การตรวจของเหลวในไขสันหลัง (CSF)
การตรวจโปรตีนในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์เพื่อหาโปรตีนที่ปะปนอยู่กับของเหลวในไขสันหลัง

ของเหลวในไขสันหลัง

หลายคนคงอาจเคยได้ยินแพทย์พูดกับคนไข้ว่า ” ขอตรวจของเหลวในไขสันหลัง ” ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าสิ่งที่แพทย์พูดสิ่งนี้หมายถึงอะไร และก็คงมีคำถามขึ้นในใจต่ออีกว่า จะตรวจ ของเหลวในไขสันหลัง Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ต้องทำอย่างไร ทำแล้วจะเจ็บไหม และทำไปเพื่ออะไร? จะขออธิบายเรื่องการตรวจของเหลวในไขสันหลัง ดังต่อไปนี้

น้ำไขสันหลัง มีความสำคัญอย่างไร ?

น้ำไขสันหลัง Cerebrospinal Fluid หรือ CSF มีความสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์คือ

  • เป็นเหมือนตัวช่วยสร้างความยืดหยุ่น รับแรงกระแทกหรือแรงสะเทือนต่อไขสันหลังและสมอง
  • เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสารอาหาร
  • เป็นเส้นทางในกระบวนการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

การตรวจของเหลวในไขสันหลัง หมายถึงอะไร ?

เป็นวิธีการตรวจในทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง โดยแพทย์จะใช้เข็มที่ออกแบบมาเฉพาะทิ่มเข้าไปบริเวณช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองหรือบริเวณบั้นเอว ( Lumbar ) เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังออกมาและนำไปตรวจวินิจฉัยโรคต่อไปโดยก่อนการตรวจ Cerebrospinal Fluid ( CSF ) นั้น ทางแพทย์จะฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่บริเวณกระดูกสันหลังให้ผู้ที่ต้องการรับการตรวจก่อนเสมอ

Cerebrospinal Fluid ( CSF ) 
Cerebro สมอง
Spinal ลำกระดูกสันหลัง
Fluid ของเหลว

ของเหลวในไขสันหลัง คือ ของเหลวคล้ายน้ำในร่างกายชนิดหนึ่ง ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทภายในลำกระดูกสันหลังตั้งแต่สมองลงมาหรือเข้าใจกันในคำว่า “ น้ำไขสันหลัง ”

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ที่ผิดปกติ

แต่หากตรวจออกมาแล้วพบว่า CSF มีความผิดปกติ เช่น ปรากฏเป็นสีน้ำตาล สีชมพู สีเหลือง ก็อาจหมายถึงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือ มีสิ่งแปลกปลอมหลุดปะปนเข้าไปในร่างกาย เช่น บิลิรูบิน เฮโมโกลบิน เม็ดเลือดแดง หรือสารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถพบความผิดปกติที่เกิดได้บ่อยๆ จากการตรวจ CSF คือ

ลักษณะของน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid CSF ) ที่ผิดปกติ

อาจมีน้ำตาลกลูโคสที่มากผิดปกติ
อาจมีโปรตีน
อาจมีแล็กเตต ( Lactate )
อาจมีเอนไซม์ LDH
อาจมีเซลล์เม็ดเลือด เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ มากพอให้นับจำนวนได้
อาจพบเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือแม้แต่เซลล์มะเร็ง

ของเหลวในไขสันหลัง หรือการตรวจน้ำไขสันหลัง คืออะไร ?

ของเหลวในไขสันหลัง คือ ของเหลวคล้ายน้ำในร่างกายชนิดหนึ่ง ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทภายในลำกระดูกสันหลังตั้งแต่สมองลงมาหรือเข้าใจกันในคำว่า “ น้ำไขสันหลัง ” จะอยู่ในช่องเสมือนคลองของไขสันหลัง ( Spinalcanal ) ซึ่งอยู่ตรงกลางสุดของไขสันหลังมีหน้าที่คอยปกป้องและหล่อเลี้ยงเส้นประสาท ตลอดลำกระดูกสันหลัง ( Spinalcord ) ตั้งแต่ก้านมันสมอง ผ่านลำคอ ผ่านกลางแผ่นหลัง ลงไปจนถึงก้นกบ   

