ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก

0
5751
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาด้วยรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา

มะเร็งในเด็ก

อดีตการรักษามะเร็งในเด็ก ให้หายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 70 เป็นต้นมาได้มีการรักษาผู้ป่วยเด็กด้วยวิธีการรักษาที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูง ซึ่งวิธีการที่นิยมนำ มารักษาโรคมะเร็งในเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ หลังจากที่ทำการรักษาแล้วนอกจากผลกระทบที่เกิดแบบเฉียบพลันแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็ได้รับการศึกษาหลังจากที่ผู้ป่วยเด็กได้ทำการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการรักษาทั้งที่มาจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี และยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากชนิดของโรคด้วย ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยแบ่งตามชนิดของมะเร็งที่ทำการรักษาเป็นหลัก ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว Solid Tumors ชนิดต่างๆ และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึง Secondary Neoplasms ด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ชนิดของมะเร็งในเด็ก

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )

พบว่าในผู้ป่วยเด็กประมาณ 30% จะป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ซึ่ง 60-70 % ของผู้ป่วยสามารถรักษาให้หาย และจาการศึกษาผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รักษาหายและรอดชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบว่าผู้ป่วย 31 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 77 คนมีความผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปนานแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบางส่วนของร่างกายเท่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย จากการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ Lymphoblastic ( Acute Lymphoblastic Leukemia ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ALL แต่จากการผลการศึกษาที่ได้รับมาก็สามารถนำมาอธิบายหรือปรับใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Non- Lymphocytic หรือ ANLL ได้ด้วย ซึ่งความผิดปกติในระยะยาวที่เกิดขึ้น คือ

1.1 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

จากการศึกษาและเฝ้าสังเกตการณ์พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่กการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดทั้งแบบที่ใช้ยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ไม่ส่งผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก ดังนั้นจึงสามารถสรุกได้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กนั้นเกิดขึ้นจากการรักษา ด้วยการฉายรังสี และผลกระทบจะเกิดขึ้นกับบริเวณที่โดนรังสีโดยเฉพาะกระดูกที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตเท่านั้นไม่ใช่เกิดขึ้นกับอวัยวะทุกส่วน รวมถึงการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะต่อ Hypothalamic Pituiary Axis ที่จะส่งผลให้ร่างกายของเด็กเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone หรือไม่ก็ส่งผลต่อการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์ได้ แต่บางครั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยยาที่มี Steroid นานเกินไปหรือการเกิดอาการป่วยชนิดเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อีกด้วยและพบว่าการฉายรังสีแบบ Craniospinal Irradition มีการรายงานผลกระทบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็กที่รอดชีวิตจากการรักษาได้ แต่ว่าความสูงโดยเฉลี่ยที่ลดลงนั้นมีความน้อยมาก และยังพบว่าโรคมะเร็งในเด็กที่มีอายุน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีอายุมาก และผู้ป่วยเด็กเพศหญิงจะได้รับผลกระทบด้านการเจริญเติบโตมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย
แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายคณะ เช่น Kirk, Costin, Blatt, Moell พร้อมทั้งคณะของพวกเขา ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อทำการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะ พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL นั้นส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติของ Growth Hormone เกิดขึ้น ทั้งด้านการสร้างฮอร์โมนที่มีปริมาณน้อย ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อศีรษะได้รับรังสีประมาณ 18-24 Gy และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชายทำให้มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่ช้ากว่าเด็กปกติ
การฉายรังสีแบบ Craniospinal ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อความสูงของท่านั่งของผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผลกระทบจากการฉายรังสีส่งผลต่อกระดูกสันหลัง แต่ว่าผลกระทบแบบนี้จะเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตในส่วนที่มีการฉายรังสีโดยตรง

นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Growth Hormone แล้ว ผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำก็สามารถส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเด็กที่เตี้ยลงของเด็กได้

โดย Robinson กับคณะพบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 7 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Compensated ส่วนอีกร้อยละ3 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Primary

