การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC )

0
83819
เซลล์เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ
การตรวจเม็ดเลือดขาววัดค่าอะไรได้บ้าง
เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ

เซลล์เม็ดเลือดขาว

เซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค เพื่อป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจากจุลชีพก่อโรค ซึ่งได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงเซลล์ดีของร่างกายที่กลายพันธุ์เป็นเซลล์ร้ายอย่างเช่นมะเร็ง แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่ปกป้องโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเก๊าต์ โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ และโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของสภาพร่างกาย

วัตถุประสงค์ในการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาว

เป็นการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดขาวว่ามีจำนวนระดับปกติหรือไม่ เพื่อแสดงสภาวะของสุขภาพว่าร่างกายกำลังเกิดโรคใดโรคหนึ่งหรือไม่

วิธีการตรวจ

การตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาว จะต้องเจาะเลือดผู้ต้องการตรวจเลือด โดยจะใส่สารกันเลือดแข็งไว้ในหลอดบรรจุเลือดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด จากนั้นส่งห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ทันที เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แบบอัตโนมัติจะแสดงผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ โดยเครื่องอัตโนมัติเลือดนี้จะมีวิธีการเขย่าให้เลือดถูกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน เครื่องอัตโนมัติประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่จะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอในเลือดได้อย่างแม่นยำ

เครื่องอัตโนมัติสามารถตรวจนับจำนวนเซลล์และวิเคราะห์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์วินิจฉัยโรคของแพทย์ อาทิ วินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็นโรคโลหิตจาง เป็นต้น

วิธีการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์โดยเฉพาะนั้น สามารถทำได้ดีกว่าเครื่องตรวจอัตโนมัติ แต่ผลการนับอาจไม่แม่นยำเท่า

ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวควรจะมีจำนวนเท่าไหร่นั้น มีสูตรคำนวณได้ ดังนี้คือ
จำนวนนับค่าปกติเซลล์เม็ดเลือดขาว = 5,000-11,000 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร ของน้ำเลือด
หรือ ( 5 – 11 x 109 / L ) นั่นเอง

ค่าผิดปกติของเม็ดเลือดขาว

1. จากผลการตรวจเลือด หาผลตรวจค่าเม็ดเลือดขาวออกมาในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
1.1 ร่างกายกำลังติดเชื้อก่อโรคร้ายแรงบางชนิดเช่น เชื้อโรคชนิดไวรัส
1.2 ร่างกายอัมีภาวะภูมิต้านทานโรคที่กำลังต่ำลง
1.3 ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามินบีต่างๆ
1.4 ไขกระดูกมีความผิดปกติหรือมีโรคสำคัญ
1.5 ได้รับยารักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อการทำลายเม็ดเลือดขาว
2. และหากผลการตรวจเลือด หาผลตรวจค่าเม็ดเลือดขาวออกมาในทางมาก อาจแสดงผลว่า
2.1 ร่างกายอาจกำลังเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บจากการถูกจุลชีพก่อโรค
2.2 เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งซึ่งแอบแฝงซ่อนตัว ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ชนิดใดตรวจได้ในขณะนั้น
2.3 ร่างกายเกิดการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่ร้ายแรงบางชนิดจึงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาต่อสู้
2.4 อาจเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( leukemia )
2.5 ต่อมไทรอยด์อาจทำงานหนักผิดปกติ

เม็ดเลือดขาวมีกี่ชนิด

เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด เกิดมาจากไขกระดูกซึ่งสามารถแยกย่อยได้ 5 ชนิด ดังนี้

1.เซลล์ชนิดนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) หรือ PMN
เป็นเซลล์ชนิดหนึงในเม็ดเลือดขาว เกิดมาจากไขกระดูก มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราและจุลชีพอื่นๆที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย เป็นเหมือนด่านแรกของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันร่างกายเมื่อได้รับเชื้อโรค

วัตถุประสงค์ในการตรวจ นิวโตรฟิล
ตรวจเพื่อให้ทราบจำนวนหรือปริมาณเซลล์แยกย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีจำนวนเป็นเปอร์เซ็นมากที่สุด
ค่าปกติของนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) หรือ PMN
จำนวนนับนิวโตรฟิล ( Neutrophil ) ค่าปกติ = 2,500-8,000 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร

ค่าผิดปกติของนิวโตรฟิล จากการตรวจเลือด
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 ร่างกายกำลังขาดแคลนสารอาหารที่สำคัญบางตัว เช่น วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก
1.2 ร่างกายอาจเกิดบาดแผลขนาดใหญ่ หรืออาจได้รับการฉายรังสี หรือรับยาคีโม
1.3 ร่างกายตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคสำคัญ เช่น ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 ร่างกายกำลังตกอยู่ในสภาวะความเครียด
2.2 ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากโรคสำคัญ
2.3 ร่างกายเกิดการอักเสบจากโรคทั่วไปเช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคปวดข้อ

2.เซลล์ชนิดลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) หรือ Lymph
ลิมโฟไซต์เป็นเซลล์ชนิดหนึงในเม็ดเลือดขาวที่เกิดมาจากไขกระดูก ลิมโฟไซต์ตามปกติจะมีอยู่สองขนาด คือ
1. ลิมโฟไซต์แบบใหญ่ แบบนี้จะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 15 ไมครอนหรือ 15 ไมโครเมตรซึ่งส่วนนี้มักจะไม่อยู่ภายในส่วนของกระแสเลือดแต่จะไปอยู่ตามบริเวณของเนื้อเยื่อ ตามหลอดน้ำเหลือง
2.ลิมโฟไซต์แบบเล็ก แบบนี้จะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 6 จนถึง 8 ไมครอนหรือ 6 จนถึง 8 ไมโครเมตรซึ่งนั่นก็มักที่จะเป็นแบบ T-CELLS ภายในส่วนของกระแสเลือด ซึ่งแบ่งเป็นหน่วยย่อย 3 ชนิด ได้แก่
2.1 B-cells ( เซลล์ผู้ช่วย ) มีจำนวน 15 % ของลิมโฟไซต์ มีหน้าที่ตรวจสอบจุลชีพก่อโรคทั้งหลาย และสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายโดยตรง มีค่าปกติอยู่ที่ 100 – 450 cells / µL
2.2 T-cells  มีจำนวน 80 % ของลิมโฟไซต์ มีหน้าที่ในการฆ่าหรือทำลายจุลชีพก่อโรคทุกชนิด มีค่าปกติอยู่ที่ 800 – 2,500 cells / µL
2.3 Natural Killer Cells มีจำนวนเพียง 5 % ของลิมโฟไซต์ ทำหน้าที่ฆ่าหรือทำลายโดยไม่เลือกทั้งจุลชีพก่อโรคและเซลล์ของร่างกายที่กลายพันธุ์ไปเป็นมะเร็ง รวมถึงเซลล์ดีอื่นๆของร่างกายที่มีไวรัสแอบแฝง จะมีค่าปกติอยู่ที่ 75 – 500 cells / µL

ค่าปกติของลิมโฟไซต์
จำนวนนับ ลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) ค่าปกติ = 1,000 – 4,000 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร

ค่าผิดปกติของลิมโฟไซต์ จากผลการตรวจเลือด
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 ร่างกายอาจได้รับเชื้อ HIV / AIDS โดยไม่รู้ตัว
1.2 ร่างกายกำลังตกอยู่ในสภาวะความเครียด
1.3 อาจได้รับยารักษาด้วยคีโมหรือเคมีบำบัดชนิดที่ไปกดไขกระดูก
1.4 ร่างกายอาจเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
1.5 อาจได้รับการรักษาด้วยวิธีรังสีบำบัดหรือฉายรังสีเอกซเรย์หรือ TC scan บ่อยเกินไป
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 ร่างกายเกิดภาวะตับอักเสบจากไวรัส
2.2 ร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดร้ายแรง เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค คางทูม
2.3 อยู่ในสภาวะหลังรับการถ่ายเลือด

เซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค เพื่อป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจากจุลชีพก่อโรค