น้ำไขสันหลัง มีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า  “ Cerebrospinal Fluid ” เรียกแบบย่อได้ว่า CSF น้ำไขสันหลัง ( CSF ) เกิดขึ้นได้อย่างไรน้ำไขสันหลัง หรือ Cerebrospinal Fluid ( CSF ) สามารถผลิตขึ้นได้เองจากในร่างกายของมนุษย์ โดยใช้ พลาสมาที่เป็นของเหลวในเลือดเป็นวัตถุดิบในการสร้าง  จึงทำให้  CSF จะมีสารละลายต่างๆจากเลือด เช่น Glucose Chloride ปะปนอยู่ด้วยเสมอ

นอกจากนี้การตรวจ CSF สามารถเรียกชื่อเต็มได้อีกรูปแบบว่า Lumbar Puncture Cerebrospinal Fluid Examination หรือ การตรวจค่า LP ซึ่งมีความหมายว่า การตรวจของเหลวภายในกระดูกสันหลัง โดยวิธีเจาะผ่านช่องกระดูกสันหลังวัตถุประสงค์ในการเจาะเอา CSF ออกมาตรวจ โดยปกติแล้ว การวินิจฉัยโรคจากแพทย์ มักจะใช้วิธีตามมาตรฐานทั่วไป อย่างเช่น  การซักถามอาการ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การเอกเซย์ การตรวจ MRI แล้วมีเหตุผลอะไรบ้างที่แพทย์ถึงจำเป็นจะต้องตรวจโดยใช้ผลการตรวจจากค่า CSF สามารถสรุปได้ดังนี้

ทำไมต้องตรวจ Cerebrospinal Fluid ( CSF )

1. เพื่อตรวจความผิดปกติหรือโรคของระบบประสาททั้งปวง เช่น สภาวะโรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) สภาวะเลือดออกในสมอง ( Cerebral Hemorrhage ) โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningitis ) ฯลฯ

2. เพื่อตรวจสภาวะการติดเชื้อ เช่น โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง ( Neurosyphilis ) โรครับเชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์ ( Sexually Transmitted Bacterial Disease )

3. เพื่อตรวจความเสียหายของสมองหรือไขสันหลัง เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง

4. เพื่อตรวจการลุกลามของโรคมะเร็งที่อาจผลักให้เซลล์หลุดลอดเข้าสู่ Cerebrospinal Fluid ( CSF )

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ที่ปกติ

ลักษณะของน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid CSF ) ที่ปกติดี

ไม่มีสี
มีความใส
ไม่ขุ่นมัว
ไม่มีตะกอน
มีความดันเพียงเล็กน้อยไม่เกิน 20 เซนติเมตร เทียบเท่าระดับความสูงของน้ำ

ค่าที่สำคัญในการตรวจของเหลวในไขสันหลัง

ความผิดปกติต่างๆ ที่พบจากการตรวจ CSF นี้ ทางแพทย์จะต้องวินิจฉัยหาถึงสาเหตุดังกล่าวนี้ เพื่อทำการรักษาต่อไป ในการตรวจของเหลวในไขสันหลัง มีค่าที่สำคัญที่ต้องตรวจ ดังต่อไปนี้

CSF Protein คืออะไร ?

การตรวจค่า CSF Protein หรือ การตรวจโปรตีนในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์ในการตรวจ คือ เพื่อจะได้ทราบว่าค่าโปรตีนในน้ำไขสันหลังหรือโปรตีนที่ปะปนอยู่กับของเหลวในไขสันหลังนั้น มีระดับโปรตีนมากน้อยเพียงใด หรือมีความผิดปกติอย่างไร โดยปกติแล้วโปรตีนในเลือดไม่อาจสามารถหลุดเข้าไปใน น้ำไขสันหลังหรือ CSF ได้ เนื่องจากโปรตีนในเลือดจะมีโมเลกุลที่ใหญ่เกินกว่าจะหลุดเข้าไปได้แต่ทั้งนี้ก็มีโปรตีนในเลือดขนาดเล็กอย่าง อัลบูมิน ( Albumin ) ที่สามารถอาจหลุดเข้าไปปะปนได้ ซึ่งโปรตีนที่ตรวจพบได้ใน CSF นี้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นปริมาณ 15 – 45 mg/dL เมื่อเทียบกับค่า Total Protein ในเลือดซึ่งมีค่าปกติอยู่ที่ระดับ 6.4 – 8.3 gm/dL

