อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งแบบที่ต้องใช้ยาในการรักษา หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อยนั้น ก็คือ การปรับเปลี่ยนลักษณะหรือไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิต ( Life Style Modification ) เพื่อที่การรักษาจะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี รวมไปถึงการลด ปริมาณยาควบคุมความดันให้น้อยลงไปจากเดิม ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับโรคมากนัก และไม่ต้องเสียเงินในการรักษามากในระยะยาว
การดำรงชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
สำหรับแนวทางในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิตที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้
1.งดสูบบุหรี่ และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2.ควรออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการพักผ่อนให้เพียงพอ
3.ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนและน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25กก./ม. )
4.การลดทานเค็ม และลดปริมาณเกลือที่ปรุงในอาหาร และลดไขมันอิ่มตัว พร้อมกันนี้ก็ควรเพิ่มการทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิม
จริง ๆ แล้วการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยยังมีอีกมาก แต่จะขอพูดถึงในเรื่องของการปรับเปลี่ยนอาหารและการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นเท่านั้น เพราะว่าเรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดระดับความดันของเลือด ช่วยควบคุม Metabolic Syndrome และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกี่ยวระบบหัวใจและหลอดเลือดได้
หลักการรับประทานอาหาร ( Dietary Change ) เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง
สำหรับหลักในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะต้องเน้นในเรื่องของการลดความดันโลหิตเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นการประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด หรือเรียกว่างดอาหารเค็มไปเลย จากการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมในร่างกายที่จะมีผลต่อความดันโลหิตของเลือดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง โดยระดับต่ำสุดจะอยู่ที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเป็นระดับที่มีผลต่อการลดความดันโลหิตที่เห็นชัดเจนที่สุด นอกเหนือไปจากเรื่องของการบริโภคเค็มแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการบริโภคอาหารในลักษณะที่ชื่อ “ DASH ” ( Dietary Approach to Stop Hypertension ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด
โปรแกรมอาหาร DASH จะมีการเพิ่มผักและผลไม้เข้ามามากถึง 8-10 หน่วยบริโภค ( Serving ) ต่อวัน และด้วยความที่เพิ่มมามากขนาดนี้ ก็จะต้องไปลดการบริโภคไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น หมูและเนื้อติดมัน เบคอน หมูสามชั้น ให้ลดลงไป 2-3 หน่วยบริโภคแทน เน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว อกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาลที่ได้จากเครื่องดื่มและของหวานอีกด้วย จากผลการวิจัยที่ให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้ทานอาหารโปรแกรม DASH ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิต Systolic BP ได้มากถึง 5.5 มม.ปรอท และลด Diastolic BP ได้มากถึง 3.0 มม.ปรอท โดยจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
นอกจากโปรแกรมอาหาร DASH จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและ Lipoprotein ได้อย่างเห็นผลแล้ว ยังช่วยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น
อาหารที่มีผลต่อกลไกทางพยาธิวิทยาของหัวใจหลอดเลือด
จากการวิเคราะห์พบว่า มีกลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะกลไกของระบบพยาธิสรีรวิทยาของโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. อาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลอดเลือด
เมื่อระบบหลอดเลือดมีแรงดันที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้การควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่หรือลดลงเป็นไปได้ยาก ก็คือเรื่องปริมาณของไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง เพราะไขมันชนิดนี้ถือว่าเป็นไขมันชั้นเลวสุดที่เรียกกันว่า Visceral Fat กำจัดออกได้ยาก เมื่อมีไขมันชนิดนี้มากๆ ก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ( Free Fatty Acid ) ทำให้ตับมีการสร้างน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายอีกทางหนึ่ง นอกจากจะเกิดภาวะดื้ออินซูลินแล้ว ไขมันชนิดนี้ยังไปลดการสร้างสาร Adiponection ทำให้การเอากลูโคสไปใช้ที่กล้ามเนื้อลดลงไปจากเดิม ซึ่งก็ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันและน้ำตาลได้อย่างเต็มที่ ปริมาณไขมันก็จะยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น ภาวะดื้ออินซูลินก็จะแย่และอันตรายยิ่งกว่าเดิม รวมถึงยังมีโอกาสที่ไขมันชนิดนี้จะหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด คือ PAI-1, Interleukin-6, Tumor Necrotic Factor-Alpha เมื่อหลอดเลือดอักเสบ เกล็ดเลือดก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารบางอย่างเพื่อให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกัน และหลังจากนั้นก็จะปล่อยสาร Thrombin ออกมา ทำให้เลือดจับกลุ่มกลายเป็นลิ่ม
