มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ
มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ หรือเป็นมะเร็งซ้ำ ( Recurrence ) คือ คือการที่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ได้รับการรักษาจนครบหายดีแล้ว แต่ถูกพบว่ามีเซลล์มะเร็งชนิดเดิม ตำแหน่งเดิมหรือบริเวณตำแหน่งใกล้เคียงเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจทาง เซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยาเช่น การตรวจร่างกาย ตรวจทางเอกซเรย์และอาจจะดูด เจาะ หรือตัดบริเวณที่เคยเป็นมะเร็ง ( รอยโรค ) หรือต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาการมะเร็งที่เกิดซ้ำก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือนเลยทีเดียวที่จะตรวจเจอจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง โอกาสรักษาหายมีน้อยการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบบรรเทาอาการหรือประคับประคองพยุงอาการเท่านั้นเอง ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งนี้ในทั่วโลกเป็นจำนวนมากซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายได้ถือว่าโชคดีไม่น้อย แต่ทั้งนี้ผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งแล้วรักษา หายเป็นปกติ ก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งซ้ำได้อีกครั้ง โดยอาจจะเป็นมะเร็งชนิดเดิม หรือ เป็นมะเร็งชนิดใหม่ก็ได้ ซึ่งจะมีข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้
สาเหตุของการเป็นมะเร็งซ้ำ ( Recurrence / Relapse )
- มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำมีปัจจัยที่ทำให้กลับมาเป็นเป็นมะเร็งซ้ำ เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่อยาสารเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเซลล์มะเร็ง ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับ
- การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งออกไม่หมด ทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งซ้ำ หรือมะเร็งชนิดที่2 ( Recurrence ) ได้ค่อนข้างสูง
- ผู้ป่วยไม่ยอมหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ เช่น สูบบุหรี่และดื่มเหล้า จึงมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งซ้ำค่อนข้างสูง ระยะของมะเร็งยิ่งมากขึ้น โอกาสมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำก็มีมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุอื่นๆ ที่บางครั้งแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้
โรคมะเร็งชนิดที่ 2 ( Secondprimary Cancer )
มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำแล้วเป็นชนิดที่ 2 คือ การที่ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งแล้ว และถูกตรวจพบว่ามะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ และมะเร็งชนิดอื่นๆเพิ่มขึ้นมาอีกภายหลัง หรืออาจจะตรวจพบพร้อมกันก็ได้ แต่เป็นมะเร็งคนละชนิดกัน โดยอาจจะเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะหรือรอยโรคเดิมซึ่งในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดโรคมะเร็งชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 และอีกหลายชนิดได้แต่ก็มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก
สาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งชนิดที่ 2
การมีพันธุกรรมที่ผิดปกติบางชนิด ทั้งชนิดที่ถ่ายทอดได้หรือถ่ายทอดไม่ได้จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น หากมีผู้ป่วยหญิงเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ก่อนแล้ว การมีพันธุกรรมที่ผิดปกติบางชนิดก็อาจทำให้หญิงคนดังกล่าวเป็นมะเร็งรังไข่ได้อีกด้วย กลายเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2
การที่มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ มีปัจจัยเสี่ยงเดิมของผู้ป่วย ตัวอย่าง เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งคอหอยในส่วนของกล่องเสียง ซึ่งมีสาเหตุมากจาก การสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้านี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิดที่ 2 อย่างโรคมะเร็งหลอดอาหารได้นั้นเอง ไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ตัวอย่างเช่น ปัจจัยอย่างเหล้าและบุหรี่ ทำให้เป็นสาเหตุโรคมะเร็งโพรงจมูกแต่ผู้ป่วยยังคงดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นปกติเหมือนเดิมไม่ยอมหลีกเลี่ยงก็อาจจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้
มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำมีผลข้างเคียง หรือแทรกซ้อนระยะยาว
กรณีนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการใช้รังสีรักษาหรือใช้เคมีบำบัดเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดที่ 2 ได้โดยมักจะเกิดภายหลังจากครบการรักษาไปแล้ว นาน 10 ปีขึ้นไปและในเด็กจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ใหญ่
การตรวจและวินิจฉัยโรค
มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ คือโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2 วิธีทางการแพทย์ที่จะตรวจสอบ ทำได้เหมือนกัน ดังนี้
- การตรวจร่างกายของผู้ป่วยป้องกันการเป็นมะเร็งซ้ำ
- การตรวจโดยใช้วิธีการเอกซเรย์
- การสอบถามประวัติอาการต่างๆ
- การตรวจเลือดดูหาค่าทูเมอร์มาร์กเกอร์ ซึ่งใช้ได้กับโรคมะเร็งบางชนิดเท่านั้น
- การดูด เจาะ และการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อหรือรอยโรค ไปตรวจทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา
- การตรวจพิเศษอื่นๆ ตามอาการของผู้ป่วยและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นการส่องกล้องตรวจทวารหนัก เมื่อผู้ป่วยอุจจาระเป็นเลือด
มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ มีวิธีการรักษาอย่างไร
สำหรับการรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ( Recurrence ) หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ก็จะใช้วิธีการรักษาของโรคมะเร็งตามปกติ แล้วแต่อาการหรือแล้วแต่ชนิดของมะเร็งที่พบเช่นการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด การใช้ยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ การใช้รังสีรักษาเป็นต้น ส่วนการที่แพทย์จะเลือกวิธีใดรักษานั้นก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งระยะของโรค อายุของผู้ป่วย การลุกลามของโรค ผลจากการรักษาและผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากวิธีการเดิมที่เคยรักษามาแล้ว
นอกจากนี้ยังมีมะเร็งบางชนิดที่ต้องใช้การรักษาเฉพาะด้าน เช่น กรณีป่วยเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) แพทย์อาจจะต้องใช้การปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์ หรือใช้ยารักษาแบบตรงชนิดเฉพาะ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาจากแพทย์จนครบแล้ว ทางแพทย์ก็ยังคงต้องนัดผู้ป่วยมาตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการตรวจติดตามผลการรักษา และป้องกันการเป็นมะเร็งซ้ำนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งนอกจากจะอันตราย รักษาได้ยากแล้ว ยังสามารถกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกได้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นชนิดเดิมหรือชนิดใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ตัวเราจะสามารถทำได้และเป็นการป้องกันการเกิด มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ( Recurrence ) หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้ดีที่สุดคือ รักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆอันที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในรูปแบบต่างๆ ส่วนผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งแล้วสามารถรักษาจนหายเป็นปกติ ก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองเหมือนเดิม คงไม่มีผู้ป่วยรายใดที่อยากจะกลับไปเป็นโรคร้ายนี้อีก เพราะนอกจากจะทรมานทางร่างกายและจิตใจแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะโชคดีรักษาให้หายเหมือนครั้งก่อนๆได้หรือไม่นั้นเอง
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.
Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.