ดังนั้นหากตรวจพบโปรตีนใน CSF มีค่าสูงผิดปกติ ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า เกิดความผิดปกติในร่างกายขึ้น โดยอาจจะมีโปรตีนจากเลือดทะลุผ่านเข้าสู่ CSF โดยผลจากการชำรุด บกพร่องของอวัยวะชุดกรองเลือดก่อนขึ้นสู่สมอง (ฺ Blood-Brain Barrier ) หรืออาจมีแผลที่มาจากโรคร้ายชนิดต่างๆ ได้นั้นเองการตรวจวัดปริมาณของค่า Protein CSF ในการตรวจวัดปริมาณของค่า Protein CSF จะมีค่าปกติอยู่ที่ประมาณ  15 – 45   mg/dL ซึ่งในกรณีค่า Protein CSF ที่วัดได้ผิดปกติสามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า CSF Protein ปกติ
15 – 45   mg/dL

ค่า CSF Protein ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า CSF Protein ต่ำกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า CSF Proteinได้ต่ำกว่าค่าปกติอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • ร่างกายอยู่ในสภาวะเป็นปกติดี เนื่องจากตามความเป็นจริงแล้ว โปรตีนไม่ควรมีอยู่ใน Cerebrospinal Fluid ( CSF ) มากนัก โดยค่าที่หลุดเขามามักเป็นโปรตีนที่มาจาก อัลบูมิน ( Albumin ) ที่มีขนาดเล็ก หลุดปนมาเท่านั้น
  • ในกรณีที่พบโปรตีนต่ำกว่าปกติมากเกินไป อาจแสดงถึง CSF หรือน้ำในไขสันหลังได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างผิดปกติก็ได้ จึงทำให้เกิดความเจือจางลง จนตรวจวัดค่าโปรตีนได้ต่ำลง ( เนื่องจาก Protein จาก CSF จะถูกตรวจด้วยปริมาณมิลลิกรัมต่อ 1 dL เสมอ )

ค่า CSF Protein สูงกว่าปกติ

2. ค่า Protein CSF สูงกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Protein CSF ได้มากกว่าค่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก   

  • อาจเกิดโรคมะเร็งของระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nerve System , CNS )
  • อาจมีเลือดรั่วซึม ( Hemorrhage )
  • สมองหรือไขสันหลังอาจได้รับความกระทบกระเทือนถึงขั้นบาดเจ็บ
  • อาจมีสภาวะของโรคเบาหวาน
  • อาจเกิดโรคด้านประสาทจากเหตุติดเชื้อที่เป็นไปได้มากมายหลายโรค เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningitis ) โรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) โรคไขสันหลังอักเสบ ( Myelitis ) เป็นต้น

CSF Glucose คืออะไร ?

การตรวจ CSF Glucose หรือ การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์ในการตรวจคือเพื่อจะได้ทราบว่า ค่าปริมาณของระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลังในร่างกาย มีค่าความผิดปกติหรือไม่ หากค่านี้มีค่าที่ผิดไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ก็อาจจะเป็นการบอกว่า ร่างกายมีความผิดปกติ อาจมีโรคภัยต่างๆเกิดขึ้น

โดยปกติแล้ว ในน้ำไขสันหลังจะมีปริมาณของน้ำตาลปะปนอยู่ด้วย เนื่องจากน้ำในไขสันหลังใช้พลาสมาจากเลือดเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตซึ่งในเลือดก็มีน้ำตาล หรือ Glucose ปะปนอยู่ด้วยดังนั้นจึงทำให้น้ำในไขสันหลังมี กลูโคส ( Glucose ) ปะปนอยู่ด้วยเสมอ แต่อาจมีปริมาณน้อยกว่าในเลือดอยู่ที่ 60-70 % ของค่ากลูโคสในเลือดในขณะนั้น