ผลกระทบที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติของผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย Corticosteriod ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน หรือในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคไตและโรคหอบหืดที่ทำการรักษาด้วย Prednisolone ในปริมาณที่น้อยกว่า 3 mg/m²ต่อวัน ถ้ามีการรักษาในระยะเวลาที่น้อยกว่า 6 เดือนผลกระทบด้านการเจริญเติบโตของผู้ป่วยนั้นมีค่าน้อยมาก แต่ถ้าทำการรักษาในระยะเวลาที่นานกว่า 6 เดือนจะพบว่าการเจริญเติบโตของผู้ป่วยมีค่าน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าปริมาณ Corticosteroid ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิด ALL จะมีปริมาณมาก แต่การที่จะใช้ Steroid มารักษาผู้ป่วยติดต่อกันนานเกิน 6 อาทิตย์ก็เป็นไปได้ยาก จึงแสดงว่าผลกระทบด้านการเจริญเติบโตที่เกิดจากการใช้ Corticosteroid ที่นำมารักษานั้นควรจะมีค่าที่น้อยมาก
และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะคือ โรคอ้วน แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนั้นยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด แต่จากสถิติพบว่าผู้ป่วยเด็กจำนวน 21 คนจากทั้งหมด 77 คนที่ทำการศึกษานั้น เป็นโรคอ้วน จึงมีการสันนิฐานว่าการฉายรังสีไปยังศรีษะ รังสีอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลายภายในสมอง ในส่วนของ Hypothalamus ที่ส่งผลให้ร่างกายเป็นโรคอ้วนและมีการเรียนรู้ได้ช้า  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1.2 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางที่เกิดจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะนั้นมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL พบว่าทำให้เกิด Necrotizing Leukoencephalopathy ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาประมาณ 4-12 เดือน อาการนี้จะก่อให้เกิดการถดถอยด้านพัฒนาการ ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง สติสัมปชัญญะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีภาวะเดินเช ชัก หรือบางครั้งเกิดอาการอัมพาตของร่างกายบริเวณส่วนล่าง เกิดสภาวะ Pseudobulbar Paresis หรือการเกิดสภาวะข้างเคียงที่มีความรุนแรงอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือบางครั้งก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเด็กที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจะเป็นเด็กที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะมาก่อนทั้งสิ้น ซึ่งปริมาณที่ได้รับการฉายรังสีจะอยู่ที่มากกว่า 20 Gy และมีการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นลือดดำและทางกระดูกไขสันหลัง ได้มีการทำการวิจัยแล้วพบว่าผู้ป่วย 55% ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นเลือดดำและไขสันหลังร่วมกับการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณศีรษะด้วยรังสี 24 Gy และมีการให้ยาสัปดาห์ละ 40-80 mg/m² ที่จะทำให้เกิดสภาวะ Leukoencephalopathy ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเกิดโรค Leukoencephalopathy ภายหลังจากที่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียการเกิดโรค Leukoencephalopathy จะมีโอกาสน้อยแค่ 0.5-2.0 % เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยังไม่พบวิธีการรักษาโรคนี้ที่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากภาวะข้างต้นที่พบแล้วยังพบ สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีไปยังศีรษะเพื่อป้องกันการรุกลามและแพร่กระจายของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าสู่ระบประสาทส่วนกลาง สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างน้อยไม่รุนแรงเหมือนกับอาการที่กล่าวมาในตอนแรก

จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีจะพบว่าปริมาณรังสีที่จะทำให้เกิดผลกระทบนั้นจะต้องมีปริมาณตั้งแต่ 24 Gyขึ้นไป ดังนั้นถ้าสามารถลดปริมาณรังสีให้น้อยกว่า 24 Gy ค่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจจะมีค่าลดลงตามไปด้วย ซึ่งค่าประมาณรังสีที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติน้อยสุดและสามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้หายได้จะอยู่ที่ประมาณ 18 Gy และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดในการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจาย พบว่าผู้ที่ได้รับการฉายรังสีจะมีคะแนนเกี่ยวกับความจำที่ไม่ดีเท่ากับกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดด้วย

1.3 ผลกระทบต่อการทำงานของต่อมเพศ

ผู้ป่วยเด็กชายที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จะมีการเจริญเติบโตอย่างปกติ และยังสามารถมีลูกได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป จากผลการสังเกตดังกล่าวทำให้มีความเชื่อว่าการรักษาโรคมะเร็งด้วยการให้เคมีบำบัดในกลุ่ม Alkylating Agent นั้นไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับอัณฑะ ต่อมา Blatt กับคณะได้ทำการศึกษาผู้ป่วยชายที่ทำการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จำนวน 14 คนด้วยกัน โดยผู้ป่วย 9 คนเป็นเด็กชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยหนุ่ม ผู้ป่วย 4 คนเป็นผู้ชายที่อยู่ในวัยหนุ่ม และผู้ป่วย 1 คนอยู่ในวัยที่มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว ทำการรักษาผู้ป่วยด้วยให้เคมีบำบัดหลาชนิดเข้าด้วยกัน ( Prednisolone Vincristine Methotrexate กับ 6-Mercaptopurine ) ทำการรักษาและเฝ้าติดตามอยู่ประมาณ 5 ปีครึ่ง พบว่าผู้ป่วยทุกคนมีลูกอัณฑะที่สามารถทำงานได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งพิจารณาจาก tanner staging ร่วมกับระดับของ Gonadotropin กับประมาณระดับของ Testosterone Range จึงสรุปได้ว่าการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยไม่ส่งผลต่อการทำงานและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับต่อมเพศ