เลือด และนำไปสู่การแข็งตัวของหลอดเลือดแดงในที่สุด
เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารประเภท Micronutrient ได้แก่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพ เพิ่มปริมาณผักผลไม้ ลดการทานไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลจากเครื่องดื่มและของหวาน ทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยลดระดับความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
1.1 คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )
ควรมีการควบคุมการทานคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ( Carbohydrate Quality ) โดยหลักในการเลือกคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตนั้น สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้
- ใยอาหาร ( Dietary Fiber ) : การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์จำนวนมาก เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี (Whole Grains) ที่ประกอบไปด้วย ข้าวสาลี ข้าวเจ้า อาหารจากพืชตระกูลถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เป็นประจำ จำทำให้การดูดซึมแป้งและน้ำตาลลดลง เป็นผลทำให้ปริมาณสะสมของไขมันในร่างกายลดลง การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวานก็จะต่ำลงตามไปด้วย
- Glycemic Index ( GI ) และ Glycemic load ( GL ) : GI คือ ผลของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรืออธิบายแบบง่าย ๆ ว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ( Blood Glucose ) ที่วัดได้ภายหลังจากที่คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยไปแล้ว เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป
ส่วน GL คือผลจากการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก หากคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้เกิดการย่อยไวกว่าปกติ เมื่ออาหารถูกย่อยก็จะมีการปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ค่า GI ก็จะสูงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน หากคุคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพดี ก็จะย่อยช้า การปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอยู่ในระดับคงที่ ไม่พุ่งสูงจนเกินไปแม้จะใช้เวลาในการย่อยไม่นาน มีผลให้มีค่า GI ต่ำ เมื่อค่า GI ต่ำร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน หรือปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายลดต่ำลง
การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป หรือการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ จะทำให้ค่า GI และค่า GL เพิ่มมากขึ้น การควบคุมระดับความดันในโลหิตก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจก็จะมากขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ในกลุ่มอาหารจำพวกข้าว แป้ง ข้าวบาร์เลย์มีค่า GI ต่ำที่สุด ส่วนขนมปังขัดขาว ( White Wheat Bread ) มีค่า GI สูงที่สุด
1.2 ไขมัน ( Fat )
- ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid: SFA ) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันสังเคราะห์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของนม ได้แก่ ครีมเทียม กะทิ
- ไขมันไม่อิ่มตัว ( Mono-Unsaturated Fatty Acid: MUFA ) เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันที่ทำจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันอัลมอนด์
- Poly-Unsaturated Fatty Acid ( PUFA ) แบ่งตามตำแหน่งของพันธะคู่แรกใน Fatty Acid แบ่งออกเป็น Omega-3 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-3 PUFA ) และ Omega-6 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-6 PUFA ) ดังนี้
1.3 Omega-3 ได้แก่ Alpha-Linoleic Acid ( ALA ) พบได้มากในแหล่งอาหารที่สำคัญจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลา ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง ส่วน Eicosapentaenoic Acid ( EPA ) + Docosahexaenoic Acid ( DHA ) พบในแหล่งอาหารที่สำคัญจากปลา จึงเรียกว่า Fish Oil หรือน้ำมันปลา ที่แพทย์มักจะให้ใช้ทานเป็นอาหารเสริมเพื่อลดระดับไขมันในเลือด
ตารางชนิดอาหารที่มี omega-3, EPA+DHA,α-Linolenic Acid ( ALA )
ประเภทของอาหาร | EPA | DHA | ALA |
ปลา Catfish Cod Mackerel Salmon ( เลี้ยงในฟาร์ม ) Salmon ( เลี้ยงตามธรรมชาติ ) Salmon ( กระป๋อง ) Salmon, Chinook ปลาดาบ ปลาทูน่า Blufin ปลาทูน่า light (ในน้ำมัน) ปลาทูน่า light (ในน้ำเกลือ) |
Trace Trace 0.9 0.6 0.3 0.9 1.0 0.1 0.3 Trace Trace |
0.2 0.1 1.4 1.3 1.1 0.8 0.9 0.5 0.9 0.1 0.2 |
0.2 Trace 0.2 Trace 0.3 Trace Trace 0.2 – Trace Trace |
สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกอื่นๆ Lobster หอย กุ้ง |
– 0.2 0.3 |
– 0.3 0.2 |
– Trace Trace |
ถั่วและเมล็ดพืช Butternuts Flaxseed Walnuts |
– – – |
– – – |
8.7 18.1 9.1 |
น้ำมันพืช Canola Flaxseed |
– – |
– – |
9.3 53.5 |
1.4. ไขมันอิ่มตัวที่ถูกดัดแปลง หรือไขมันทรานส์ พบมากในอาหารดังต่อไปนี้
- อาหารที่ผ่านการทอดหลายครั้ง หรือผ่านการใช้น้ำมันเก่าเอามาทอด เช่น เฟรนฟรายด์ ไก่ทอด ขนมปังประเภทครัวซองต์ ปาท่องโก๋ ทอดมัน มาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืช ที่แล้วเติมไฮโดรเจนเข้าไปให้แข็งตัว เพื่อให้มีการจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมาทาบนขนมปัง หรือเอาไปประกอบอาหารอื่น ๆ
- เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง ( Ruminant ) เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อแพะ
การบริโภคอาหารที่มี TFAs สูง ซึ่งก็คืออาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ตามที่กล่าวมา แม้จะบริโภคเพียงแค่ 2% จากพลังงานทั้งหมด ก็อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ในระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สำหรับข้อแนะนำในเรื่องของการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงแบบโดยรวมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถทานได้ไม่เกิน 25%-30% ของพลังงานรวมทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยควบคุมภาวะ Metabolic Syndrome และควบคุมการเกิดเบาหวานไม่ให้สูงมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในร่างกายให้น้อยลง สุขภาพก็จะดีขึ้นตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลงไปจากเดิมร้อยละ 5-10 จะช่วยลดความ ดันโลหิต ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการศึกษางานวิจัยทางคลินิกที่ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 48,835 ราย โดยกำหนดให้ลดการบริโภคอาหารเป็นเภทไขมันสูงลง 37.8% ของพลังงานรวมทั้งหมดให้เหลือเพียง 24.3% เป็นระยะเวลา 1 ปี และยังทำต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะเวลา 6 ปี ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือไม่พบความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดเลย
ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยในการควบคุมอาหาร
1. การบริโภคอาหารไขมันต่ำ ( Low Fat Diet: LFD ) ใช้หลักการในการ “ ลด ” คือ ลด Cholesterol ในมื้ออาหารให้น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน, ลด TFAs (อาหารที่มีไขมันทรานส์) ในมื้ออาหาร และลด SFA ในมื้ออาหารให้น้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานรวมทั้งหมด
2. การบริโภคอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean Diet ) อาหารเมดิเตอเรเนียนได้รับการยืนยันจากแพทย์และโภชนาการว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก เห็นได้จากความแข็งแรงของชาวเมดิเตอเรเนียนที่ไม่ค่อยเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและโรคความดันโลหิต โดยวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารนั้น มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีและมีแคลอรี่ต่ำ เช่น ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ที่มีสารอาหารประเภท Bran and Germ มากเป็นพิเศษ สารอาหารประเภท Bran จะอุดมไปด้วย ไฟเบอร์ วิตามินบี และฟลาโวนอยด์ ส่วน Germ จะมี สารต้านอนุมูลอิสระ และ ไฟโตเคมิคัล การจัดโปรแกรมอาหารประเภทเมดิเตอเรเนียนนั้น จะต้องประกอบด้วย
- อาหารที่ประกอบจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ มันเทศ ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ ประโยชน์ที่ได้รับ ก็คือการเพิ่มใยอาหารให้กับร่างกาย ที่จะช่วยเข้าไปดูดซึมไขมันและค่าของไตรกลีเซอไรด์ไม่ให้สูงเกินไปภายหลังจากการบริโภคอาหาร
- ดื่มไวน์ในระดับต่ำถึงปานกลาง เพื่อเป็นการบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
- เป็นอาหารที่มี Phytosterols สูง ซึ่งจะพบมากในน้ำมันที่สกัดจากผัก ผลไม้สด เกาลัด Grains Legumes สำหรับอาหารที่มี Phytosterols สูง จะช่วยให้การดูดซึมคอเลสเตอรอลของร่างกายมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- การประกอบอาหารใช้พืชผัก และผลไม้ที่ปลูกตามฤดูกาลและท้องถิ่น ถ้าหากต้องใช้น้ำมัน ก็จะใช้น้ำมันมะกอกเป็นหลัก การรับประทานของหวานของชาวเมดิเตอเรเนียน็คือ ผลไม้สด และถ้าหากต้องการความหวานมากขึ้นจะใช้น้ำผึ้งทดแทน
- ไม่ค่อยทานอาหารที่ประกอบจากเนื้อแดง แต่จะทานไก่และปลาในปริมาณที่พอเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการบริโภคไข่ประมาณ 4 ฟองต่อสัปดาห์
3. บริโภคอาหารไทยโบราณ โดยปกติแล้ว อาหารไทยจะไม่ได้มีการแบ่งออกเป็นส่วนเหมือนกับอาหารฝรั่ง ถึงแม้ว่าเมนูอาหารไทยง่าย ๆ แบบข้าวราดแกงจะมีไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์และส่วนผสมบางชนิด แต่รสเผ็ดจากพริกและเครื่องเทศต่าง ๆ ก็จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันทดแทนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แกงบางอย่างก็จะมีรสมันโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากะทิเลย เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง เพราะเมื่อตักแกงเหล่านี้ราดลงไปในข้าวสวยร้อน ๆ กระบวนการบางอย่างก็จะเปลี่ยนให้มีความมันและอร่อยเพิ่มขึ้นได้เอง จึงทำให้อาหารมื้อนั้น ๆ เต็มไปด้วยความเผ็ดร้อนที่มีแคลอรี่ต่ำ และยังได้ใยอาหารจากพืช ผัก จำนวนมากที่ใส่ลงไป ซึ่งจะเข้าไปช่วยเพิ่มการดูดซึมไขมันและน้ำตาลในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้สมุนไพรไทยบางอย่างที่ได้ใส่ลงไปในอาหาร ก็ยังมีสรรพคุณที่ช่วยลดระดับไขมันและระดับความดันโลหิตได้ย่างน่าทึ่งอีกด้วย เช่น กระเทียม ที่ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล มะระ ช่วยลดความดันโลหิต แตงกวา ฟักเขียว ที่เป็นสมุนไพรออกฤทธิ์เย็น ก็ช่วยลดความดันโลหิตได้ไม่แพ้กัน การดื่มเครื่องดื่มประเภทชาบางชนิด ( ชาใบหม่อน ชาอู่หลง ) รวมไปถึงเก๊กฮวยที่ไม่หวานจัด ก็ช่วยลดไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี
4. บริโภคอาหาร Omega-3 Fatty Acid ที่มีปริมาณ ALA, EPA และ DHA ในมื้ออาหารมีคำแนะนำการบริโภคที่มี omega-3 Fatty Acid ดัดแปลงจาก Kris-Etherton.,et al 2002 ดังนี้
