ตรวจเลือด
ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง Tumor Marker จึงเป็นเหมือนการสืบสวนเพื่อย้อนรอยหาผู้ก่อการร้าย ซึ่งก็คือมะเร็ง ว่าแอบซ่อนอยู่ตรงไหนของร่างกาย เพื่อจะได้ทำการกำจัดออกไปก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สามที่เป็นระยะอันตรายมากที่สุด
Tumor Marker คือ สารชนิดหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งสาร Tumor Marker อาจเกิดจากการที่ โปรตีน สารประกอบชีวเคมี หรือ เอนไซม์ ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากเซลล์มะเร็งเองหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีปฏิกิริยาตอบโต้การบุกรุกทำลายของเซลล์มะเร็ง จนทำให้สารบ่งชี้ดังกล่าวมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและค่อยๆ รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก็สามารถตรวจพบสารบ่งชี้ได้ด้วย การตรวจเลือด นั่นเอง
Hyperplasia คือ เซลล์ที่เกิดใหม่และทำให้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม มีผลให้อวัยวะหรือเซลล์ในส่วนนั้นมีขนาดที่บวมใหญ่ขึ้น เซลล์ชนิดนี้มักจะพบได้จาก สภาวะต่อมไทรอยด์โต ( Thyroid Hyperplasia ) และ สภาวะต่อมลูกหมากโต ( Benign Prostate Hyperplasia, BPH ) เป็นต้น
Hypertrophy คือ เซลล์ที่เกิดใหม่โดยไม่ได้ทำให้จำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ทำให้เซลล์มีขนาดและรูปร่างที่ใหญ่กว่าเดิมแทน ส่งผลให้อวัยวะหรือเซลล์ในส่วนนั้นมีขนาดที่บวมโตขึ้น พบได้จาก สภาวะหัวใจโต (Cardiac Hypertrophy) เป็นต้น
Metaplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ที่งอกขึ้นมาแทนตัวเดิม โดยจะมีจำนวนมากแต่ขนาดไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งพบได้ในเซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนัง ( Squamous Metaplasia ) ที่มีการงอกขึ้นมาเพื่อแทนที่ผิวหนังเดิมที่ได้ลอกออกไปตามอายุหรือการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว
Dyplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ในสภาพของวัยที่ยังโตไม่เต็มที่ โดยจะเข้ามาแทนที่เซลล์เก่าที่ได้หลุดลอกออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์ผนังด้านในโพรงมดลูก ( Dysplasia of the Cervix Epithelium ) ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเติบโตเต็มที่ 28 วัน แล้วหลุดออกมาเป็นประจำเดือนในที่สุด
ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง
ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง มีทั้งชนิดที่มองเห็นได้ง่ายและชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ นั่นคือ
ชนิดที่ไม่มีอาการบวม โดยจะไม่แสดงอาการออกมาทำให้สังเกตได้ยาก ส่วนใหญ่จะเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ซึ่งจะไหลเวียนในหลอดน้ำเหลืองจึงไม่บวมออกมา
ชนิดที่มีอาการบวม โดยจะมีก้อนเนื้อบวมนูนขึ้นมาทำให้สังเกตเห็นได้โดยง่าย ซึ่งชนิดนี้เรียกว่า Tumor อาจเกิดจากเซลล์มะเร็งหรือไม่ใช่เซลล์มะเร็งก็ได้ กล่าวคือ
Benign Tumor คือก้อนเนื้อที่บวมออกมาแต่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง เช่น ถุงไขมัน ( Cyst ) เนื้อเยื่อที่บวมในเต้านม เป็นต้น
Malignant Tumor คือก้อนเนื้อที่บวมนูนออกมา โดยเกิดจากเซลล์มะเร็งร้าย ซึ่งก็อาจจะเป็นมะเร็งหลากชนิดกันไป
การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้โรคมะเร็ง
การตรวจเลือด เพื่อหาสารบ่งชี้การป่วยด้วยโรคมะเร็ง เป็นวิทยาการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า ซึ่งสามารถทำการตรวจวิเคราะห์เลือดได้ว่ามีระดับหรือค่าความเสี่ยงมะเร็งมากแค่ไหน และสามารถสรุปได้อีกด้วยว่ากำลังป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด เนื่องจากสามารถตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้สัญญาณมะเร็งต่ออวัยวะได้หลายชนิดสัญญาณนั่นเอง
วัตถุประสงค์ ในการตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณโรคมะเร็ง