เนื่องจากเซลล์ของเส้นประสาทไขสันหลังของกระดูกไขสันหลังและของเนื้อเยื่อโดยรอบ จำเป็นต้องใช้กลูโคสจากหลอดเลือดแดงให้ไปหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆทั่วร่างกาย ดังนั้นหากปริมาณของกลูโคสในหลอดเลือดมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อระดับกลูโคสในน้ำไขสันหลังด้วยเช่นกัน จึงทำให้การตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลัง ( Glucose CSF ) จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดให้ทราบค่า FBS ไว้ด้วยก่อนเสมอ

การตรวจวัดปริมาณของค่า Cerebrospinal Fluid Glucose

ค่า CSF Glucose ปกติ
50  –  75   mg/dL

ในการตรวจวัดปริมาณของค่า Glucose CSF จะมีค่าปกติอยู่ที่ปริมาณ 50  –  75  mg / dL แต่ในการนำไปเปรียบเทียบจะใช้ค่าอยู่ที่ประมาณ 60-70 % of Blood Glucose ซึ่งในกรณีค่า Glucose CSF ที่วัดได้ผิดปกติสามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า CSF Glucose ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า Glucose CSF ต่ำกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Glucose CSF ได้ต่ำกว่าค่าปกติ  ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก 

  • อาจเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบค่าน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่ก่อนแล้ว
  • อาจเกิดการติดเชื้อในไขกระดูกสันหลังจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราโดยได้เพิ่มจำนวนขึ้นกินกลูโคสจนทำให้กลูโคสลดระดับน้อยลง
  • อาจมีอวัยวะหนึ่งเกิดโรคมะเร็ง

หาก Glucose CSF ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าน้ำตาลในเลือด อาจเป็นตัวเลขบ่งชี้ค่อนข้างชัดเจน น่าจะเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือสภาวะเริ่มเกิดโรคมะเร็ง ( Neoplasm )

ค่า CSF Glucose สูงกว่าปกติ

2. ค่า Glucose CSF สูงกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Glucose CSF ได้สูงกว่าค่าปกติ  ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • อาจเป็นบุคคลที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง ( Hyperglycemia ) อยู่ก่อนแล้ว
  • อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 

LDH CSF คืออะไร ?

การตรวจ LDH Cerebrospinal Fluid หรือ Lactic Dehydrogenase เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการสร้างพลังงานที่สำคัญมีจุดประสงค์ในการตรวจคือเพื่อให้ทราบระดับของเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการสร้างพลังงานในร่างกายว่ามีความผิดปกติหรือไม่

เนื่องจากปกติแล้วนั้น เอนไซม์ใดๆที่อาศัยหลอดเลือดเป็นเส้นทางขนส่งหรืออาศัยกระแสเลือดเป็นผู้ลำเลียงก็มีโอกาสที่จะหลุดลอดเข้าไปยังน้ำไขสันหลังได้ทั้งนั้น แต่เอนไซม์ LDH จะต่างจากเอนไซม์อื่นๆ ตรงที่ LDH ตามปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ไม่มีการออกไปนอกเซลล์ดังนั้นหาก LDH หลุดออกไปภายนอกก็สามารถสันนิฐานได้ว่า มีความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกายเกิดขึ้น แม้เมื่อไปอยู่ในไขสันหลังใน LDH CSF แล้วก็ตาม

LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ว่า หากมีกรณีใดก็ตามที่แสดงสภาวะการติดเชื้อ หรือการอักเสบที่ระบบประสาทหรือมันสมองแล้ว LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase จะเพิ่มค่าขึ้นเสมอ

ตัวอย่างเช่น การที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคไข้กาฬหลังแอ่น เข้าสู่ไขสันหลัง ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลล์ ( Neutrophil ) ซึ่งปกติจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell, WBC ) ไม่มากนัก แต่เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคอย่างไข้กาฬหลังแอ่นเข้ามา เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell, WBC ) ก็จะต้องถูกเร่งจำนวนผลิตขึ้นมาให้มากกว่าปกตินั้นเอง