ตาราง คำแนะนำการบริโภคอาหารที่มี Omega-3 Fatty Acid
กลุ่มผู้ป่วย ( Population ) |
ข้อแนะนำ ( Recommendation ) |
1. ผู้ป่วยไม่มีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ | – ควรทานปลาและไขมันจากปลาให้มีความหลากหลายที่สุด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิด ALA เช่น Canola และน้ำมันจากถั่วเหลือง (Soy Bean Oil) Flax Seed และ Walnuts |
2. ผู้ป่วยมีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ | – หากต้องการทานอาหารเสริม EPA+DHA จะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ก่อน – ควรทานอาหารที่มี EPA+DHA ประมาณ 1 กรัมต่อวันโดยเฉพาะปลาและไขมันจากปลา |
3. ผู้ป่วยที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง | – กรณีที่ทำแล้วไม่ได้ผล ให้ใช้น้ำมันปลาเม็ดที่มีปริมาณ EPA+DHA 2-4 กรัมต่อวัน ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ – เน้นทานอาหารที่มี EPA+DHA โดยเฉพาะปลาทะเลประมาณ 3-4 ตัวต่อสัปดาห์ |
2. อาหารที่มีผลต่อการควบคุมระดับสมดุลน้ำในหลอดเลือด
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับเริ่มต้น ส่วนมากแล้วมักจะมีสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความเชื่อมโยงกันแบบไม่น่าเชื่อ บางคนมีระดับความดันโลหิตในร่างกายสูงจากการได้รับปริมาณโซเดียมในร่างกายมากจนเกินไป สาเหตุนี้สามารถพบได้บ่อยในคนไทยและคนจีนที่ชอบรับประทานเกลือเยอะๆ ( บางคนทานผลไม้สดจิ้มเกลือกันแบบจริงจัง ) เมื่อร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมในจำนวนมาก การควบคุมระดับน้ำในหลอดเลือดให้เกิดความสมดุลก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ปริมาณน้ำนอกเซลล์ ( Increase Extracellular Volume ) ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ร่างกายมีการหลั่งสาร Catecholamine ออกมาในปริมาณมาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การบีบตัวของหัวใจเพื่อที่จะสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายก็จะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย จนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดกระบวนการที่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว นำไปสู่กล้ามเนื้อหลอดเลือดมีความหนามากยิ่งขึ้น แรงต้านทานของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุให้แรงดันของหลอดเลือดแดง และแรงดันของหลอดเลือดส่วนปลาย เกิดเป็นแรงดันเลือดสูงยิ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยยังไม่ดูแลตัวเอง หรือไม่สามารถควบคุมระดับแรงดันของเลือดให้คงที่หรือลดต่ำลงได้ การทำงานของหัวใจก็จะต้องมีการบิดตัวให้แรงขึ้นตามไปด้วยเพื่อให้ร่างกายมีการสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ นานไปเรื่อย ๆ หัวใจก็จะเริ่มล้า และทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น บางคนจึงมีอาการเจ็บหัวใจ วูบ และหน้ามืดตามมา ซึ่งก็เป็นเพราะการทำงานของหัวใจที่หนักจนเกินไป ในที่สุดจะทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบ ร่างกายให้มีการหลั่ง Anti-Diuretic Hormones ( ADH ) ในปริมาณมาก โดยสาร ADH จะทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือเข้าสู่ร่างกาย เป็นเหตุให้มีโซเดียมมากขึ้นกว่าเดิม สุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงในระยะที่มีความรุนแรงและอันตรายมาก ถ้าหากยังไม่ดูแลตัวเอง หรือยังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหัวใจวายที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้ป่วย ในเรื่องของการปรับอาหารคือ การลดการบริโภคอาหารที่เค็มจัด หรืออาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณมาก เพื่อให้ความดันโลหิตสามารถลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาผู้ป่วยที่บริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือหรือมีรสเต็มจัด ( ทานเกลือแกงในปริมาณ 10.5 กรัมต่อวัน ) พบว่า หากมีการลดปริมาณเกลือลงเหลือแค่ 4.5 ถึง 5.8 กรัม / วัน ( ลดลงเกือบ 50% ) ความดันโลหิตจะลดลงประมาณ 4-6 มม.ปรอท ในขณะเดียวกันก็มีการศึกษาการลดปริมาณการทานโซเดียมในปริมาณปานกลาง หรือประมาณ 1,800 มิลลิกรัม / วัน ก็จะช่วยลด SBP ได้ประมาณ 5 มม. ปรอท และลด DBP ลงเท่ากับ 2.7 มม.ปรอท และถ้าหากว่าผู้ป่วยได้มีการจัดโปรแกรมอาหาร เช่นเลือกทานแต่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ทานผักและผลไม้ ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและลดน้ำตาล การควบคุมระดับความดันเลือดก็จะดีตามไปด้วย
อาหารที่ประกอบไปด้วยโซเดียม
- เครื่องปรุงแต่งรสชาติอาหาร เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอส
- อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบแบบซอง
สำหรับอาหารที่มีโซเดียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. อาหารที่มีรสเค็มนำ
2. อาหารที่ไม่มีรสเค็มนำ แต่มีปริมาณเกลือที่มาจากกระบวนการผลิตจำนวนมาก
ตารางแหล่งอาหารโซเดียมอาหารที่มีรสเค็มนำ และไม่มีรสเค็มนำ
โซเดียมในรูปต่างๆ |
แหล่งอาหารที่พบ |
โซเดียม คลอไรด์ ( Sodium Chloride ) |
– ร่างกายของคนเรามีความต้องการโซเดียมสูงสุด ในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายคือ 2,400 มิลลิกรัม ( มก. ) ต่อวัน ( คิดเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 6 กรัมต่อวัน ) ซึ่งในอาหารปกติทั่วไปก็มักจะมีโซเดียมประมาณ 3-6 กรัม ( และมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ 40% ) นั่นคือ เกลือ 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) มีโซเดียม 2 กรัมหรือ 2,000 มก. |
