อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

0
4317
กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง
การได้รับอาหารที่ดีจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมีกำลังต่อสู้กับมะเร็ง
กินอย่างไรห่างไกลโรคมะเร็ง
อาหารป้องกันมะเร็งได้จากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมีกำลังต่อสู้กับมะเร็ง

อาหารต้านมะเร็ง

การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นมะเร็ง อาหารจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับป้องกันมะเร็ง ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ ทุกวันนี้คนเรามักจะเน้นการกินอาหาร ที่หาทานง่าย สะดวกรวดเร็ว มากกว่าเรื่องของโภชนาการอาหารที่ดี ซึ่งหากยังทำซ้ำๆเดิมๆ แบบนี้ต่อไป ก็อาจจะมีผลเสียและสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในอนาคตได้  ดังนั้นควรเลือกกินอาหาร ต้าน มะเร็ง และอาหาร ป้องกัน มะเร็ง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ควรมีการเลือกทานอาหารที่ดี และช่วยให้ห่างไกลจากมะเร็งสำหรับผู้ที่ยังมีร่างกายแข็งแรงปกติดี ควรเลือกทานอาหารแบบวิธีลด ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

การเลือกกินอาหารต้านมะเร็ง มีหลักการ ดังนี้

1. เลือกแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ โดยเน้นการกินโปรตีนจากถั่ว ไข่ เนื้อสัตว์แบบไร้หนังสีขาว เช่น เนื้อปลาและเนื้อไก่ แทนการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่เป็นสีแดงสด อย่างเนื้อหมูและเนื้อวัว
2. เน้นกินผักและผลไม้ ผักและผลไม้นอกจากจะอุดมไปด้วยประโยชน์แล้ว ยังมีผักและผลไม้บางชนิด คือ อาหาร ป้องกัน มะเร็ง ที่มีสารช่วยต้านมะเร็ง เช่น ผักจำพวกหัวกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ซึ่งผักเหล่านี้ มีสารอินโดลที่มีฤทธิ์ช่วยต้านมะเร็งได้หรือจะเป็นพืชพวกตระกูลเห็ด อย่าง เห็ดชิตาเกะ เห็ดไรชิ เห็ดไมตาเกะ ที่มีสาร ต้านมะเร็ง สูงมากเช่นกันและยังรวมไปถึงพืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดพืชที่มีเปลือก ที่มีสารไอโซฟลาโวนและสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
3. เลือกกินแป้งชนิดที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวแบบไม่ขัดสีข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีตและเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงด้วย
4. กิน อาหาร ป้องกัน มะเร็ง โดยเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอด และหากเป็นการทอดด้วยน้ำมันที่ไม่สะอาด มีสีดำเกิดจากการใช้ซ้ำ ยิ่งจะส่งผลเป็นตัวกระตุ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้นด้วย
5. เลี่ยงอาหารปิ้งย่างหรือไหมเกรียม สำหรับผู้ที่ชอบทานอาหารปิ้งย่าง ต้องระมัดระวังในการทานให้ดี ไม่ควรทานบ่อยๆ หรือไม่ทานชิ้นที่ไหม้และเกรียม
6. กินอาหาร ป้องกัน มะเร็งโดยเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการขึ้นราได้ง่าย เช่น ถั่วลิสง พริกป่นข้าวโพดอาหารกลุ่มนี้มักจะขึ้นราได้ง่ายและมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จึงควรระมัดระวังในการทานให้มาก
7. อาหารอื่นๆที่ควรเลี่ยง เช่น อาหารที่มีสีฉูดฉาดเกินจริง อาหารที่ปรุงไม่สุกอาหารที่ถนอมอาหารด้วยดินประสิวหรือรมควัน เป็นต้น

ผู้ป่วยมะเร็งอยู่แล้วก็ต้องมีการเลือกทานอาหาร ป้องกัน มะเร็ง เนื่องจากการได้รับอาหารที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงช่วยให้มีกำลังต่อสู่กับโรคมะเร็งต่อไป

การเลือกทานอาหารต้านมะเร็ง

1. ทานอาหารครบ 5 หมู่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องเลือก กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
2. ทานโปรตีนได้ปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักจะเข้าใจผิดว่าหากป่วยเป็น มะเร็ง ต้องงดการกินโปรตีนแต่ในความจริง สามารถทานได้ปกติแต่ต้องปรุงให้สุกและได้รับในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

3. เลี่ยงผักหรือผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก เนื่องจากอาจมีการใช้ปุ๋ยคอกรดทำให้มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนได้ ถ้าหากต้องการทานจริง ๆ ต้องล้างให้สะอาดอีกรอบด้วยน้ำยาล้างผักหรือผลไม้
4. เตรียมของว่างไว้ใกล้ตัวให้พร้อม สำหรับข้อนี้ ผู้ป่วยมะเร็ง บางท่าน อาจจะมีอาการเบื่ออาหารหรือทานอาหารได้น้อย จึงควรมีการเตรียมอาหารว่างไว้ข้างๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ โดยเน้นอาหารว่างที่ดีและมีประโยชน์ เช่น ผลไม้ โยเกิร์ต น้ำเต้าหู้ เป็นต้นเพื่อที่หากผู้ป่วยหิวจะได้มีของทานเข้าไปทดแทนอาหารมื้อหลักจะช่วยให้ผู้ป่วยได้มีพลังงานมากขึ้น

