การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะเป็นการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารต่างๆ ที่ละลายในปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้เราประเมินภาวะการสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้ การตรวจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสุขภาพของไต การทำงานของฮอร์โมน และการประเมินภาวะขาดน้ำหรือการสะสมของของเหลวที่ผิดปกติในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง เบาหวาน เบาจืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมของเหลว การตรวจ Osmolality จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาที่ตรงจุดและทันเวลาเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย
Urine Osmolality คืออะไร
Urine Osmolality คือ ความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ มีค่าตั้งแต่ 50-1200 mosm/kg
คำแนะนำในการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ Urine Osmolality
การเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ มีคำแนะนำเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด ดังนี้
- ต้องล้างอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจดก่อน โดยใช้สบู่ในการล้างทำความสะอาดตามด้วยเช็ดด้วยผ้าให้แห้งสนิท
2. ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งลงไปในโถส้วมก่อน จากนั้นกลั้นที่เหลือเอาไว้ แล้วถ่ายลงในภาชนะเก็บปัสสาวะให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งหากยังคงถ่ายไม่สุด ก็ให้ถ่ายทิ้งลงไปในโถส้วมต่อไปจนเสร็จ
3. ปิดฝาภาชนะที่ใส่ปัสสาวะในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปปะปนอยู่ในน้ำปัสสาวะที่จะส่งตรวจ
4. ทั้งสามขั้นตอนข้างต้น จะต้องทำให้รอบคอบและมีความละเอียดมากที่สุด เพราะหากมีสิ่งแปลกปลอมใดตกลงไปเพียงนิด ก็อาจทำให้ค่า osmolarity ที่ได้มีความผิดเพี้ยนไปในทันที ดังนั้นจึงต้องทำให้ละเอียดรอบคอบที่สุด
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolality สามารถอย่างสรุปได้ ดังนี้
1. ค่า Urine osmolality คือตรวจค่าปัสสาวะ ร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำประกอบอยู่ประมาณ 60% ซึ่งในหนึ่งวันหรือตลอด 24 ชั่วโมง ร่างกายของคนเราจะต้องมีการดื่มน้ำและสูญเสียน้ำผ่านทางปัสสาวะและเหงื่ออยู่เสมอ แถมน้ำที่ดื่มเข้าไปในแต่ละวันอาจมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่สามารถประเมินได้ แต่ร่างกายของมนุษย์ก็สามารถรักษาปริมาณน้ำให้คงอยู่ในร่างกายไว้ที่ประมาณ 60% ตลอดเวลาอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าในร่างกายของคนเรามีกลไกหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการยับยั้งการขับน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป โดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวช่วยในการยับยั้ง ด้วยการสั่งการบังคับไตให้ผลิตน้ำปัสสาวะมากหรือน้อย เพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง
2. ฮอร์โมนยับยั้งการขับ Urine osmolality หรือ น้ำออกจากร่างกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาระดับน้ำให้คงอยู่ที่ 60% โดยตลอดเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการรักษาความเข้มข้นของอนุภาคที่เป็นสารชีวเคมีที่ละลายอยู่ในเลือดให้มีความคงที่ตลอดเวลาอีกด้วย นั่นก็เพราะความเข้มข้นของสารชีวเคมีในน้ำเลือดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ความเข้มข้นต่ำหรือสูงเกินไปเด็ดขาด ซึ่งหากสังเกตจะพบว่า
- เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัดกลางแจ้ง โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้ง มักจะปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ นั่นก็เพราะได้สูญเสียน้ำออกทางเหงื่อไปมากแล้วนั่นเอง จึงมีน้ำที่จะถูกขับออกทางปัสสาวะเพียงน้อยนิดเท่านั้น
- เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดหรืออยู่ในห้องแอร์ มักจะปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ นั่นก็เพราะมีการเสียเหงื่อน้อย หรือแทบไม่มีเหงื่อเลย น้ำส่วนใหญ่จึงถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก
และตัวการที่ทำหน้าที่ในการบังคับให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะออกมามากหรือน้อยก็คือฮอร์โมน ADH นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามรักษาระดับความเข้มข้นของสารชีวเคมีในเลือดให้คงที่อยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ ADH ก็มีส่วนช่วยในการรักษาระดับน้ำในร่างกายไว้ให้ได้สัดส่วนที่ 60% ตลอดเวลาเช่นกัน
3. อนุภาคของสารชีวเคมีที่มีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มข้นในเลือด ได้แก่ โซเดียม ของเสียจากไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งสารเหล่านี้ไตจำเป็นจะต้องกรองและขับทิ้งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เพื่อให้ความเข้มข้นในเลือดคงอยู่ในระดับที่มีความคงที่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไตจะมีประสิทธิภาพในการกรองสารเหล่านี้ได้ดีเพียงใด แต่ก็อาจมีหลุดลอยปนไปกับน้ำปัสสาวะได้บ้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงไปทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้นจนสามารถตรวจวัดค่าได้ ซึ่งก็ถูกเรียกว่า Urine osmolality นั่นเอง
4. ค่า Urine osmolality ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะ จะถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติในผู้ที่มีสุขภาพดีได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
- ค่า Urine Osmolality ที่พบในเลือดจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่ก่อนแล้ว เพราะหากอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติก็จะทำให้ค่า Urine osmolality ที่ได้อยู่ในระดับที่ผิดปกติเช่นกัน
- ฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยทิ้งน้ำ หรือ ADH จะต้องทำงานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถบังคับไตให้ผลิตน้ำมากหรือน้อยตามความจำเป็นได้
- ฮอร์โมนแอนโดสเตอโรน ( Aldosterone Hormone ) จะต้องมีความปกติเช่นกัน เพราะทำหน้าที่ในการบังคับไตให้ดูดซึมกลับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย ไม่ให้ถูกปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะจนหมดหรือเกินจากความจำเป็น
- ไต ต้องอยู่ในสภาพที่มีความปกติเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าไตมีความสำคัญที่สุดในการผลิตน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกรองของเสียจากเลือดส่งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เป็นผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นและสามารถวัดออกมาเป็นค่า Urine Osmolality ได้ในที่สุด
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากไตมีสุขภาพดีก็สามารถกรองของเสียจากเลือดเพื่อปล่อยทิ้งออกทางน้ำปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวัดค่า Urine Osmolality ได้เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่หากไตมีความชำรุดเสียหาย จนไม่สามารถทำการกรองได้อย่างปกติ ก็อาจทำให้ตรวจพบว่า Urine osmolality มีค่าสูงขึ้นได้นั่นเอง นอกจากนี้หากเป็นกรณีกรวยไตหรือท่อไตชำรุด ก็จะทำให้ตรวจพบค่า Urine osmolality ต่ำกว่าปกติได้ เนื่องจากไม่สามารถกรองสารของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ค่าการตรวจ Urine osmolality ที่ได้ สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย และใช้ในการตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติของโรคบางชนิดได้ เช่น บอกถึงสภาวะที่โปรตีนปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ หรือสภาวะที่มีน้ำตาลปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เป็นต้น โดยสำหรับผู้ที่อยู่ในสภาวะปกติและมีสุขภาพดี ก็จะปรากฏค่าที่พบและคำนวณได้ดังนี้