แต่ทว่าการฉายรังสีกลับให้ผลในทางตรงกันข้าม โดยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีที่ความเข้มข้น 18-24 Gy ที่บริเวณลูกอัณฑะในการรักษา Testticular Leukemia จากการรักษาจะส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นหมันชนิดถาวร ทั้งที่ระดับ Testtosterone ยังอยู่ในระดับปกติ ซึ่งระดับของ Luteinizing Hormone ( LH ) กับ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) อาจจะมีค่าคงที่หรือสูงขึ้นได้ และจากการศึกษาของ Brauner, Shalet พร้อมทั้งคณะของพวกเขาพบว่า เมื่อทำการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 24 Gy เข้าสู่บริเวณลูกอัณฑะทั้งสองข้างของผู้ป่วยเด็กชาย 12 คน ผู้ป่วยเด็กชาย 10 คนจะส่งผลให้ Leyding Cell ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งดูได้จากอาการตอบสนองที่มีเต็มที่ของ Plasma testosterone ที่ส่งผลต่อ Human Chorionic Gonadotrophin หรือการที่ส่งผลต่อ Basal LH ที่มีค่าเพิ่มขึ้น และยังพบอีกว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีอยู่หลายอย่างมาก และการหลั่งของ Gonadotropin จะมีเกิด พร้อมกับความเสียหายของลูกอัณฑะของเด็กผู้ชายที่เข้ารับการรักษาถึง 9 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 11 คนที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ส่วนของลูกอัณฑะ ซึ่งสามารถทำการรักษาได้ด้วยการให้ Androgen เข้าไปทดแทนส่วนที่ขาดหายไป [adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับเด็กผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าไม่มีความผิดปกติต่อการเจริญทางเพศของเด็กพวกนั้นแม้แต่น้อย ผู้ป่วยทุกคนเมื่อโตสามารถมีบุตรที่มีลักษณะปกติดีทุกประการ ซึ่งจากการสังเกตยังบอกได้อีกว่าเด็กผู้หญิงที่ป่วยและทำการรักษาก่อนที่จะเข้าสู่วัยสาวเต็มตัวจะมีความเปลี่ยนแปลงด้านการเจริญเติบโตที่น้อยมากจนถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้น แต่ว่าถ้าเด็กผู้หญิงทำการรักษาโรคมะเร็งเมื่อเข้าสู่วัยสามเต็มตัวหรือมีการรักษาหลังจากที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว พบว่าเด็กผู้หญิงจะมีความผิดปกติของการทำงานใน Hypothalamus และยังสามารถพบการทำงานที่มีความผิดปกติแบบ Primary เกิดขึ้นที่รังไข่ได้อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ไม่ถึงครึ่งของผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติ และยังพบว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิด Cyclophosphamind ในการรักษาจะส่งผลให้การทำงานของรังไข่มีความผิดปกติเกิดขึ้นสูงมาก
นอกจากผลจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังที่ในการรักษาโดนตรงแล้ว การฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางก็ส่งผลต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเพศด้วยเช่นกัน โดยพบว่าเด็กผู้หญิงที่ได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ศีรษะจะมีประจำเดือนช้ากว่าคนปกติและการงานของต่อมเพศของผู้หญิงก็อาจจะเกิดความล้มเหลวได้ด้วย หรือบางครั้งก็ส่งผลในทางตรงกันข้ามคือเข้าไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ ซึ่งสันนิฐานว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารังสีเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อม Hypothalamus ที่ผิดปกติจนส่งผลให้เกิดสภาวะ Hypothalamic Pituitary Gonadal Axis นั่นเอง

1.4 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบส่วนอื่น ๆ

ระบบส่วนอื่น ๆที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ เลนส์ตา ฟัน กระดูกและตับ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.4.1 ดวงตา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่พบได้บ่อย คือ การเกิดต้อกระจก ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการใช้ Steroid จะทำให้เกิดต้อกระจกแบบ Subcapsular อัตราการเกิดต้อกระจกแบบนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณ Steriod และระยะเวลาที่ได้รับด้วย หรือการเกิดต้อกระจกเนื่องจากการฉายรังสีเข้าไปกระทบเลนส์ที่ในดวงตาซึ่งจะเมื่อเลนส์ได้รับรังสี cranial Irradiation มีความเข้มข้นระหว่าง 4-20 Gy ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายจึงไม่ค่อยมีผลข้างเคียงที่เกิดเป็นต้อกระจกเท่าใดนัก

1.4.2 ฟัน
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 18-24 Gy ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าผู้ป่วยประมาณ 40% และการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดไม่ว่าจะเป็นการรักษาทั้งสองวิธีพร้อมกันหรือรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ส่งผลให้รากฟันและครอบฟันกรามมีลักษณะที่สั้นลงและบางลง ซึ่งการที่รากฟันและครอบฟันสั้นลงจะทำให้ฟันมีอายุที่น้อยลงตามไปด้วย

1.4.3 กระดูก
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่ทำการรักษาด้วยการใช้ Corticosteroid หรือใช้ยา Methotrexate จะส่งผลให้เกิดสภาวะ Skeletal Undermineralization ที่ทำให้กระดูกมีความเปราะบางจึงแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ

1.4.4 ตับ
ผลข้างเคียงต่อตับที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการรักษาด้วยยา Methotrexate หรือยา 6-Mercaptopurine ถึงแม้ว่าอาการที่แสดงในตอนแรกที่ทำการรักษาจะไม่เด่นชัดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ทว่าหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้ว ประมาณ 10-40% ของผู้ป่วย พบว่าฤทธิ์ของยาจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่อยู่ภายในตับจนเกิดความเสียหายจนกลายเป็นพังผืดหรือโรคตับแข็ง และถ้ามีการให้ยาเคมีบำบัดเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลให้ท่อน้ำดีเกิดการอุดตันเป็นเหตุให้เซลล์ที่อยู่ภายในตับตายได้ ส่งผลให้ค่า Serum Bilirubin Transaminases มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตับไม่ใช่ผลกระทบชนิดเรื้อรังเพราะว่าอาการบางอย่างสามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติหลังจากที่ทำการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเสร็จแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายก็พบว่ายังมีอาการโรคตับเรื้อรังเกิดขึ้นซึ่งมีค่าน้อยมากประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเท่านั้น

2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Hodgkin’s Diseaseและ Non-Hodgkin’s Lymphoma ซึ่งเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้พบได้เพียงแค่ 15% ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังที่มาจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้มากและมีความสำคัญ คือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.1 สภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ( Overwhelming Bacterial Infection )

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีการตัดม้ามออก ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะ Spontaneous Sepsis ซึ่งสภาวะเป็นภาวะเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงมากสำหรับตัวผุ้ป่วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 จะเสียชีวิตเนื่องจากมีการติดเชื้อที่รุนแรงจากการตัดม้าม ซึ่งการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อจะเกิดขึ้นมากในช่วง 1-2 ปีแรกหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการตัดม้ามออก แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่มีอายุยืนยาวกว่า 12 ปีจึงเกิดภาวะติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 40 Gy เข้าสู่พบว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกับผลที่เกิดขึ้นเมื่อตัดม้ามออกคือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรงได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการแก้ไขด้วยการลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษาให้น้อยลงกว่า 20 Gy และมีการให้ยาก Penicilin เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยก็สามารถช่วยลดการติดเชื้อชนิดรุนแรงเนื่องจากการถูกตัดม้ามหรือม้ามสูญเสียการทำงานได้บางส่วน