โซเดียม อัลจิเนต ( Sodium Alginate ) |
– Alginate เป็นโซเดียมที่มักจะนำไปเติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารกระป๋องบางชนิด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความข้นหนืดและเพิ่มความคงตัวให้กับอาหาร รวมถึงทำให้เกิดเจลด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหาร/ขนมที่มีโซเดียม อัลจิเนต จึงอยู่ในอาหารสำเร็จรูปหลายประเภท เช่น น้ำซอสต่างๆ น้ำสลัด ไอศกรีม น้ําตาลไอซิ่ง และขนมที่มีลักษณะเป็นเจล รวมถึงพวกอาหารแช่แข็งทั้งหลาย |
โซเดียม แอสคอเบต ( Sodium Ascorbate ) |
– วิตามินซี ( Vitamin C ) การที่ทำ Vitamin C เป็นรูปแบบเกลือ โดยใช้ Sodium Ascorbate Calcium Ascorbate หรือเกลืออื่นๆ เช่น Zinc Potassium Magnesium เพื่อลดความเป็นกรดของ Ascorbic Acid โดยทำให้อยู่ในรูปที่เป็นกลางมากขึ้น และช่วยลดอาการข้างเคียงบางอย่างของ Vitamin C เช่นปวดท้อง ท้องเสีย ที่เกิดจาก Ascorbic Acid ได้บ้าง |
โซเดียม ไบคาร์บอเนต ( Sodium Bicarbonate ) |
– ผงฟู หรือเรียกว่า Baking Soda นิยมนำมาใช้ในการทำขนมต่างๆ เช่นขนมปังเค้ก |
โซเดียม เบนโซเอต ( Sodium Benzoate ) |
– ใช้เพื่อเป็นสารกันบูด มักจะมีอยู่ในอาหารสำเร็จรูปและอาหารกระป๋องต่างๆ เช่นอาหารกระป๋องต่างๆ พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง เบเกอรี่ ผักดอง เนยเทียม แยม เยลลี่ |
โซเดียม แซคคาร์ริน ( Sodium Saccharin ) |
– นำมาใช้ผสมในเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม เช่น น้ำผลไม้กล่อง น้ำอัดลมกระป๋อง ผลไม้ดอง |
โมโนโซเดียม กลูตาเมต ( Monosodium Glutamate ) |
– ผงชูรส นำมาใช้ผสมเป็นสารชูรส เช่น ซุปก้อนปรุงรสต่างๆ และยังนำมาใช้ในการปรุงรสของอาหารโดยตรงอีกด้วย |
โซเดียม เคซีน เนท ( Sodium Caseinate ) |
– สารสกัดมาจากนมและผสมโซเดียมเพื่อเป็นตัวทำลาย นิยมใช้เพื่อทำผลิตภัณฑ์ประเภท ไอศกรีม เนยแข็ง ( Processed Cheese ) เวย์โปรตีนผง |
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณสารอาหารผลสลาก แบบย่อ
ข้อมูลโภชนาการ หนึ่งหน่วยบริโภค : ………… (………….) จำนวนหน่วยบริโภคต่อ …….. : ………..คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค พลังงานทั้งหมด…………กิโลแคลอรี่ ________________________________________________ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน* ไขมันทั้งหมด …… ก. ……..% โปรตีน …… ก. ________________________________________________คาร์โบไฮเดรต …… ก. ……..% น้ำตาล ……. ก. โซเดียม …… มก. ……..%* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี |
ในปัจจุบันนี้ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ มักจะมีการระบุปริมาณของโซเดียมต่อมิลลิกรัม เช่น ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา ( ประมาณ 5 กรัม ) มีโซเดียม 300 กรัม การปรุงรสอาหารที่ใช้ซีอิ๊วมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป ก็จะมีปริมาณโซเดียมที่สูงตามไปด้วย เช่นเดียวกับการบริโภคขนมกรุบกรอบตามร้านสะดวกซื้อที่ระบุว่า มีปริมาณโซเดียม 450 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค 2 อธิบายได้ว่า ขนมถุงนี้ควรแบ่งการกินออกเป็น 2 ครั้ง ถ้าหากว่ากินทั้งถุงในคราวเดียวกันก็จะได้รับโซเดียมสูงถึง 900 มิลลิกรัม ซึ่งก็เกือบจะครั้งหนึ่งของปริมาณโซเดียมทั้งหมดที่ควรได้รับแล้ว
เกร็ดความรู้ของหน่วยตวงอาหาร
1 ช้อนชา = 5 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี
1 แก้วน้ำ ( ประมาณเป๊บซี่ 1 กระป๋อง หรือ เบียร์ 1 กระป๋อง ) = 240 ซีซี ( มิลลิลิตร )
1 แก้วน้ำ = 16 ช้อนโต๊ะ
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ออนซ์ = 30 ซีซี ( มิลลิลิตร )
3. อาหารที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่เป็นผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ( Sympathetic Nerves System ) จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นอย่างว่องไวมาก ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความตื่นเต้น ความตกใจ รวมไปถึงการดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนในปริมาณมาก จึงทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบฉับพลัน แต่ถ้าหากว่าภาวะนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานเป็นปีโดยที่ไม่มีการควบคุมให้อยู่ในระดับคงที่หรือลดลง กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย ( Left Ventricle ) ก็จะต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม เนื่องจากต้องออกแรงบีบตัวเพื่อต้านแรงดันนี้ เปรียบได้กับการปิดหน้าต่างในช่วงที่เกิดพายุเข้าอย่างรุนแรงนั่นเอง ตามกฎของ Frank-Staring เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถบิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ ) ระบบ Sympathetic ในร่างกายจึงถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายมีการขยายตัวและมีความหนาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถปิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ )
