มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )

0
14376
โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma, CCA) คืออะไร
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์เยื่อบุผนังของท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก
โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma, CCA) คืออะไร
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์เยื่อบุผนังของท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก

มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma, CCA ) คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในประเทศไทยโรคนี้ทางสาธารณสุขเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ

มะเร็งของท่อน้ำดีที่ตับ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการ ส่วนใหญ่จะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะที่มีการพัฒนาของมะเร็งเต็มขั้นแล้ว การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือด ใหญ่และลำไส้

ท่อน้ำดีเป็นอวัยวะในทางเดินระบบอาหารอย่างหนึ่งในร่างกายของมนุษย์เรา มีลักษณะเป็นท่อขนาดใหญ่อยู่บริเวณภายนอกตับ ท่อน้ำดีเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างถุงน้ำดีและสำไส้เล็ก มีหน้าที่นำน้ำดีจากถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยอาหารซึ่งท่อน้ำดีก็เป็นอวัยวะอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิด มะเร็งท่อน้ำดีได้เหมือนกับอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ลองมาดูกันว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีนี้มีข้อมูลอย่างไร ดังต่อไปนี้

การที่ท่อน้ำดีมีเชื้อของมะเร็งเกิดขึ้น โดยปกติในท่อน้ำดีจะประกอบด้วยเซลล์หลากหลายชนิด  เช่น เยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดีเส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์ต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์ทุกชนิดในท่อน้ำดีสามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งหมด แต่โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่มากหรือบ่อยนัก สามารถเป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิงโรคมะเร็งในท่อน้ำดีมีด้วยกันหลายชนิด แต่ในส่วนมากที่พบจะเป็นชนิด โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา หรือ ซีซีเอ ( CCA : Cholangiocarcinoma ) ซึ่งจะเป็นชนิดเดียวกับอะดีโนคาร์ซิโนมา เป็นเซลล์มะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคระดับปานกลาง

การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือดใหญ่และลำไส้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นแพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีได้จาก การสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพท่อน้ำดีด้วยการอัลตราซาวด์หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ใด

  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ หรือเรียกว่า intrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ) เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายมะเร็งตับ จึงเป็นโรคที่มักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นมะเร็งตับ
  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีนอกตับ หรือเรียกว่า extrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ) เกิดที่ท่อน้ำดีใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีร่วมส่วนปลาย มะเร็งชนิดนี้ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง   

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี

ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า โรคมะเร็งในท่อน้ำดีเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงอะไร แต่ก็มีข้อมูลบางส่วนพบว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุการเป็นนิ่วในท่อน้ำดีก็เป็นได้

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

อาการของมะเร็งท่อน้ำดีจะมีลักษณะอาการที่แสดงออกมาคล้ายกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี ซึ่งจะมีอาการที่พบได้บ่อยๆจากโรค ดังนี้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดบริเวณใต้ชายโครงฝั่งขวา ( บริเวณตำแหน่งของท่อน้ำดี ) แบบเรื้อรัง มีอาการตัวและตาเหลือง คันทั่วตัว ปัสสาวะมีสีเข้ม และอุจจาระมีสีซีดซึ่งเป็นสาเหตุจาก การอุดตันของท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดขึ้นที่บริเวณท่อน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ในการระบายของเสียซึ่งออกจากตับไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้น ( Duodenum ) องค์ประกอบของท่อน้ำดีจะประกอบด้วยท่อน้ำดีเล็ก ( Ductules ) และถุงน้ำดี ( Gallbladder ) ท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับเรียกว่า Intrahepatic Bile Duct ซึ่งเป็นท่อที่มีส่วนที่ยู่ภายในตับและเชื่อมต่อกับท่อน้ำดีใหญ่ที่ตับ ( Common Hepatic Duct ) บริเวณท่อน้ำดีที่ออกจากตับ ( Hilum ) ส่วนท่อน้ำดีรวม ( Common Bile Duct ) คือ บริเวณที่ถุงน้ำดีเชื่อมต่อกับท่อขนาดเล็กที่เรียกว่า Cystic Duct

ระยะของมะเร็งท่อน้ำดี

เราสามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้เป็น 4 ระยะตามอาการที่พบดังนี้

ระยะที่ 1 เชื้อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นในท่อน้ำดี ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียงอื่นๆ

ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าไปถึงถุงน้ำดี และอวัยวะข้างเคียง เส้นเลือดแดง หรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี

ระยะที่ 4 อาการมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย โรคมะเร็งจะแพร่กระจายเข้าช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป อวัยวะที่พบได้บ่อยๆคือ ปอดและตับ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีที่สำคัญ ได้แก่ การรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีมีดังนี้
1. ภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
2. โรคของระบบทางเดินน้ำดี
3. มีนิ่วในตับ
4. โรคทางพันธุกรรมผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคมีถุงน้ำผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

การรักษามะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูง เนื่องจากกว่าจะตรวจพบโรคได้ อาการก็มักลุกลามแพร่กระจายเชื้อไปทั่วแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยก็มีโอกาสรักษาให้หายได้โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะของโรคที่เป็น ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก รวมถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย 

ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก ส่วนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ  เช่น การให้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี หรือการให้ยาแบบเฉพาะ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาทางการแพทย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งในท่อน้ำดีมักจะดื้อต่อการใช้เคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยรังสีซึ่งหากผู้ป่วยรายไหนที่ไม่สามารถใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาได้ แพทย์ก็จะต้องใช้การรักษาแบบประคับประคองอาการไว้เท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีอื่นได้

การป้องกันมะเร็งในท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อยจึงยังไม่สามารถทราบปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้ อีกทั้งในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคนี้อีกด้วย

อาจจะพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ไม่มากนัก หลายคนอาจจะมองว่ามะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่ไกลตัวพอสมควร และถึงแม้ว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะตรวจพบได้ยากและไม่มีวิธีในการป้องกันได้ในปัจจุบันได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรที่จะประมาณต่อการใช้ชีวิต ควรจะดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมและปัจจัยที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ  เพราะการดูแลตนเองก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.