2.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศ

จากการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของต่อมเพศในผู้ป่วยที่เข้ารับการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มแรกที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้ยาเคมีบำบัดในกลุ่ม MOPP (Mechlorethamine/Vincristine/Procabazine/Prednisine) พร้อมกับ MOPP Analoguse มีความผิดปกติของการทำงานของกลุ่มเพศเกิดขึ้น โดยในเด็กชายจะสามารถกลับมามีบุตรภายหลังที่ทำการรักษาไปแล้วอย่างน้อย 8 ปี ซึ่งต่างจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการให้ยาในกลุ่ม ABVD (Doxorubicin/Blemycin/Vinblastine/Dacarbazine) ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อมการทำงานของต่อมเพศ
ในการฉายรังสีเข้าสู่ลูกอัณฑะพบว่าการฉายรังสีแบบ Inverted Y-field ส่งผลให้มีการเกิด Oligospermia หรือเกิด Azoospermia ซึ่งลักษณะที่เกิดขึ้นมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ แต่ว่าแบบถาวรนั้นมีโอกาสที่พบได้น้อยมาก ซึ่งจำนวนสเปิร์มที่ลดลงจะสามารถกลับเข้าสู่ปกติหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 26 เดือน ซึ่งประมาณ 40% จะมีปริมาณสเปิร์มน้อยต่อไปจนกระทั้งโตเป็นหนุ่ม

สำหรับในวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตทางเพศเต็มที่แล้ว พบว่าถ้ามีการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานแล้ว โอกาสที่ Spermatogenic และ Fertility ที่จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมจะมีโอกาสที่น้อยมากหรือบางในผู้ป่วยบางคนจะไม่กลับมาเป็นปกติเลย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอัณฑะของเด็กผู้ชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธจะมีความว่องไวต่อ Cytotoxic Effects ของ Alkylating Agent น้อยกว่าในผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วนั่นเอง และเมื่อทำการตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิของผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยหนุ่มหรือเลยวัยหนุ่มมาแล้วหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดเป็นเวลาตั้งแต่ 4 ปีจนถึง 11 ปี พบว่าน้ำอสุจิมีภาวะ Azoospermia อย่างสูงสุด
สำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองHodgkin’s Disease ด้วยการให้เคมบำบัดและการฉายรังสี พบว่ารังไข่ของเด็กผู้หญิงจะมีการทำงานที่ลดลง และผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปรังไข่จะมีความว่องไวต่อรังสีสูงกว่ารังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้เคมีบำบัดที่บริเวณอุ้มเชิงกรานจะส่งผลให้รังไขทำงานผิดปกติมากกว่าผู้หญิงที่รักษาด้วยการฉายรังสีหรือการให้เคมีบำบัดเพียงชนิดเดียว
ส่วนในเด็กผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีที่เข้ารับการรักษา Hodgkin’s Disease ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหรือบริเวณอุ้มเชิงกรานโดยมีการ Midline Overian Blacking กลับพบว่าความสามารถในการทำงานของรังไข่นั้นเป็นปกติเหมือนคนที่ไม่เคยผ่านการรักษามาก่อน และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดชนิด MOPP ส่งผลให้ผู้ป่วยประมาณ 25-65 %ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันอย่างยาวนาน โดยผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี จะมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบเช่นนี้มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และเมื่อทำการศึกษาในผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดก็ได้ผลเช่นเดียวกับการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว นั่นคือ ผู้หญิงที่มีอายุมากจะมีโอกาสที่จะไม่มีประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยที่เข้ารับการรักษาแบบเดียวกัน แสดงว่าอายุของผู้ที่เข้ายิ่งมีอายุน้อยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาจะมีค่าน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของรังไข่ก็จะยิ่งน้อยลงหรือแทบจะไม่เกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยเลยแม้แต่น้อย

2.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจ

การรักษา Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด พบว่าการฉายรังสีจะมีรังสีเข้าสู่หัวใจในบางส่วน และยาเคมีบำบัดที่ใช้จะมีส่วนผสมของยา Anthracycline ยาชนิดนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษต่อหัวใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดเป็นอาการแทรกซ้อนเมื่อทำการฉายรังสีทีเกิดขึ้นกับหัวใจ มีดังนี้

2.3.1 โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โดยเฉพาะโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 30 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีปริมาณ 35 Gy เข้าสู่ส่วน Mediastinum พบว่าจะมีอาการเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มีการพยายามหาทางแก้ไขด้วยการลดปริมาณของรังสีที่ใช้ในการฉายเพื่อรักษาและทำการ Subcarinal Blocking แล้วพบว่า การเกิดอาการแทรกซ้อนมีค่าลดลงเพียงแค่ 2-3 % เท่านั้น
และอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จแล้วหลายปี ซึ่งบางครั้งอาการอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดนัก โดยอาการจะเริ่มตั้งแต่การมีน้ำในช่องเยื้อหุ้มหัวใจส่งผลให้กัวจเกิดการบีบตัวที่รุนแรง ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามจนถึงชีวิตได้