โดยภาพรวม การตรวจเลือด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อคัดกรองสุขภาพของแต่ละบุคคลในการตรวจสุขภาพประจำปี ถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นมะเร็ง ซึ่งจะทำให้เตรียมตัวและรับมือกับอาการป่วยได้ทันรวมถึงทราบด้วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใดและเกิดขึ้นตรงส่วนไหนของร่างกาย เป็นการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา โดยหากการรักษาได้ผล สารบ่งชี้มะเร็งก็จะค่อยๆ ลดลงไปสามารถพยากรณ์ความร้ายแรงของโรคมะเร็งบางชนิดได้ โดยดูได้จากค่าของสารบ่งชี้ที่ตรวจพบใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งที่ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ เช่น มะเร็งเซลล์สมอง โดยสารบ่งชี้จะเป็นตัวบอกว่าเซลล์ผิดปกติที่พบในตำแหน่งนั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
Tumor Marker คือ สารชนิดหนึ่งที่บ่งชี้ถึงกโรคมะเร็ง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ โปรตีน สารประกอบชีวเคมี หรือ เอนไซม์ ที่ถูกผลิตขึ้นจากเซลล์มะเร็ง หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
วิธีการตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณมะเร็ง หรือสารบ่งชี้มะเร็ง
สำหรับวิธีการตรวจเพื่อหาสัญญาณหรือสารบ่งชี้มะเร็ง สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ
1.ตรวจโดยการระบุชื่อสัญญาณมะเร็ง ( Cancer – Specific Marker ) เป็นการตรวจแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อทราบสัญญาณมะเร็งของชนิดที่ต้องการเท่านั้น โดยมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีการกำหนดไว้ว่าต้องตรวจหาค่าอะไรจึงจะพบ เช่น การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ จะต้องตรวจค่า AFP ซึ่งจะทำให้ทราบอย่างชัดเจนว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งตับหรือไม่ นอกจากนี้การตรวจ AFP ก็มีผลพลอยได้ ทำให้ทราบสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่และมะเร็งลูกอัณฑะ
2.ตรวจโดยการระบุอวัยวะ (Tissue – Specific Marker) เป็นการตรวจเฉพาะเจาะจง เพื่อทราบสัญญาณมะเร็งจากอวัยวะภายในร่างกายที่กำลังสงสัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยจะใช้วิธีการตรวจเฉพาะจุด เช่น ต้องการทราบว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือไม่ จะต้องตรวจสัญญาณบ่งชี้ 3 ตัว คือ CEA, CA 19-9 และ CA 125 โดยการตรวจหาค่าดังกล่าวนอกจากจะทำให้ทราบผลตามต้องการแล้ว ก็ได้ผลพลอยได้ โดยทราบถึงสัญญาณบ่งชี้มะเร็งของอวัยวะอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กันอีกด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ Tumor Markers ตรวจเลือดหามะเร็ง
อย่าสรุปผลตรวจจากค่าที่ได้ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว เพราะค่าที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การตรวจเลือด หลายๆ ครั้งเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง ควรตรวจจากห้องปฏิบัติการแห่งเดียวกันและต้องใช้อุปกรณ์ น้ำยาวิเคราะห์ต่างๆ ที่เป็นชนิดเดียวกันเสมอ ควรพิจารณาจากสารบ่งชี้มะเร็งหลายๆ ตัวที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สามารถบ่งชี้มะเร็งแบบเจาะจงในจุดเดียวกันได้เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น สามารถเลือกพิจารณาจากสัญญาณมะเร็งที่ไม่เจาะจงแต่มีคุณสมบัติความไวในการบ่งชี้ได้ดี เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการตรวจ ต้องมีการบันทึกประวัติข้อมูลตัวเลขสารบ่งชี้มะเร็งก่อนการรักษาอย่างชัดเจน เพื่อวิเคราะห์ผลการรักษาได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น
อาจเกิดปรากฎการณ์ “ Hook effect ” ซึ่งเป็นการหลบซ่อนของสัญญาณมะเร็ง ทำให้ไม่ได้ค่าการตรวจที่ชัดเจน จึงต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบในการตรวจมากเป็นพิเศษ
การตรวจเลือด หาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและทำให้ทราบอาการป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อทำการรักษาได้ทันเวลา แต่เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง 100% เสมอไป ผู้ตรวจจึงต้องมีความรอบคอบและทำตามคำแนะนำในการใช้ Tumor Markers อย่างเคร่งครัด
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Cancer causation: association by tumour type”. Journal of Internal Medicine.
Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2002-08-07.