โรคมะเร็งปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม
ผู้ที่มีพันธุกรรมดีอาจเป็นโรคมะเร็งได้ ถ้ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

สาเหตุของมะเร็ง

สาเหตุของโรคมะเร็ง หากจะกล่าวถึงสาเหตุได้ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งในปี ค.ศ. 2008 ศูนย์มะเร็งเอ็มดีแอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส ได้ศึกษาสาเหตุของโรคมะเร็งและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยโรคมะเร็งจำนวนมากกว่า 100 ชิ้นจนได้ข้อสรุปว่า สาเหตุของโรคมะเร็งส่วนมากจะเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากถึง 90 – 95%  และสาเหตุของโรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมเพียงแค่ 5 -10 % เท่านั้น ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมยอดของผู้ป่วยโรคมะเร็งในปัจจุบันจึงมีมากมายและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างน่าตกใจเช่นนี้

หากเมื่อเทียบกับข้อมูลในศตวรรษที่แล้ว สาเหตุของโรคมะเร็ง เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคมะเร็งมาจากพฤติกรรมต่างๆมากมาย การกินอาการ การใช้ชีวิตประจำวัน  มักจะมีเรื่องของปริมาณสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ  และยังร่วมไปถึง การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้คนเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับการที่มีสุขภาพแย่ลง เนื่องจากการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่น้อยลงตามไปด้วย

สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต

สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตเป็นปัจจัยหลักสูงสุดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปัจจุบัน  โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จะมีอัตราสูงถึง ( 90-95% ) เลยทีเดียว หากมองให้ลึกลงไปอีก จะพบว่า สาเหตุของมะเร็ง มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 คือ เรื่องของพฤติกรรมการบริโภคอาหารนั้นเอง ( 30-35% ) ส่วนปัจจัยที่รองลงมา คือเรื่องของบุหรี่ ( 25-30% ), การติดเชื้อเช่นไวรัส HPV และแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ( 15-20% ), โรคอ้วน ( 10-20% ), และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ( 4-6% ) และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่นความเครียด มลพิษต่างๆ การอยู่กลางแดดจัด และการไม่ออกกำลังกาย ( 10-15% )

โดยจากการวิเคราะห์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารพบว่ามีสารพิษต่างๆมากมาย ที่อาจเป็น สาเหตุของมะเร็ง จะปนเปื้อนมาในอาหารและก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้  เช่น สารไนเทรต ( Nitrate ) และสารไนโตรซามีน ( Nitrosamine ) ที่จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนของวัตถุกันเสียในเนื้อสัตว์แปรรูปเช่นไส้กรอก กุนเชียง แหนม ของหมักดอง หรือการที่ได้รับสารจำพวกยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในพืชหรือผักผลไม้ต่างๆ หรือจะเป็นสารไดออกซิน ( Dioxin ) ที่ปนเปื้อนจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมู ไก่ การผลิตน้ำนม เป็นต้น

สาเหตุของมะเร็ง ยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุ่มเสี่ยงทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากสูงเป็นอันดับหนึ่งถึง 75% เลยทีเดียว รองลงมาคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ในอัตรา 70% นอกจากนี้ก็จะเป็นมะเร็งอื่นๆ เช่น ตับอ่อน – 50% ถุงน้ำดี – 50% เต้านม – 50% เยื่อบุโพรงมดลูก – 50% กระเพาะอาหาร – 35% ปาก – 20% คอหอย – 20% กล่องเสียง – 20% หลอดอาหาร – 20% ปอด – 20% กระเพาะปัสสาวะ – 20% อื่นๆ – 10%

สาเหตุของมะเร็ง จากปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมเป็นในส่วนของกลุ่มน้อยที่มีอัตราแค่  ( 5-10% ) เท่านั้นและเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังนั้นผู้ที่มีเกิดมาในครอบครัวที่ได้รับการถ่ายทอดยีนในกลุ่มทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์มะเร็ง ( Tumor Suppressor Gene ) ที่ผิดปกติออกไปนั้น ก็อาจจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูงได้มากกว่าผู้อื่น แต่ในที่นี้ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้รับปัจจัยทางพันธุกรรมมา จะต้องเป็นมะเร็งในทุกคน เพราะมีโอกาสที่ยีนผิดปกติเหล่านี้ จะไม่แสดงผลเสียใดๆ ต่อบุคคลนั้นออกมาก็ได้

สำหรับผู้ที่มีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องของเซลล์มะเร็งก็สามารถเป็นโรคมะเร็งต่างๆได้เช่นกัน ถ้าใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และมีสารก่อมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อเพิ่มโอกาสตรวจเจอมะเร็งในระยะต้นๆ  จะได้รักษาได้ทันเวลา ตามสถิติแล้วผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1 มีโอกาสหายจากโรคสูงถึง 70-90% เลยทีเดียว

สาเหตุของโรคมะเร็ง ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งโดยส่วนใหญ่มาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริโภคอาหาร การดื่มเหล้า การสูบบุรี่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ก็จะสามารถช่วยให้ป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Complementary and alternative therapies for cancer”. Oncologist  (1): 80–9.

“Cancer”. National Cancer Institute. 11 August 2016.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.