3.เซลล์ชนิดโมโนไซต์ ( Monocyte ) หรือ Mono
เป็นเซลล์ เม็ดเลือดขาว ชนิดหนึ่งที่เกิดจากไขกระดูก ทำหน้าที่ตระเวนในหลอดเลือดเพื่อหาจุลชีพ เมื่อพบจุลชีพที่กำลังก่อตัวในหลอดเลือด โมโนไซต์ที่อยู่ใกล้สุดจะเข้าจับจุลชีพโดยเร็วด้วยการรีดตัวให้เล็กและผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อจากนั้นจะขยายตัวเป็นแมคโครฟาจเพื่อเขมือบจุลชีพแล้วปล่อยเอนไซม์ย่อยสลายและเก็บเศษจุลชีพต่างๆ

วัตถุประสงค์ในการตรวจโมโนไซต์ ( Monocyte ) หรือ Mono
เพื่อตรวจสอบนับ จำนวนเซลล์แยกย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาว ( WBC ) ที่เรียกว่าโมโนไซต์

ค่าปกติของโมโนไซต์ ( Monocyte ) หรือ Mono
จำนวนนับ โมโนไซต์ = 100 – 700 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร

ค่าผิดปกติของโมโนไซต์ จากผลการตรวจเลือด
1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
1.1 เกิดโรคโลหิตจางจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว
1.2 เกิดโรคโลหิตจางจากไขกระดูกเสื่อม
2. ในทางมาก อาจแสดงผลว่า
2.1 อาจเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก
2.2 อาจเกิดโรคลำไส้อักเสบ
2.3 ร่างกายมีการติดเชื้อจากไวรัสหรือพาราสิต
2.4 อาจเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

4.เซลล์ชนิดอีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) หรือ Eos
เป็นเซลล์อีกชนิดหนึ่งของเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีจำนวนเพียงประมาณ 1- 4 เปอร์เซ็นต์ของ WBC เท่านั้น มีหน้าที่ในการช่วยทำลายสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในร่างกาย โดยช่วยให้อาการภูมิแพ้ลดลงหรือหมดไป

วัตถุประสงค์ในการตรวจอีโอซิโนฟิล
เพื่อตรวจสอบนับ จำนวนเซลล์แยกย่อยของเซลล์เม็ดเลือดขาว ( WBC ) ที่เรียกว่าโมโนไซต์

ค่าปกติของอีโอซิโนฟิล
จำนวนนับ อีโอซิโนฟิล = 50 – 500 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร

ค่าผิดปกติของอีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) จากผลการตรวจเลือด
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 อาจตกอยู่ในภาวะเครียดจนทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอรอยด์ซึ่งอาจสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย
1.2 อาจเกิดอาการคุชชิง ( Cushing Syndrome ) ซึ่งจะมีไขมันส่วนบนของร่างกายผิดปกติ
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 การมีที่อยู่อาศัยหรือการใช้ชีวิตที่ทำให้เป็นบ่อเกิดของการสร้างภูมิแพ้
2.2 ร่างกายอาจเผชิญกับศาลสร้างภูมิแพ้อย่างกะทันหัน เช่นที่อยู่อาศัยมีมลพิษสูง
2.3 อาจเกิดโรคเลือดหรือโรคข้อ
2.4 อาจได้รับยารักษาโรคอื่นแต่ยานั้นส่งผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการแพ้

5. เซลล์ชนิดเบโซฟิล ( Basophil ) หรือ Baso
เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งของ เม็ดเลือดขาว ที่มีจำนวนน้อยที่สุดเพียงประมาณ 1 % มีบทบาทสำคัญในการควบคุมร่างกายไม่ให้หลั่งสารฮีสตามีนออกมามากจนเกินไปเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ

วัตถุประสงค์ในการตรวจ เบโซฟิล
เพื่อตรวจสอบหาระดับของ เบโซฟิล (Basophil) หรือ Baso ซึ่งเป็นเซลล์ย่อยในเม็ดเลือดขาว

ค่าปกติของเบโซฟิล
จำนวนนับ เบโซฟิล ( Basophil ) = 25 – 100 เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร

จะเห็นได้ว่า การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนั้น ต้องตรวจละเอียดลึกไปถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวอย่างแท้จริง

[/vc_column_text]

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล,พลเอก. คู่มือแปล ผลเลือด เล่มแรก: กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2554. 372 หน้า: 1.เลือด-การตรวจ. I. ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-48-7.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

“A Snapshot of Leukemia”. NCI. Archived from the original on 4 July 2014. Retrieved 18 June 2014.

Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, retrieved 25 July 2014.