เมื่อร่างกายเกิดภาวะ Tachycardia ( กล้ามเนื้อหัวใจบิดตัว ) เป็นเวลานาน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความล้าจากการทำงาน จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหัวใจได้ ยิ่งถ้าหากว่าเป็นร่วมกับภาวะ LVH ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลลงไปหล่อเลี้ยงที่ไตได้อย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ไตก็จะกระตุ้นการหลั่ง Rennin ที่ทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือ จึงทำให้มีเลือดเสียไหลย้อนขึ้นไปบนหัวใจห้องขวาบนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Preload และเพิ่ม After Load ของหัวใจห้องล่างซ้ายตามมา จึงทำให้ผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต
สำหรับเครื่องดื่มที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวใจมีการบีบตัวมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาวะที่มีความอันตรายเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่หัวใจต้องทำงานหนักในการเพิ่มแรงต้านทานในการควบคุมแรงดันของหลอดเลือดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องมีการควบคุม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก เพื่อไม่ให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป และถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ขอแนะนำการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ให้มีประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุดดังต่อไปนี้
1. แอลกอฮอล์ ( เหล้า เบียร์ ไวน์ )
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณ 1-2 แก้ว / วัน จะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดต่ำลง รวมถึงอัตราการตายก็จะต่ำลงด้วย ซึ่งก็เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจระหว่างแอลกอฮอล์และระบบหัวใจกับหลอดเลือด การผลการวิจัยที่ได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม พบว่าค่าความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวเลขหรือปริมาณเครื่องดื่มที่เหมาะสมที่จะนำมาให้ผู้ป่วยดื่มนั้น คิดจากปริมาณของเอทานอล สำหรับผู้ป่วยชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 20-30 กรัม ( ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภคต่อวัน ) และสำหรับผู้ป่วยหญิงไม่ควรเกินวันละ 10-20 กรัม (ไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวัน )
ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่พอเหมาะพอดีซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่แนะนำ คือ
1. สุราที่มีแอลกอฮอล์ 40% = 45 มิลลิลิตร
2. ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% = 150 มิลลิลิตร
3. เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% = 360 มิลลิลิตร
ส่วนผู้ที่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เลย เพราะจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ง่าย คือ
1. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
2. ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี
3. ผู้ที่อยู่ในระหว่างการพักรักษาตัว หรือต้องใช้ยารักษาอาการป่วย
4. ผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว และมีภูมิคุ้มกันต่ำ
5. ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้ทักษะและสมาธิ รวมทั้งต้องขับขี่ยานพาหนะ
6. ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองและไม่สามารถควบคุมปริมาณในการดื่มได้
7. ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดการเสพติดสุราและสารเสพติด
2. ชา กาแฟ
เครื่องดื่มที่ส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างชาและกาแฟ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้หัวใจมีการทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ควรดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว หรือให้เลี่ยงไปดื่มชาเขียวแทน เพราะถึงแม้ว่าชาเขียวจะมีคาเฟอีนที่ไม่ต่างกับชาชนิดอื่น ๆ
3. เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )
ตาราง เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )
ขอแนะนำ
( Recommendation ) |
เป้าหมายการบริโภค
( Goal ) |
ขนาดการบริโภค
( Serving Size ) |
Sugar-Sweetened Beverages Sweets and Bakery Foods | จำกัดการบริโภค ( Limit Intake ) สูงสุดไม่เกิน 5 Servings/wk | – Cookie, Doughnut, หรือ Muffin หนึ่งชิ้นเล็ก – Cake หรือ ขนม Pie ที่ Slice หนึ่งชิ้น – เครื่องดื่ม 8 oz |
4. Micronutrient มีเครื่องดื่มมากมากที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอยู่ในกลุ่ม Flavonoids เช่น โกโก้ ( Cocoa ) ที่สามารถนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม หรือผลไม้ประเภท แอปเปิ้ล และองุ่น ที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มได้ แต่ต้องไม่ใส่สารใด ๆ เพิ่มเติมรวมทั้งน้ำตาลและน้ำเชื่อม นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์ยังพบได้ในไวน์แดง และถั่วเหลือง เพราะฉะนั้นเครื่องดื่มที่ทำจากถั่วเหลืองโดยไม่ผสมสารใด ๆ ก็นับว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นอย่างยิ่ง
จากการทดลองพบว่า สารฟลาโวนอยด์ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี
จากการทดลองให้ผู้ป่วยได้รับประทานโกโก้ หรือ ดาร์คช็อคโกแลต ในปริมาณเพียง 6.3 g ก็สามารถลดค่า SBP ลงได้ 5.9 มม.ปรอท และลดค่า DBP ลงได้ 3.3 มม.ปรอท