แน่นอนว่า อาหาร ที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน ก็มีให้เลือกกินเลือกทานกันมากมาย แต่ก่อนจะกินอะไรเข้าไปก็แล้วแต่ ควรตะหนักไว้เสมอว่า อาหารที่เราทานนี้ จะส่งผลเสียต้อร่างกายเราในอนาคตหรือไม่ ควรรู้จักดูแลตนเองตั้งแต่ตอนนี้จะได้ไม่ต้องไปเสียใจในอนาคต

อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
การต่อต้านมะเร็งด้วยตนเองคือ หลีกเหลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบจำพวกอาหารปิ้งย่าง

หลักการบริโภคอาหารเพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

การบริโภคอาหารสามารถป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้ โดยยึดหลักองค์ประกอบ 12 ประการ โดยทั้ง 12 ประการแบ่งเป็น 5 ประการเพื่อการป้องกัน และ 7 ประการเพื่อลดความเสี่ยง ดังต่อไปนี้

1. อาหารต้านมะเร็งที่ดีควรรับประทานทานอาหารและผักที่มีกากใยสูง หรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ ธัญพืช รวมถึงผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บร็อคโคลี่ เป็นต้น เนื่องจากอาหารที่มีกากใยสูง จะช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพราะอาหาร รวมถึงมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้อีกด้วย
2. รับประทานอาหารที่มี เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง เนื่องจากในสารเบต้าแคโรทีน เป็น อาหารต้านมะเร็ง  ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีสรรพคุณช่วยในการต้านสารอนุมูลอิสระ และพบว่าสามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับอาหารที่สามารถพบสารเบต้าแคโรทีนได้มากคือ ผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือแดง เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น และยังสามารถพบได้ใน ผักชนิดที่มีสีเขียว เช่น บร็อคโคลี ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น
3. อาหารต้านมะเร็งในรูปวิตามินซี รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง วิตามินซี พบได้ในอาหารต่างๆ เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ และพบได้ในผักสด เช่น กะหล่ำ บร็อกโคลี่ เป็นต้น สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอนุมูลอิสระหรือสารพิษส่วนเกินต่างๆในร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเลือกทานอาหารต้านมะเร็ง การปล่อยให้ตนเองกลายเป็นคนน้ำหนักมากเกิน จนกลายเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งปากมดลูก รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ตนเองเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานปกติ ควรบริโภคอาหารที่ดี มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งเหล่านี้ได้
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นการช่วยป้องกันมะเร็งในทางอ้อม เนื่องจากเมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถป้องกันโรคภัยต่างๆได้รวมทั้งโรคมะเร็งนั้นเอง ดังนั้นควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละ 30 – 45 นาที

อาหารลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง7 ประการ

1. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูง จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ หากทานในปริมาณมากและติดต่อกัน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย ดังนั้นควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารจากการทอด กลุ่มอาหารฟาสต์ประเภทฟู้ดต่างๆ เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารอัลฟาทอกซิน สารอัลฟาทอกซิน เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในอาหารอย่างเช่น ถั่วลิสง พริกป่น ซึ่งอาหารกลุ่มนี้สามารถเกิดเชื้อราได้ง่าย ควรทานแบบระมัดระวังหรือควรนำไปผ่านความร้อนก่อนทานจะดีที่สุด สารอัลฟาทอกซินหากได้รับในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้   

3. หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มที่มีสารก่อมะเร็ง ( อาหารดองเค็ม อาหารปิ้งย่าง รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือไนเตรท ) เนื่องจากอาหารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้

4. หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ลาบเลือด ก้อยปลา ปลาจ่อม เป็นต้น การทานอาหารสุกดิบๆ แบบนี้ นอกจากจะเสียต่อการเกิดโรคท้องร่วง ท้องเสียแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ได้อีกด้วย เพราะอาหารกลุ่มนี้มักจะมีพยาธิ จนอาจเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคตั้งต้นของโรคมะเร็งตับนั้นเอง

5. งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่มีสารประกอบหลายชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง หากสูบบุหรี่หรือได้รับควันพิษในปริมาณมากเป็นเวลานาน ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด และมะเร็งกล่องเสียงได้ นอกจากนี้ การเคี้ยวยาสูบ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ อีกด้วย

6. งดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์ไปทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งในระยะยาวสามารถพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งตับได้ นอกจากนี้หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมกับการสูบบุหรี่ในปริมาณมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆได้มากยิ่งขึ้น เช่น มะเร็งช่องปาก และช่องคอ

7. เลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เนื่องจากการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสัมผัสแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหรือชอบออกกำลังกายกายแจ้งบ่อยๆ ซึ่งรังสีชนิดนี้หากได้รับมากๆ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นจึงไม่ควรตากแสงแดดนานๆ โดยปราศจากการป้องกันอย่างเช่น หมวก แว่นตา เสื้อคลุม เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Food Cancer”. National Cancer Institute. 10 June 2014.

Haefliger, Denise Nardelli; Moskaitis, John E.; Schoenberg, Daniel R.; Wahli, Walter (October 1989). “Amphibian albumins as members of the albumin, alpha-fetoprotein, vitamin D-binding protein multigene family”. Journal of Molecular Evolution.