2.3.2 หลอดเลือดแดงบาดเจ็บ
การที่หลอดเลือดแดงเกิดอาการบาดเจ็บหลังจากที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสี สามารถพบได้แต่ก็ไม่บ่อยนัก ซึ่งเมื่อเกิดอการดังกล่าวแล้วอาจจะพัฒนาไปเป็นโรคหลอดเลือกหัวใจในอนาคตได้ อาการแทรกซ้อนที่ทำให้หลอดเลือกหัวใจบาดเจ็บจะส่งผลในระยะยาวกับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดและโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษาจะพบว่าเมื่อทำการรักษาจนมีอายุ 18-25 ปีจะมีอัตราเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ จะเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจมีความอันตรายค่อนข้างสูง จึงพยายามที่จะหาทางลดอาการแทรกซ้อนด้วยการฉายรังสีให้มีปริมาณต่ำประมาณ 20 Gy เข้าสู่บริเวณ Mediastium และทำการเปลี่ยนยาเคมีบำบัดมาเป็นแบบ MOPP / ABVD แทนยา Anthracycline ซึ่งค่า Median Cumulative Dose ของ Doxorubicin ควรอยู่ที่ 176 mg/m² ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานต่อมไทรอยด์

การรักษาด้วยการฉายรังสีไปที่ลำคอพบว่าสามารถส่งผลให้ต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานที่ผิดปกติ โยมีต่อมไทรอยด์จะทำงานน้อยลงหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณลำคอแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลให้ต่อไทรอยด์ทำงานน้อยลง คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับมีค่าสูงนั่นเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุน้อยจะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์สูงกว่า ซึ่งถ้าได้รับปริมาณรังสีต่ำกว่า 26 Gy ผู้ป่วยเด็ก 17 % ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 26 GY จะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติมากถึง 78 % เลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน -6 ปี ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน

2.5 ผลกระทบที่เกิดต่อการทำงานของปอด

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ก็ต่อเมื่อมีการฉายรังสีไปยังบริเวณ Mediastinum หรือบริเวณเนื้อเยื่อปอดทุกส่วน ซึ่งการรักษาอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก้ปอดทำให้ปอดอักเสบ หายใจติดขัด มีอาการไอ หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเมื่อทำการ เอกซเรย์ทรวงองจะแสดงให้เห็นว่า Mediastinum มีความกว้างมากขึ้นแบะยังแสดง Shaggy Border ในส่วนที่อยู่รอบ ๆ Mediastinum อีกด้วย โดยอาการปอดอักเสบจะมีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับรังสีที่ปริมาณ 35-45 Gy ที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย นอกจากอาการปอดอักเสบอาการแทรกซ้อนที่พบได้ก็คือ ภาวะมีน้ำเกิดขึ้นในช่องปอดชนิดเรื้อรัง หรือการเกิดพังผืดที่ส่วนของ Aqical ชนิดที่ไม่มีอาการแสดงออกมาและเกิด พังผืดแบบ Paramediastinal ได้อีกด้วย ส่วนการให้เคมีบำบัดจะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบนี้ก็ต่อเมื่อมีการให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน โดยเฉพาะยา Bleomycin ที่จะส่งผลให้ปอดมีความยืดหยุ่นน้อยลง แต่ถ้าลดปริมาณยาให้เหลือน้อยกว่า 200 unit/m2 ก็จะสามารถลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ และอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดคือ การติดเชื้อชนิดรุนแรงที่ปอด ซึ่งถ้ามีอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

3. โรคมะเร็งชนิดอื่น ( Other Solid Tumors ) 

Solid Tumors สามารถพบได้ในเด็กประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่ง Solid Tumors ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Rhabomysarcoma Osteogenic Sarcoma Ewing’s Sarcoma Wilm’sTumors และ Neuroblastoma ซึ่ง Solid Tumors เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถทำการสรุปได้ว่าเกิดขึ้นจากการผ่าตัด จากการฉายรงสีหรือการให้เคมีบำบัด และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษา Solid Tumors มีดังนี้

3.1 ผลกระทบต่อการเกิดขึ้นกับปอด

การรักษา Wilms’tumors ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดพบว่า ผู้ป่วยมีสภาวะล้มเหลวในการทำงานของกกระบวนการ Alveolar Multiplication ส่งผลให้ปอดมีปริมาตรลดลง ผนังทรวงอกมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ส่งผลให้เกิดภาวะตีบตันของทางเดินหายใจได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้น้อยเพียง 2 จาก 15 คนของผู้ป่วยทั้งหมด

3.2 ผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ

การรักษา Solid Tumors จะมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยพบว่าผู้ที่ได้รับยาที่มีปริมาณน้อยกว่า 550 mg/m2 จะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาในปริมาณมากกว่า 600 mg/m2 และจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่ม Anthracyline ในการรักษาร่วมด้วย วิธีการให้ยาก็มีผลต่ออาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นด้วยพบว่าถ้าให้ยาในแบบ Continuous Infusion จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
การประเมินอาการแทรกซ้อนสามารถทำได้หลายวิธีเช่น Radionuclide Angiography การประเมินการบีบตัวของหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงที่สะท้อนของหัวใจหรือการตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจว่ามีอาการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่
และถ้าทำการตรวจว่าผู้ป่วยมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบหยุดการให้ยาเคมีบำบัดกับผู้ป่วยในทันที

3.3 ผลกระทบต่อการทำงานของไต

การรักษา Solid Tumors ที่ไตมักจะทำการรักษาด้วยการตัดเอาไส้ที่ไตออกไป พบว่าหลังจากที่ทำการรักษาผ่านไป 3 ปี ตาส่วนที่เหลืออีกข้างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการศึกษาที่ดูจาก Serum Creatinine และ Creatinine Clearance ด้วยการติดตามผลถึง 23 ปี พบว่ามีการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ และมีสภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเพศชาย และการฉายรังสีปริมาณมากกว่า 23 Gy ไปยังบริเวณอุ้มเชิงกรานกับบริเวณท้องของผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนส่งผลให้ไตอักเสบได้ และการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาในผู้ป่วยเด็กจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และจะมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถลดความรุนแรงด้วยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อน ในขณะที่ให้ยาเคมีบำบัดและหลังการให้ยาเคมีบำบัด