การรักษาและการป้องกันและชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ต้องมีการปฏิบัติแบบบูรณาการร่วมกันทั้งเรื่องของการใช้ยา และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งก็จะมีเรื่องของ การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือการบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มมากขึ้น หลีกเลี่ยงหรือลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาลมาก รวมถึงการลดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหารให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย ไม่ให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงร่างกายต่างๆ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติก หรือระประสาทอัตโนมัติ ควบคู่ไปกับการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกาย ซึ่งจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยรายต่อ ๆ ไปอีกด้วย
การใช้ยาลดความดันโลหิต
การรักษาหรือควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยด้วยยานั้น จะต้องเน้นใช้ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบ Neurohormornal Response ของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะมีระบบ Neurohormornal Response ด้วยกันถึง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเธติก ( Sympathetic Nervous System: SNS ) ระบบเรนนิน แองจิโอเทนซิน ( Rennin-Angiotensin System : RAS ) และปริมาณโซเดียมในร่างกาย เพราะฉะนั้น การพิจารณาเลือกใช้ยาของแพทย์ จึงต้องขึ้นอยู่กับการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายที่มักจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหา SNS ทำงานมากผิดปกติ ก็อาจจะเหมาะกับการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blockers ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหา RAS ทำงานมากเกิน น่ก็จะต้องเลือกใช้ยากลุ่ม RAS Blocker และผู้ป่วยที่มีปริมาณโซเดียมในร่างกายสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาประเภท Diuretics แต่ทั้งนี้ แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ใช้ยามากกว่า 1 หรือ 2 ตัวในกลุ่ม หรือจะเป็นการข้ามกลุ่มกันเลยก็ได้ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับการใช้ยาเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปในระยะแรก จะเริ่มจากการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blocker และยากลุ่ม Diuretic ที่เป็นยาขับปัสสาวะ แต่ถ้าการประเมินพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะ Metabolic Syndrome เพิ่มขึ้นด้วย ก็อาจจะต้องงดใช้ยา Beta-Blocker เพราะอาจจะทำให้ภาวะดื้ออินซูลินมีอาการที่แย่ลงกว่าเดิม และถ้าพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน และต้องการที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด ก็อาจจะมีการพิจารณาให้ใช้ยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor ( ACEI ) เว้นแต่ว่า ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต หรือมีปัญหาท่อไตติดทั้งสองข้าง หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลุ่ม ACEI ก็จะต้องใช้ยากลุ่ม Angiotensin Receptor Block ( ARB ) แทน และถ้าหากว่าผู้ป่วยยังมีข้อห้ามในการใช้ยาทั้ง ACEI และ ARB ก็อาจจะต้องมีการพิจารณาให้ยากลุ่มที่สองได้แก่ กลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB ) ในการรักษาโรคแทน
จากที่กล่าวมานั้นจะพบว่า การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และผลข้างเคียงของการใช้ยา เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป จากการศึกษาในการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปด้วยยา พบว่า ยาที่แพทย์ส่วนใหญ่พิจารณาให้ผู้ป่วยคือยากลุ่ม Beta-Blocker ถึง 57.1% และมีการใช้ยากลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB )ในรายที่ไม่มีข้อห้ามและไม่มีโรคร่วม อีก 35.7% และปิดท้ายด้วยการให้ยากลุ่ม ACEI อีก 7.1% โดยเป็นการให้ยา ACEI ร่วมกับ Diuretic ที่มีผลในการรักษาต่างกัน แต่มีทิศทางเดียวกัน โดยเน้นในเรื่องของผลลัพธ์เป็นหลัก
สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ของประเทศไทยที่จัดทำโดยสมาคมความดันโลหิตแห่งประเทศไทย ได้แนะนำหลักการใช้ยาลดความดันโลหิตใน 4 กลุ่ม ที่นิยมใช้กันทั่วโลก และมีผลในการรักษาค่อนข้างดี คือ
1. Thiazide – Type Diuretics
2. Calcium Channel Blockers ( CCBs )
3. Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors ( ACEI )
4. Angiotensin II Receptor Blockers ( ARBs )
ตารางการบูรณาการใช้ยาลดความดันโลหิตกับอาหารที่เหมาะสม
ยาที่ใช้ในการรักษา | อาหารที่เหมาะสม |
1. Calcium Channel Blocker ( CCBs ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ในขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยลดการทำงานของหัวใจไม่ให้หนักจนเกินไป ยาบางชนิดในกลุ่มนี้ อาจทำให้การเต้นของหัวใจ และปริมาณการใช้ออกซิเจนของหัวใจลดลง ไม่เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ( Cr>1.5 ) เพราะเมื่อทานยาเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดการไวต่อเหลือและน้ำ ที่เป็นสาเหตุของการบวมน้ำได้ |
ควรเลือกรับประทานอาหารตามโปรแกรม DASH diet อย่างเคร่งครัด ร่วมกับการลดการทานเค็ม ลดปริมาณเกลือและโซเดียมในการปรุงอาหาร เพื่อไม่ให้ไตต้องทำงานหนัก และมีค่า BUN/Cr สูงจนเกินไป |
