เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )
เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC ) เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่สำคัญในการขนส่งออกซิเจนจากปอดโดยการให้ออกซิเจนจับที่ผิวของเม็ดเลือดแดงแล้วนำไปตามหลอดเลือดเพื่อส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับส่งมาให้ปอดและขับออกนอกร่างกายด้วยการหายใจออก
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ทำให้สู่โรคโลหิตจาง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงดังนี้
1. ขนาด เล็กเกินไป ใหญ่เกินไป หรือมีขนาดไม่สม่ำเสมอ
2. รูปร่าง ไม่กลมแบน โดยอาจเป็นรูปทรงกลมหรือรูปเคียว
3. สี สีเลือดไม่แดงสดเพราะขาดธาตุเหล็ก จึงจับออกซิเจนส่งให้เซลล์ต่างๆไม่ได้
4. จำนวน เม็ดเลือดแดงในน้ำเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรน้อยกว่าระดับมาตรฐาน
วัตถุประสงค์ในการตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง
เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และแสดงจำนวนนับเม็ดเลือดแดงในเลือดว่ามีอยู่ระดับปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติแสดงว่าอาจเป็นโรคโลหิตจาง หรือถ้าระดับสูงกว่าปกติแสดงถึงสภาวะของโรคมะเร็งหรือโรคไตหรือโรคเลือดร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่ง
ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง
จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดแดงมีความแตกต่างตามเกณฑ์อายุและเพศ
ชาย = 4.2 – 5.4 106/ µL
หญิง = 3.6 – 5.0 106/ µL
เด็ก = 4.6 – 4.8 106/ µL
ค่าผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง จากผลการตรวจเลือด
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. เกิดภาวะของโรคโลหิตจาง
ข. อาจมีอาการเสียเลือดทั้งที่เห็นด้วยตา และไม่อาจสังเกตเห็น เช่น ตกเลือดในลำไส้
ค. เกิดสภาวะของโรคไตวายเรื้อรัง
ง. อาจเกิดโรคที่ไขกระดูก
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจอยู่ในที่ที่มีออกซิเจนบางกว่าปกติ เช่น ท้องถิ่นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ข. เกิดภาวะของโรคเม็ดเลือดแดงคับคั่ง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ค. อาจเกิดโรคมะเร็งที่เนื้อเซลล์ของไต
ง. ร่างกายอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
จ. อาจเกิดโรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง
ฉ. ร่างกายอาจขาดน้ำ
หมู่โลหิตและกลุ่มค่าอาร์เอช
หมู่โลหิต ( Blood Type หรือ Blood Group ) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 32 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบเอบีโอ ( ABO System ) และ ระบบอาร์เอช ( Rh System ) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บนเม็ดเลือดแดง
หมู่โลหิตของมนุษย์จะมีระบบ ABO แล้ว ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือหมู่โลหิตระบบอาร์เอช ( Rh ) ซึ่งในการใช้ระบบเลือดแบบ Rh หรือ Rhesus ( รีซัส ) ซึ่งเป็นได้ 2 แบบคือ Rh+ และ Rh- จึงจำแนกออกได้เป็น 8 หมู่
วัตถุประสงค์ในการตรวจค่าอาร์เอช
เพื่อให้ทราบถึงหมู่เลือดของตนเองถ้ามีค่า Rh บวกหรือลบ
ประโยชน์ของการตรวจหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชคือ
1.เป็นลักษณะจำเพาะที่พบบนเม็ดโลหิตทำให้แต่ละบุคคลทราบชนิดหมู่เลือดของตนเอง
2. เป็นหมู่เลือดหลักที่ใช้ในการพิจารณาหาเลือดที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดเพื่อการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ( ผลข้างเคียง ) จากการได้รับเลือด
3.การที่สามารถตรวจและทราบชนิดของหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและป้องกันภาวะที่หมู่เลือดแม่และลูกเข้ากันไม่ได้ที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงของลูกถูกทำลายโดยแอนติบอดีจากแม่ได้
4.หมู่เลือดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยการควบคุมของยีน/จีนจึงใช้เป็นหลักฐาน พิสูจน์ทางนิติเวชถึงความเป็นพ่อแม่ลูกกันได้และใช้ศึกษาการสืบเชื้อสายของเหล่าพันธุ์ได้
ตารางสรุปมาตรฐานการถ่ายเลือดระหว่างผู้ให้เลือด และผู้รับเลือด
หมู่เลือดผู้ให้ | หมู่เลือดผู้รับ |
ทุกหมู่เลือด | AB+ |
O- A- B- AB- | AB- |
O- O+ A- A+ | A+ |
O- A- | A- |
O- O+ B- B+ | B+ |
O- O+ | B- |
O- O+ | O+ |
O- | O- |
ตารางการถ่ายทอดหมู่เลือดระบบเอบีโอของพ่อแม่ให้ลูก
หมู่เลือดของพ่อแม่ | หมู่เลือดของลูก |
O + O | O |