3.4 ผลกระทบต่อบริเวณศีรษะและคอ

ผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กที่เข้ารับการรักษา sarcoma ของส่วนเนื้อเยื่ออ่อนของสมองและคอ ด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจะสร้างผลกระทบต่อร่างกายดังนี้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

3.4.1 ตา
เมื่อมีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาได้รับรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 6 เดือนจนกระทั้งถึง 35 ปีหลับจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่เบ้าตาในประมาณที่น้อยกว่า 40 Gy จะส่งผลให้เยื่อบุตาเกิดการอักเสบชนิดรุนแรงและถ้าได้รับรังสีมากกว่า 57 Gy จะส่งผลให้ตามองไม่เห็นภายใน 1 ปีหลังจากที่ได้รับการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีที่มีปริมาณ 28 Gy จะทำให้เกิดสภาวะตาแห้ง

3.4.2 การได้ยิน
อาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับการได้ยินเป็นปัญหาที่พบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับอาการแทรกซ้อนชนิดอื่น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับการได้ยิน จะเกิดจากการฉายรังสีปริมาณ 40-60 Gy เข้าสู่บริเวณหูชั้นกลางจะส่งผลให้เกิดน้ำในหูชั้นกลางชนิดเฉียบพลันขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะหายได้เองในภายหลังและจะไม่ส่งผลให้การได้ยินสูญเสียไป แต่ก็จะมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่จะสูญเสียอาการได้ยินหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี
แต่สำหรับการให้เคมีบำบัดพบวายา Cisplatin ที่จะมีความเป็นพิษต่อหูมากซึ่งการให้ยานี้ในปริมาณที่สูงกว่า600 mg/m2 พบว่าผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงทุกคน

3.4.3 ความเสียหายต่อฟัน
เมื่อมีการฉายรังสีที่ปริมาณ 4 Gy เข้าสู่ฟันที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ส่งผลให้ฟันมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ มีรากฟันที่สั้นลงและครอบฟันที่บางลง และอายุของฟันก็มีอายุสั้นลงด้วยทำให้ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีจะต้องทำการดูแลฟันเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันก่อนเวลา นั่นแสดงว่าความเสียหายต่อฟันจะเกิดขึ้นเมื่อทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือผู้ป่วยที่ฟันมีการพัฒนายังไม่เต็มที่นั่นเอง

3.4.4 ความเสียหายต่อต่อมน้ำลาย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีปริมาณ 45 Gy จะพบว่าผู้ป่วยจะมีน้ำลายที่มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น น้ำลายเหนี่ยวขึ้น หรือน้ำลายมีลักษณะที่ใสขึ้น เป็นต้น

3.4.5 ความเสียหายต่อ Growth hormone
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีปริมาณ 44 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Incidental เข้าสู่บริเวณ Hypothalamic Pituitary Gland พบว่าผู้ป่วยเด็กร้อยละ 61 มีความสูงลดลงเนื่องจากการทำงานของต่อมไทโอทาลามัสมีความผิดปกติ ส่งผลให้มีการสร้าง Growth Hormone ลดลงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะส่งผลให้กับผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาประมาณ 6 ปี

3.4.6 ความเสียหายต่อกระดูกใบหน้า
เมื่อมีการฉายรังสีปริมาณ 40 Gy เข้าสู่บริเวณเบ้าตาเพื่อรักษา Rhabdomyosarcoma พบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาส่งผลให้เนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเบ้าตามีความพิการผิดรูปเกิดขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้ายังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 9 ปี และอาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ต่อเมื่อได้รับปริมาณรังสีเกิน 50 Gy
ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดว่ามีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนใดที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง เพื่อลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

3.5 ผกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการรักษามะเร็งในเด็ก

ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือยังอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ช่องท้องเพื่อทำการรักษามะเร็ง พบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกสันหลังคดงอหรือมีอาการหลังค่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับรังสีปริมาณ 32 Gy และทำการฉายแสงด้วยเครื่อง Orthovoltage ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาแล้วประมาณ 12-13 ปี นอกจากนั้นความผิดปกติของกระดูกอาจจะเกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีปริมาณ 30 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Orthovoltage และการฉายรังสีแบบที่ไม่สมมาตรก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งด้วย
ความถี่ในการเกิดเลื่อนของ Epiphysis ของส่วน Femoral Head จะมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยเด็กได้รับการฉายรังสีเจ้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานพร้อมกับการให้เคมีบำบัด พบว่าเซลล์ที่มีความว่องไวต่อการรักษาจะหลัดจรการเลี้ยงเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่มีความทนทานต่อความกดดันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นในการรักษาต้องทำการตรวจอุ้มเชิงกรานก่อนที่จะทำการรักษาว่าสามารถทนต่อการรักษาได้หรือไม่เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

4. มะเร็งในเด็กที่เกิดขึ้นในระบบประสาทส่วนกลาง

ผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งในสมองจะพบได้ประมาณร้อยละ 20 และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะรอดชีวิต ซึ่งการรักษามะเร็งที่ส่วนของสมองจะรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งการรักษาย่อมมีผลกระทบต่อผู้ ป่วยเกิดขึ้นด้วย ซึ่งผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษามะเร็งสมอง คือ

4.1 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อ

4.1.1 การทำงานต่อมไฮโปทาลามัส
การรักษามะเร็งที่สมองด้วยการฉายรังสีจะส่งผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อที่อยู่ในสมองส่งผลให้เกิดสภาวะขาดแคลน Growth Hormone ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่มีต้นเหตุมาจากาการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัสที่มีหน้าที่ในการสร้าง Growth Hormone นั่นเอง ซึ่งถ้าร่างกายได้รับรังสีในปริมาณ 36-60 Gy สู่ส่วนขอสมองทั้งหมดหรือ 46-54 Gy ที่ส่วนของ Posterior Fossa จะส่งผลให้ร่างกายทำการผลิต Growth Hormone มีความผิดปกติ ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone นี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตมากกว่าผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  [adinserter name=”มะเร็ง”]

