทยนั้นได้มีกานำเข้ามาปลูกอยู่บนทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีการปลูกอาร์ติโชคในโครงการหลวงเป็นแห่งแรกเมี่อปี พ.ศ.2558 ลำต้นเป็นพุ่มเล็กๆ สีเขียว มีใบสีเขียวอ่อน ดอกมีกลีบสีเขียวซ้อนกันเป็นชั้น มีลักษณะคล้ายดอกบัว แต่ที่จริงแล้วส่วนที่เราเห็นว่าเป็นกลีบดอกนั้นเป็นเป็นใบเลี้ยงของดอก ส่วนที่เป็นดอกและเกสรดอกจะอยู่ตรงกลางสุดของดอก และส่วนนี้เมื่อแกะเอาเกสรออกจนกหมดจะเหลือส่วนที่เป็นสีขาวที่สามารถรับประทานได้และจัดว่าเป็นส่วนที่อร่อยที่สุดของอาร์ติโชคก็ว่าได้

ประโยชน์ของ อาร์ติโชค

อาร์ติโชค  คือพืชที่สามารถนำมาปรุงอาหารรับประทานและนำมาทำยารักษาโรคได้ ส่วนที่นำมารับประทานได้คือส่วนโคนกลีบและใจกลางดอกซึ่งมีรสชาติหวานมันคล้ายกับถั่ว และมีรสชาติเข้มข้นกว่าส่วนโคนกลีบอยู่มาก การรับประทานกลีบอาร์ติโชคให้ใช้การรูดเอาเนื้อส่วนโคนกลีบออมากินโดยที่ไม่ต้องกินเส้นใยเข้าไปด้วย จะต้มกินเล่นหรือจิ้มกับน้ำพริกได้ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง หรือจะเอาอาร์ติโชคมาต้มกับเนื้อสัตว์ทำเป็นต้มจืดก็อร่อยไปอีกแบบหนึ่ง

การที่ อาร์ติโชค  มีการรับประทานกันมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนก็เพราะว่าเป็นผักที่อุดมได้ด้วยสารอาหารทางโภชนาการ นั่นคือ มีวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก วิตามินซีนี้จะเข้าไปช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย โฟเลตและวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันที่เกี่ยวกับหัวใจ โดยที่ทั้งโฟเลตและวิตามินบี 6 นั้นจะเข้าไปทำลายโฮโมชีสทีนที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกไป โฮโมชีสทีนนี้เป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดแดงออกเมื่อไม่มีก็จะทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้

โพแทสเซียม ( Potassium ) ในอาร์ติโชคช่วยในการควบคุมความดันโลหิต ป้องกันเส้นเลือดอุดตันที่มีสาเหตุมาจากไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือดโดยเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นไกลโคเจนที่เป็นแหล่งพลังงานในกล้ามเนื้อ ลดไขมันและคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในกระแสเลือด และยังช่วยบำรุงตับทำให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น กระตุ้นการผลิตน้ำดีของตับ ทำให้มีการหลั่งน้ำดีเข้ามาช่วยในการย่อยอาหารในส่วนของลำไส้ ลำไส้จึงสามารถย่อยไขมันได้ทั้งหมด ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องที่มีสาเหตุมาจากอาหารไม่ย่อย และยังป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ดีซ่าน และถุงน้ำดีอักเสบ ช่วยให้ระบบการขับปัสสาวะเป็นปกติ 

ซิไลมาริน ( Silymarin ) เป็นฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในอาร์ติโชคมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นยอด ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของไขมันดีให้เปลี่ยนเป็นไขมันเลวที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

วิตามินซี ( Vitamin C ) ในอาร์ติโชคมีวิตามินซีช่วนในการเสริมสร้างผิว การมองเห็น รักษาแผลและช่วยเรื่องการดูดซึมธาตุเหล็ก

วิตามินเค ( Vitamin K ) วิตามินเคในอาร์ติโชคจะช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือดนอกจากนี้ยังช่วยในการสร้างกระดูก

จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า อาร์ติโชค เป็นพืชที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เหมาะที่จะนำมารับปรุงอาหารรับประทาน แต่ด้วยความที่เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้มีดีในพืชที่ที่มีอากาศหนาวถึงหนาวจัดจึงทำให้ประเทศไทยเพาะปลูกยาก เมื่อปลูกมีการเจริญเติบโตไม่ดี แต่เชื่อว่าในอนาคตมีการพัฒนาสายพันธุ์แล้ว การปลูกในพื้นที่ทั่วประเทศก็คงไม่ยาก และคงเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์กับคนไทยแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Rottenberg, A., and D. Zohary, 1996: “The wild ancestry of the cultivated artichoke.” Genet. Res. Crop Evol. 43, 53–58.

Ceccarelli N., Curadi M., Picciarelli P., Martelloni L., Sbrana C., Giovannetti M. “Globe artichoke as a functional food” Mediterranean Journal of Nutrition and Metabolism 2010 3:3 (197–201).

Cesar G. Fraga. Plant Phenolics and Human Health– Biochemistry, Nutrition and Pharmacology.