O + A | O , A |
O + B | O , B |
O + AB | A , B |
A + A | O , A |
A + B | O , A , B , AB |
A + AB | A , B , AB |
B + B | O , B |
B + AB | A , B , AB |
AB + AB | A , B , AB |
ชนิดของเซลล์เม็ดเลือดแดง
เซลล์เม็ดเลือดแดงมีหลายชนิด เกิดมาจากไขกระดูกซึ่งสามารถแยกย่อยได้ดังนี้
1. ฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin ) Hb, Hgb, HGB
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโปรตีนสีแดงเข้มเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง มีธาตุเหล็กผสมอยู่ ช่วยให้ฮีโมโกลบินสามารถจับออกซิเจนเต็มประสิทธิภาพจากปอดแล้วส่งให้แก่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายได้สมบูรณ์
2. ฮีมาโทคริต ( Hematocrit ) Hct, HCT
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในน้ำเลือดขณะนั้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของการเกิดโรคโลหิตจาง
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก
3. เอ็มซีวี ( MCV )
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นค่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง คำนวณได้จากค่า Hematocrit หารด้วยจำนวน RBC
วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีวี ( MCV )
จุดประสงค์ของการตรวจ MCV คือ เพื่อหาค่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีหน่วยเป็น Femtoliter หรือ fL
ค่าปกติของ MCV
ผู้ชาย อายุ 12-18 ปี = 78 – 98 fL
ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 78 – 102 fL
ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป = 78 – 98 fL
ค่าผิดปกติของ MCV
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่าเม็ดเลือดแดงอาจมีขนาดเล็กกว่าปกติ
1.1 อาจเกิดโรคโลหิตจาง หรือ ธาลาสซีเมีย
1.2 ร่างกายขาดธาตุเหล็ก
1.3 อาจเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
1.4 ร่างกายได้รับพิษจากตะกั่ว
2. ในทางมาก อาจแสดงว่าเม็ดเลือดแดงอาจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.1 ร่างกายอาจพร่องวิตามิน B12 หรือกรดโฟลิค
2.2 อาจเกิดโรคโลหิตจาง
2.3 ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
2.4 เกิดโรคตับ
2.5 เกิดสภาวะโรคไขกระดูกเสื่อม
2.6 อาจอยู่ในสภาวะเสพติดแอลกอฮอร์
4. เอ็มซีเอช ( MCH ) Mean Corpuscular Hemoglobin
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นค่าน้ำหนักเฉลี่ยของเนื้อฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin )
วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีเอช ( MCH )
เพื่อหาค่าเฉลี่ยหรือน้ำหนักของเนื้อฮีโมโกลบิน และใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยร่วมยืนยันว่าค่า MCV ว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใดด้วย
ค่าปกติของเอ็มซีเอช ( MCH )
ค่าปกติทั่วไป = 27.5 – 33.5 pg / cell
ค่าผิดปกติของเอ็มซีเอช ( MCH )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าปกติ (Microcytic anemia) ซึ่งควรได้รับการยืนยันด้วยค่า Hemoglobin, Hematocrit, MCV และ RDW
1.2 กรณีที่ MCH เริ่มมีค่าต่ำกว่า 30 pg/cell อาจบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังเริ่มมีการสังเคราะห์ Hemoglobin ที่ผิดปกติ
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดง มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งควรได้รับการยืนยันด้วยเช่นกัน
5. เอ็มซีเอชซี ( MCHC ) Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเนื้อฮีโมโกลบินภายในแต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง
วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
เพื่อตรวจค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเนื้อฮีโมโกบินภายในเม็ดเลือดที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจับออกซิเจน
ค่าปกติของเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
ค่าปกติทั่วไป = 28 – 33 gm/dL
ค่าผิดปกติของเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 เกิดโรคโลหิตจางชนิดยีนบกพร่องในฮีโมโกลบิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีนซึ่งก่อให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย
1.2 อาจเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงสีซีด เนื่องจากร่างกายอาจมีความบกพร่องหรือขาดธาตุเหล็ก