2. ACEI หรือ ARB เป็นยาที่มีฤทธิ์ โดยการใช้เอนไซม์ไปยับยั้งการกระตุ้นของระบบ RAS ซึ่งจะทำให้เกิดผลคือ การลดการหลั่ง rennin ที่ไต และยับยั้งการหลั่งของ angiotensin I ไม่ให้เปลี่ยนเป็น angiotensin II ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง จึงช่วยลดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายทั่วร่างกาย จึงสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ทั้งค่า SBP และค่า DBP โดยที่หัวใจไม่เต้นเร็วมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ACEI/ARB ช่วยลด LVH และลดการหลั่ง ADH ที่จะช่วยป้องกันการดูดซึมเกลือและน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของการโพแทสเซียมที่จะสะสมในร่างกายแทน ไม่ควรใช้ร่วมกับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ไวกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำเกิดปัญหากับสุขภาพมากยิ่งขึ้น |
ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของ Vitamin K สูง สามารถพบได้ในผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม กล้วยหอม องุ่น อะโวคาโด รวมไปถึงผักต่าง ๆ เช่น บล็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ รวมไปถึงน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะกอก ปริมาณ vitamin K ในผักใบเขียวแสดงดังตาราง |
3. Thiazide – Type Diuretics ยาชนิดนี้ควรมีการพิจารณาในการนำไปใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถออกฤทธิ์ส่งเสริมกันได้ เช่น ACEI/ARB หรือ CCB เพื่อลดการเกิดปัญหาเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย และเพื่อให้การควบคุมระดับความดันโลหิตเป็นไปในทิศทาที่ดีขึ้นด้วย แต่ข้อควรระวังคือห้ามใช้คู่กับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมาได้ |
ยาที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ จึงอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีกรดยูริกในตัวเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย เช่น หน่อไม้ ยอดกระถิน ยอดชะอม ควรบริโภคผักและผลไม้ที่มี Vitamin K ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้โพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป และควรบริโภคอาหารตามโปรแกรม DASH diet เพื่อไม่ให้ไตเกิดภาวะเสื่อมเร็วก่อนกำหนด |
4. Beta-Blocker ยานี้จะออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งการกระตุ้นของประสาทอัตโนมัติ จึงอาจจะทำให้หัวใจเต้าช้าลงกว่าปกติ ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องดีที่หัวใจจะได้รับการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น การรับเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายเข้ามาสู่หัวใจห้องล่างซ้ายก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีโดยที่หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเหมือนที่เคยเป็นมา แรงดันของโลหิตก็จะค่อย ๆ ลดลงตามไปด้วยเพราะฉะนั้นจึงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจได้ไปในตัว ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่การเลือกใช้ยา Beta-Blocker ก็มีข้อควรระวังมาก เพราะจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากการใช้ยาไปนาน ๆ อาจมีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ผู้ป่วยจึงอาจจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม เป็นเหตุให้เกิดการช็อก และหมดสติ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม Metabolic Syndrome เป็นอย่างยิ่ง- ยาในกลุ่ม Beta-Blocker ส่วนใหญ่ มักจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องเลือกทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี หรือมีใยอาหารสูง ซึ่งก็คืออาหารประเภทธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแป้งและน้ำตาล จึงช่วยลดระดับน้ำตาล และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานขึ้นได้ |
ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นให้หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งจะสวนทางกับฤทธิ์ของยาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลง เป็นผลให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และ ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารไม่ให้มากจนเกินไป และต้องพิจารณาคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ย่อยช้า และมีค่า GI ต่ำ |
การรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เพื่อเน้นในเรื่องของการป้องกัน การควบคุมและการลดความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายนั้น ต้องเน้นที่เรื่องของการปรับอาหารเป็นหลัก ร่วมกับเรื่องของการงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ก็ต้องปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก ส่วนการรักษาทางการแพทย์นั้น ก็คือการเลือกยารักษาให้เหมาะสมและถูกต้องกับอาการของคนไข้ โดยจะต้องคำนึงถึงผลของการใช้ยาในกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคนไข้ได้ โดยยาที่นำมาใช้นั้น อาจจะมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจจะข้ามกลุ่มกันก็ได้ แต่จะน้องเน้นในเรื่องของผลลัพธ์ในการรักษาเป็นหลัก และต้องระวังเรื่องผลของยาที่อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่นของคนไข้ การบูรณาร่วมกันระหว่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตร่วมกับยาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากผู้ป่วยสามารถควบคุมเรื่องของอาหารได้ แพทย์ก็อาจจะพิจารณาในการสั่งยาน้อยลง ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นในแง่ของความคุ้มค่า
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.
Ogedegbe, Gbenga; Pickering, Thomas (2010-11-01). “Principles and techniques of blood pressure measurement”. Cardiology Clinics. 28 (4): 571–586.