ดังนั้นสามารถสรุปเกี่ยวกับ LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ว่า หากมีกรณีใดก็ตามที่แสดงสภาวะการติดเชื้อ หรือการอักเสบที่ระบบประสาทหรือมันสมองแล้ว LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase จะเพิ่มค่าขึ้นเสมอ

การตรวจวัดปริมาณของค่า LDH CSF

ในการตรวจวัดปริมาณของค่า LDH CSF จะมีค่าปกติไม่ควรเกิน 40 units/Lซึ่งในกรณีค่า LDH CSF ที่วัดได้ผิดปกติ สามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ปกติ
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 units/L

ค่า LDH CSF ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า LDH CSF  ต่ำกว่าปกติ หมายถึงกรณีที่วัดค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ต่ำกว่าค่าปกติ ถือได้ว่าไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใดหรือหมายถึงในร่างกายไม่มีเซลล์เกี่ยวกับสมองหรือระบบประสาทใดๆได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดความผิดปกติขึ้นเลย

ค่า LDH CSF สูงกว่าปกติ

2. ค่า LDH CSF สูงกว่าปกติ หมายถึงกรณีที่วัดค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase Cerebrospinal Fluid ได้สูงกว่าค่าปกติอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • เนื่องจากเซลล์ของมันสมอง มีค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase อยู่ในปริมาณสูงมาก หากมีเชื้อโรคหรือเหตุกระทบกระเทือนใดๆต่อระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous, CNS ) ย่อมมีผลต่อการเพิ่ม LDH CSF ให้สูงขึ้นอย่างผิดปกติได้ เช่น โรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) สภาวะสมองมีเลือดคั่งหรือภาวะหลอดเลือดแตกในสมอง ( Cerebral Homorrhage )
  • แม้ร่างกายจะไม่ได้รับเชื้อโรคใดๆ แต่อาจเกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไปเอง ซึ่งจะไปทำให้ค่าของ LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase สูงขึ้นผิดปกติได้ เช่น สภาวะการเริ่มเกิดมีเนื้องอกชนิดร้ายที่มันสมอง ( Brain Neoplasm ) โรคมะเร็งที่ไขสันหลัง ( Spinal Cordneoplasm ) เกิดโรคมะเร็งที่อื่นแล้วลุกลามไปถึงไขสันหลัง ( Metastatic Tumor ) โรคสมองเสื่อม ( Degenerative Brain Disease )

ดังข้อมูลที่กล่าวไปแล้วทั้งหมดนี้ คงพอคลายความสงสัยให้กับใครหลายๆคนได้ไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับการขอตรวจของเหลวในไขสันหลัง การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการขอตรวจของเหลวในไขสันหลัง นี้ สามารถเป็นประโยชน์ที่จะไปช่วยให้ทางแพทย์วิเคราะห์และหาสาเหตุของความผิดปกติของร่างกายได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีนี้ควบคู่กับวิธีการตรวจวินิจฉัยโรควิธีอื่นๆ ด้วยก็ได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุลม พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือดเล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า 1.เลือด–การตรวจ. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Wood, James H. (June 29, 2013). Neurobiology of Cerebrospinal Fluid 2. Springer Science and Business Media. p. 3. ISBN 9781461592693.

Kantor, David (June 1, 2015). “CSF Cell Count”. MedlinePlus. United States National Library of Medicine.

Klarica M, Orešković D (2014). “A new look at cerebrospinal fluid movement”. Fluids Barriers CNS. 11: 16. PMC 4118619 Freely accessible. PMID 25089184.

Chuder, Eric H. “The Ventricular System and CSF (Cerebrospinal Fluid)”. faculty.washington.edu. National Center for Research Resources.

Mostovich, Joseph J.; Hafen, Brent Q.; Karren, Keith J. (October 28, 2009). Prehospital Emergency Care (9th ed.). Prentice Hall. ISBN 9780135028100.