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 ฮีโมโกลบินอาจมียินบกพร่องจากพันธุกรรม ทำให้เกิดการผันแปรไม่แน่นอนทางด้านรูปร่าง เช่น อาจค่อย ๆ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติจนกลายเป็นรูปทรงกลมคล้าย ๆ ลูกปิงปอง
2.2 อาจเกิดจากผู้ป่วยมีอาการหนัก เช่น แผลไฟลวก ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเร่งส่งออกซิเจนให้ทันความต้องการของเซลล์ซึ่งกำลังเกิดปัญหาในร่างกาย
6. อาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW ) Red Cell Distribution Width
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่บอกความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง
วัตถุประสงค์ในการตรวจอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
เพื่อตรวจความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง ซึ่งขนาดที่แตกต่างจากปกตินั้นอาจแสดงตัวเลขเม็ดเลือดที่ผิดปกตินับได้เป็นจำนวน % ของเม็ดเลือดแดง ซึ่ง RDW ยิ่งมี % สูงขนาดเม็ดเลือดแดงจะผิดขนาด และจับออกซิเจนได้น้อยลงและสะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของโรคโลหิตจาง
ค่าปกติของอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
ค่าปกติทั่วไป = 11.5 – 14.5%
ค่าผิดปกติของอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
เป็นข้อมูลที่ช่วยบ่งชี้สุขภาพเม็ดเลือดแดงดีเยี่ยม ซึ่งมีเม็ดเลือดที่ต่างขนาดกันไม่ถึง 11.5%
2. ในทางมาก
กรณี MCV อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดโรคโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
ข. อาจเกิดจากสภาวะเม็ดเลือดแดงฉีกขาด
ค. อาจปรากฏยีนของฮีโมโกบิน ซึ่งเป็นความบกพร่องทางพันธุกรรมที่สืบทอดมาจากกรรมพันธุ์
กรณี MCV อยู่ในระดับปกติ อาจแสดงว่า
ก. ร่างกายอาจเริ่มเกิดโรคโลหิตจางการขาดธาตุเหล็ก
ข. อาจเกิดความบกพร่องวิตามิน B12
ค. อาจเกิดความบกพร่องเกลือฟอเลต หรือฟอลิก
กรณี MCV อยู่ในระดับสูงปกติ อาจแสดงว่า
ก. ร่างกายอาจขาดเกลือฟอเลต หรือ กรดฟอลิก
ข. ร่างกายอาจขาดวิตามิน B12
ค. ร่างกายอาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงของตนเอง
ง. ร่างกายอาจเกิดโรคตับ
ความแตกต่างระหว่าง ฮีมาโทคริต และ เฮโมโกลบิน
ฮีมาโตคริต ( Hematocrit ) | เฮโมโกลบิน ( Hemoglobin ) |
เปอร์เซ็นต์ของเซลล์สีแดงในเลือดของคุณ | ช่วยให้เซลล์แดงสามารถขนส่งออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ไปทั่วร่างกาย |
ผู้ชายมีตั้งแต่ 41 – 50 เปอร์เซ็นต์ | ผู้ชายมีตั้งแต่ 13.8 – 17.2 g / dL |
ผู้หญิงคือ 36 – 48 เปอร์เซ็นต์ | ผู้หญิงมีตั้งแต่ 12.1 – 15.1 g / dL |
ดังนั้น ตรวจเฮโมโกลบินก่อนการบริจาคโลหิตทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคมีระดับเม็ดเลือดแดงเพียงพอที่จะบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคโลหิตต้องมีฮีโมโกลบินอย่างน้อย 12.5 g / dL แต่ไม่เกิน 20 g / dL
ทำไมการบริจาคโลหิตจึงมีความสำคัญมาก
สถิติจากสภากาชาดไทยพบว่า โลหิต เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสามารถการรักษาผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยบาดเจ็บ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเรื้อรัง และการผ่าตัดอื่น ๆ
- ร้อยละ 77 ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดหลังคลอดบุตร เลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นต้น
- ร้อยละ 23 ใช้กับผู้ป่วยโรคเลือดที่ต้องรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากสาเหตุอื่น ๆ โรคเกล็ดเลือดต่ำ โรคขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือ โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น
ถึงแม้ว่าแต่ละปีจะมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันความต้องการโลหิตเพิ่มมากขึ้นปีละ 8 – 10 เปอร์เซ็นต์ และการบริจาคโลหิตเป็นการสละเลือดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมีเกณฑ์กำหนดให้บริจาคโลหิตได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณโลหิตในร่างกาย หรือปริมาณ 350 – 450 มิลลิลิตร (ซีซี) ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพของผู้บริจาค
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
เรียบเรียงโดย Amprohealth และ
ประสาร เปรมะสกุล,พลเอก. คู่มือแปล ผลเลือด เล่มแรก: กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2554. 372 หน้า: 1.เลือด-การตรวจ. I. ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-48-7.,
พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.