4.1.2 การทำงานของต่อมเพศ
การทำงานของต่อมเพศพบว่าถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองจะส่งผลน้อยมากต่อการทำงานของต่อมเพศ ต่างจากผลจากการใช้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งที่สมอง เพราะว่าการใช้เคมีบำบัดส่งผลต่อการพัฒนาของต่อมเพศอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่การพัฒนาของต่อมเพศยังไม่สมบูรณ์เต็มที่จะแสดงผลอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของลูกอัณฑะที่มีขนาดเล็กลง จำนวนอสุจิและคุณภาพของอสุจิก็ลดลงตามได้ด้วย ส่วนในผู้หญิงจะพบว่ารังไข่มีการทำงานที่ผิดปกติส่งผลต่อการมีประจำเดือนที่ขาดหายไม่สม่ำเสมอ

4.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Neurocognitive Function

ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมอง พบว่าหลังจากที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ ความจำและการสั่งงานของสมองต่อการตอบสนองสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัวเป็นอย่างมาก ทำให้มีปัญหาด้านการเรียนการศึกษา กระบวนการคิด การตัดสินใจ มีระดับ IQ ที่ลดลงกว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ในผู้ป่วยเด็กบางคนก็มีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ก้าวร้าว หวาดระแหวง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้มีผลมาจากการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองมากกว่าการให้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
ในผู้ป่วยบางคนที่เข้ารับการรักษาเมื่ออายุแค่ 2-5 ปีมีอัตราเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนกลายเป็นโรคปัญญาอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากการที่มีน้ำคั่งอยู่ในสมองและมีแรงดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้ ทำได้ด้วยการรักษาผู้ป่วยเมื่อมีอายุมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือให้พ้นจากช่วงที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตของสมอง เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีเข้าสู่สมอง

4.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับปอด

การใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Carmustine ( BCNU ) ในปริมาณ 1550 mg / m2 เพื่อทำการรักษาโรคมะเร็งที่สมอง พบว่าจะสร้างผลกระทบต่อปอดหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จประมาณ 2-5 ปี โดยจะส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย และกลายเป็นอาการปอดบวมในที่สุด ในผู้ป่วยบางหลายก็จะเกิดพังผืดที่ในปอดชนิดรุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นการลดอาการแทรกซ้อนที่มีต่อปอดคือการลดปริมาณยา Carmustine ( BCNU ) ที่ใช้ในการรักษาให้เหลือเพียง 1400 mg/m2 และในขณะที่ทำการรักษาต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยว่ามีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น อาการหอบหืด หายใจติดขัด เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นควรดูแลอย่างใกล้ชิดหรือหากจำเป็นให้หยุดการรักษาไว้ก่อน

การเกิดมะเร็ง ทุตติยภูมิ ( Second Malignancy Neoplasms : SMN )

1. ผลกระทบที่เกิดจากพันธุกรรม

ผู้ป่วยเด็กที่เคยได้รับการรักษามะเร็งจนหายไปแล้ว พบว่าสามารถกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกครั้งหรือเรียกว่ามะเร็งทุตติยภูมิ ซึ่งลักษณะของมะเร็งทุตติยภูมิที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นก็จะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษามะเร็งที่เคยใช้ในการรักษาครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทุตติยภูมิคือ

พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีการโครโมโซม 13q14 จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง Retinoblastoma ที่ตาทั้งสองข้าง ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่รักษามะเร็งหายแล้วประมาณ 20 ปี

กลุ่มโรคบางชนิดก็สามารถส่งผลให้เกิด SMN ได้เช่นกัน เช่น Neurofibromatosis หรือ Xeroderma เป็นต้น

2. ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการรักษา

การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วย พบว่าสามารถส่งผลกระทบให้เกิดมะเร็ง SMN ได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวมักเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีในปริมาณต่ำ และSolid Tumors ที่จะเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีในปริมาณสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากทำการรักษาประมาณ 10-15 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาจะได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดมะเร็ง SMN สูงกว่าในผู้ใหญ่ สำหรับการให้เคมีบำบัดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าสามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็ง SMN ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทรงประสิทธิภาพสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่ทว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวก็มีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งร่างกายและสมอง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้การรักษาควรรักษาเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อร่างกายจะได้รับผลกระทบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังน้อยที่สุด และร่างกายก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็จะน้อยลงตามไปด้วย แต่ถึงอย่างไรทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นหลักด้วย

ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่พบว่ามีผลจากการฉายรังสีในผู้ป่วยเด็ก

1.อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท

อาการข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ หรือความเป็นพิษต่อระบบประสาทชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่มีการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดบริเวณศีรษะ ซึ่งอาการเฉียบพลันที่พบได้ คือ

