ภาวะเลือดจาง - โลหิตจาง ( Anemia )
ภาวะเลือดจาง, โลหิตจาง, โรคเลือดจาง, วิธีรักษาโรคเลือดจาง

 

โลหิตจาง ( Anemia )

โลหิตจาง ( Anemia ) หรือ เลือดจาง เป็น ภาวะที่ร่างกายซีดขาว หรือ ซีดเหลือง ไม่มีเลือดฝาด เพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้การนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง อาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น การที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายของเราขาดฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงจะสร้างที่ไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงต้นกำเนิด ก่อนเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนและพัฒนาจนเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ในระยะเวลา 120 วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยเข้าสู่หลอดเลือด ก่อนจะถูกกำจัดออกไปโดยไขกระดูก ม้าม และตับ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง เพื่อทดแทนของเก่าที่ถูกกำจัดไปซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น

  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ผิวซีดหรือผิวเหลืองไม่สดชื่น
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • วิงเวียนศีรษะ ปวดหัวบ่อย ๆ

สาเหตุของภาวะโลหิตจาง

แบ่งเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ร่างกายเสียเลือดมาก มีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย และ มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
สาเหตุจากร่างกายเสียเลือดมาก
คือการเสียเลือดแบบเฉียบพลัน หรือเกิดแบบเรื้อรัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การตกเลือดจากการคลอดหรือแท้งบุตร การติดเชื้อพยาธิปากขอ เสียเลือดมากจากการมีประจำเดือน เป็นต้น
สาเหตุจากมีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย
อาจมีทั้งโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด และโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น

  • มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะขาดฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากไตและกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดฮอร์โมนดังกล่าวอาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด หรือเกิดจากภาวะไตเสื่อมก็ได้
  • มีความผิดปกติของไขกระดูก เช่น ติดเชื้อในไขกระดูก มะเร็งไขกระดูก เนื่องจากไขกระดูกเป็นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่
  • มีภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดวิตามินบี12 ขาดโฟเลต และขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง

สาเหตุจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
ปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากกว่าปกตินั้นมีมากมาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่เป็นแต่กำเนิดและปัจจัยที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น

  • โรคธาลัสซีเมีย ( Thalassemia ) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดอาการผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของธาลัสซีเมีย
  • โรคม้ามโต หรือมีความผิดปกติที่ม้าม เพราะม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง
  • โรค Sickle cell anemia ทำให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ เม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถขนส่งออกซิเจนได้สมบูรณ์ และถูกทำลายได้ง่าย
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น เกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ร่างกายขาดเอนไซม์บางตัว หรือเป็นผลข้างเคียงจากการดื้อยาบางชนิด เป็นต้น

การป้องกันภาวะโลหิตจาง

เราสามารถป้องกันภาวะเลือดจางได้เองง่าย ๆ คือ

  • ต้องเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และสารอาหาร เช่น ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารกและวัยรุ่น
  • รับประทานวิตามินเสริมโดยขอคำปรึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • อายุมากก็มีผล ในผู้สูงอายุหรือผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ ควรพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจสอบภาวะเลือดจาง
  • หากมีคนในครอบครัวมีผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะเลือดจาง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งผ่านภาวะโลหิตจางทางพันธุกรรม

การรักษาภาวะโลหิตจาง

เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะเลือดจางบางประเภท เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟเลต รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่ นม ควรรับประทานยาหรือฮอร์โมนเสริม ในบางรายแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะเลือดจางรับประทานยา ฮอร์โมน หรือวิธีทางแพทย์อื่น ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดจาง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Koller O. The clinical significance of hemodilution during pregnancy. Obstet Gynaecol Surv 1982; 37(11):649-652.
World Health Organization, Method of assessing iron status, Iron Deficiency Anemia Assessment, Prevention, and control A guide for program managers, 2001, 33-43.
สํานักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,คูมือแนวทางการควบคุมและปองกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, 2556, 2.
ACOG Practice Bulletin No. 95: Anemia in pregnancy. Obstetrics and gynecology. 2008;108(2):457-64.
มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแหงประเทศไทย. Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndrome. 2006.
British Committee for Standards in Haematology: The Diagnosis and Mangement of Primary Autoimmune Haemolytic Anaemia.
Chakravarty,E.F., Murray,E.R., Kelman,A., & Farmer,P. (2011) Pregnancy outcomes after maternal exposure to rituximab. Blood, 117, 1499-1506.