ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจซีบีซี เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการหรือสถานพยาบาล การตรวจเลือดจะกำหนดชื่อการตรวจเลือดมาตรฐานเพื่อหา ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC ) โดยการตรวจค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
- ตรวจสุขภาพโดยทั่วไปว่ามีเชื้อโรคเกี่ยวกับเลือดหรือการอักเสบของอวัยวะใดที่ซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เช่นภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- เพื่อตรวจหาความโน้มเอียงที่อาจเกิดโรคโลหิตจาง
- ตรวจตัวบ่งชี้ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย
- ในกรณีก่อนการผ่าตัดใหญ่ เพื่อความแน่ใจในปริมาณความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดงและในปริมาณของเกล็ดเลือด เพื่อความมั่นใจว่าเลือดจะหยุดไหล เมื่อเกิดบาดแผลจากการผ่าตัด รวมถึงระดับปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่จะช่วยทำอะไรจุลชีพก่อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายในขณะที่ร่างกายอ่อนแอหลังผ่าตัด
- เฝ้าตรวจและติดตามผลการรักษาโรคโลหิตจางและโรคเลือดต่างๆ
- ตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยกรณีที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด โดยมีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจผลิตเม็ดเลือดชนิดต่างๆออกมาน้อยหรือมากผิดปกติหรือไม่
องค์ประกอบของเม็ดเลือด
เม็ดเลือด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดและยังมีบทบาทที่สำคัญต่อคนและสัตว์ทุกชนิด หากเปรียบเทียบ เม็ดเลือดแดงก็เปรียบเสมืองขบวนรถไฟที่ประกอบไปด้วยตู้โบกี้ หากรถไฟทั้งขบวนมีความสมบูรณ์แบบและได้มาตรฐาน ก็จะสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย
การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
1. พลาสมา ( plasma ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นพร้อมกับเลือด เพื่ออำนวยความสะดวกให้เลือดในการไหลเวียน พลาสมาประกอบด้วย 90 %และอีก 10 %เป็นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารชีวโมเลกุลในการสร้างลิ่มเลือด ฮอร์โมน สารชีวโมเลกุลที่เป็นภูมิต้านทาน และสารของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาและติดปะปนมากับอาหาร
2. เซลล์เม็ดเลือดขาว ( white blood cell , WBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการฆ่าหรือทำลายจุลชีพก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ในร่างกายที่กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งก็อาจถูกทำลายได้ เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเลือดซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้
องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาว | จำนวนค่าปกติ ( เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร ) |
Neutrophil | 2,500-8,000 |
Lymphocyte | 1,000 – 4,000 |
Monocyte | 100 – 700 |
Eosinophil | 50 – 500 |
Basophil | 25 – 100 |
3. เซลล์เม็ดเลือดแดง ( red blood cell , RBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจ คือเม็ดเลือดที่มีสีแดง เนื้อเม็ดเลือดสร้างด้วยโปรตีนมีรูปร่างคล้ายจานกลมเว้าตรงกลางเข้าหากันทั้งสองด้าน เพื่อที่จะมีพื้นที่ผิวให้มากที่สุดในการจับออกซิเจนจากปอดส่งต่อให้ทุกเซลล์ในร่างกายอย่างเพียงพอ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.8 ไมครอน ความหนาขอบประมาณ 2.6 ไมครอนและตรงกลางประมาณ 0.8 ไมครอน ซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้
องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง | จำนวนค่าปกติ |
Hemoglobin | เด็ก อายุ 6-12 ปี = 11.5 – 15.5 g / dL ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 12.0 – 16.0 g / dL อายุ 18 ปีขึ้นไป =: 12.1 – 15.1 g / dL ผู้ชาย อายุ 12 – 18 ปี = 13.0 – 16.0 g / dL อายุ 18 ปีขึ้นไป = 13.6 – 17.7 g / dL |
Hematocrit ( Hct, HCT ) | ทารก = 44-64% เด็ก อายุ 6-12 ปี = 35 – 45 % ผู้ชาย อายุ 12-18 ปี = 37 – 49 % อายุมากกว่า 18 ปี = 41 – 50 % ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 36 – 46 % อายุมากกว่า 18 ปี = 36 – 44 % |
MCV | ผู้ชายอายุ 12-18 ปี = 78 – 98 fL ผู้หญิงอายุ 12-18 ปี = 78 – 102 fL ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี = 78 – 98 fL |
MCH | 27.5 – 33.5 pg / cell |
MCHC | 28 – 33 gm / dL |
RDW | 11.5 – 14.5 % |
4. เกล็ดเลือด ( platelet ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากไขกระดูกมีหน้าที่สำคัญในการสร้างลิ่มเลือดเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผลซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้
องค์ประกอบของเกล็ดเลือด | จำนวนค่าปกติ |
Platelet Count | ทารก = 200,000 – 475,000 เซลล์ / ลบ.มม. เด็ก = 150,000 – 450,000 เซลล์ / ลบ.มม. ผู้ใหญ่ = 150,000 – 400,000 เซลล์ / ลบ.มม. |
MPV | 6 – 10 fL |
จะเห็นได้ว่าหากทำการตรวจวิเคราะห์ ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้น ทำให้ทราบถึงอาการ สาเหตุ ที่อาจจะเกิดโรค ควรไปตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันโรคดีกว่ามาแก้ไขทีหลังนะคะ
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20631″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.
American Association of Blood Banks (24 April 2014), “Five Things Physicians and Patients Should Question”, Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, retrieved 25 July 2014.
Napolitano, LM.American College of Critical Care Medicine of the Society of Critical Care, Medicine; Eastern Association for the Surgery of Trauma Practice Management, Workgroup (Dec 2009).
“Clinical practice guideline: red blood cell transfusion in adult trauma and critical care”. Critical Care Medicine. 37 (12): 3124–57. doi:10.1097/CCM.0b013e3181b39f1b. PMID 19773646.