1.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะสภาวะง่วงซึมในเด็ก ( Somnolence Syndrome )
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ สภาวะง่วงซึมหรือที่เรียกว่า Post-Irradiation Syndrome Apathy Syndrome, Late Transient Encephalopathy Syndrome อาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กมีตั้งแต่ ง่วงนอน เซื่องซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ขึ้น และอาจจะมีอาการท้องร่วงเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใน 4-8 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณของศรีษะไปแล้ว และ Druckman ได้ทำการอธิบายอาการดังกล่าวไว้ว่า 3 % ของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณหนังศีรษะเพื่อรักษา Tinea Capitis จะมีอการเหล่านี้เกิดขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีที่ศีรษะและอาการง่วงซึมยังสามารถพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็น Leukemia ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่สมองอีกด้วย ( Prophylaxis Cranial Irradiation ) ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีเพื่อที่จะรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในสมองลำคอและศีรษะอีกด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]
ผลข้างเคียงจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ ที่เกิดขึ้นนี้จะไม่เกี่ยวกับข้องกับเพศ อายุ จำนวนเม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือดหรือ Hepato Sple Nomegaly เลยแม้แต่น้อย นั่นคือผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบนี้ล้วนแต่จะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกันนั่นเอง

1.2 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ จากสภาวะง่วงซึมที่พบได้จากผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอแล้ว ยังมี ผลกระทบ ข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เช่น Tumor Necrosis เป็นต้น ซึ่งอาการนี้ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยเหมือนอาการง่วงซึมแต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อเป็น Prophylaxsis Cranial Irradiation ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ซึ่งความเข้มข้นของรังสีที่ระดับนี้ สามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้ แต่การความเป็นพาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบประสาทของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่คาดคะเนได้ยากมาก เพราะว่าผลกระทบที่มาจากการผ่าตัดก้อนมะเร็งและการที่มีก้อนมะเร็งอยู่ในสมอง ส่งผลให้การแปลผลเป็นสัญญาณและอาการของผลกระทบข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นการยากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ระหว่างการฉายรังสีหรือเพราะก้อนเนื้องอกที่อยู่ในสมอง
ผข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ เมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ความเข้มข้นของรังสีสามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้

2. อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและปอด

การรักษาโรคด้วยการฉายรังสีที่บริเวณปอดมักจะมีอาการแทรกซ้อนที่เรียกว่า ปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ซึ่งอาการจะปรากฏให้เห็นหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคยทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดหลังจากที่มีการฉายรังสีในการรักษาไปแล้ว
ผลข้างเคียง ที่เกิดขึ้นมานี้ควรที่จะได้รับการประเมินสภาพความน่าจะเป็นของผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วยการประเมินการทำงานของปอดเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงการ Carbon Monoxide Diffusion Studies ซึ่งการรักษาด้วย Prednisolone จะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีกว่าและมีประโยชน์ที่สูงกว่าถ้ามีการ Interstital Pneumonitis เกิดขึ้นร่วมด้วยในขณะที่ทำการรักษาร่วม และการรักษาด้วย Prednisolone ควรที่จะเริ่มใช้ Prednisolone วันละประมาณ 40-60 mgต่อตารางเมตรของร่างกาย และทำการให้ยากับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วจึงทำการลดปริมาณยาที่ให้ลงทีละน้อย และการให้ออกซิเจนที่ความเข้มข้นสูงอาจจะส่งผลให้ปอดได้รับความเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างรุนแรงหลังจากได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีโดยเฉพาะการรักษาที่ให้ยากลุ่ม Bleomycin จะทำให้ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วยแพทย์และทีมที่ทำการผ่าตัดต้องระวังเป็นอย่างมาก

2.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและลำตัว
การรักษาที่บริเวณผิวหนังอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น Erythema Multiforma, Steven Johnson Sydrome, Toxic Epidermal Necrolysis เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับ การฉายรังสี หรือไม่ก็ตาม แต่อัตราการเกิดขึ้นของอาการแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยมาก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือก่อนที่จะได้รับรังสีหรือหลังจากที่ได้รับรังสีไปแล้ว ซึ่งในการเกิเดปฏิกิริยาที่ผิวหนังนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ให้เคมีบำบัดไปแล้วนานพอประมาณ
ยาเคมีบำบัด Doxorubicin หรือยา 5-fluorouracil และ Hydroxyurea เป็นยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา Radiation Recall ในส่วนพื้นที่ที่เคยได้รับ การฉายรังสี มาแล้วก่อนที่จะได้รับเคมีบำบัด ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัดไปแล้วประมาณ 7-8 วัน
ยาเคมีบำบัด Cytosine Arabinoside ยา Etoposide Melphalan และยา Thiotepa ยาเหล่านี้ไม่ว่าจะใช้เพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกันในการรักษาโดยเคมีบำบัดพบว่าสามารถสร้างปฏิกิริยาที่รุนแรงให้เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะยา Cytosine Arabinoside ที่มีการใช้ในปริมาณที่สูงหรือมีการให้ยาแบบ Methotre แบบ High Dose ซึ่งยาทุกตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ทั้งส่วนที่เป็นผิวหนังและเนื้อเยื่อที่พบได้บ่อยครั้งผู้ป่วยที่ได้รับ Perparative Therapy ในการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย และในกลุ่มที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีร่วมกัน

ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาผู้ป่วยแล้วสามารถเกิดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต้องทำการชี้แจงก่อนที่จะทำการรักษาด้วยว่าจะมีอาการผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในส่วนของบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี ดังนั้นถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องออกไปอยู่กลางแจ้งหรือต้องโดนแสงแดดโดยตรงควรทาครีมกันแดดหรือหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจะเป็นการดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังไหม้ขึ้น เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับ ผลกระทบ จากการรักษาน้อยที่สุด

การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและ การฉายรังสี ในปัจจุบันนี้เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งให้หายและป้องกันการแพร่กระจายได้ดีที่สุด แต่ทว่าในการรักษายังมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีทั้งชนิดที่รุนแรงและชนิดที่ไม่รุนแรง ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนที่จะทำการรักษาเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัวและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งก่อน ในขณะที่ทำการรักษาและหลังจากที่ได้รับการรักษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Screening for Oral Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2004. Archived from the original on 24 October 2010.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.