Urine Osmolality : Serum Osmolarity = 1 : 3 |
6. หน่วยนับของค่าความเข้มข้นของอนุภาคจากสารชีวเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ ในปัจจุบันมีการเรียกเป็น 2 ชื่อ ซึ่งก็คือ
- Urine osmolality เป็นหน่วยวัดโดยเทียบต่อปริมาตรปัสสาวะจำนวน 1 ลิตร ซึ่งจะเขียนหน่วยวัดย่อๆ ว่า mOsm/L
- Urine osmolality เป็นหน่วยวัด โดยเทียบเป็นจำนวนน้ำที่หนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งจะเขียนหน่วยวัดย่อๆ ว่า mOsm/kg H2O
ค่าปกติของ Urine Osmolality และ Osmolality
- ค่าปกติของ Urine Osmolality ที่ตรวจได้ให้ยึดเอาตามค่าปกติที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี)
2. ค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่
ชนิด Osmolarity Urine Osmolality : 0 – 1,200 mOsm/L |
ชนิด Osmolality Urine Osmolality : > 800 mOsm/kg H2O |
หมายเหตุ จากการใช้ปัสสาวะที่เก็บได้ในช่วง 12-14 ชั่วโมง โดยการจำกัดการบริโภคน้ำและอาหารที่เป็น ของเหลว
ค่าผิดปกติของ Osmolarity ( รวมทั้ง Osmolality )
- เมื่อค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า
- ดื่มน้ำหรือทานอาหารที่มีของเหลวเป็นส่วนประกอบมากเกินไป ทำให้ปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ เพราะร่างกายต้องขับน้ำส่วนเกินออกมาให้เหลืออยู่ที่ 60% นั่นเอง
- เกิดสภาวะชองโรคเบาจืด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ต่อมใต้สมองหรือไตเกิดความผิดปกติ เช่นเป็นโรคบางอย่าง จึงทำให้ฮอร์โมน ADH ที่ผลิตออกมานั้นมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้ง และเนื่องจากไตไม่ตอบสนองต่อ ADH จึงปล่อยน้ำปัสสาวะออกมามากคล้ายกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพียงแต่ไม่มีสีน้ำตาลออกมาเจือปน จึงถูกเรียกชื่อว่าโรคเบาจืด
- เนื้อท่อภายในไตตายเป็นบางส่วน จึงมีการปล่อยปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีการกรองสารละลายออกมาได้น้อยลงด้วย ส่วนสาเหตุที่ทำให้เนื้อท่อในไตตายเป็นบางส่วนนั้น ก็เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ จนทำให้เนื้อบางส่วนในไตขาดออกซิเจนและตายไปในที่สุด นอกจากนี้ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นโดยทั่วไป ได้แก่ ผลจากการผ่าตัดใหญ่ การเกิดปฏิกิริยาจากการรับการถ่ายเลือดและการปล่อยให้ความดันเลือกในร่างกายตกลงต่ำกว่าปกติเป็นเวลานานกว่า 30 นาที ซึ่งก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อท่อไตตายทั้งสิ้น
- ต่อมหมวกไตเกิดความผิดปกติ ทำให้ผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนออกมามากเกินไป เป็นผลให้ไตมีการดูดซึมกลับโซเดียมจากปัสสาวะมากเกินความจำเป็น ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเกิดอาการบวมน้ำ และทำให้ความเข้มข้นของปัสสาวะก็ลดลงไปอย่างผิดปกติอีกด้วย
2. เมื่อค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า
- ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้งออกมามากเกินไป เป็นผลให้น้ำในส่วนใหญ่ถูกดูดซึมกลับเข้าไปในร่างกาย และปล่อยน้ำทิ้งออกมาทางปัสสาวะเพียงน้อยนิดเท่านั้น ดังนั้นเมื่อน้ำปัสสาวะมีปริมาณน้อยลง ในขณธที่สารละลายที่จะปล่อยทิ้งมีจำนวนเท่าเดิม จึงส่งผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อตรวจหาค่า Urine Osmolality จึงพบว่าค่าที่ได้มีค่าสูงขึ้นอย่างผิดปกตินั่นเอง
- เกิดผลข้างเคียงของการเกิดขึ้นของเซลล์ตัวใหม่ ซึ่งเซลล์ที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้อาจไม่ทราบได้แน่นอนว่าเกิดขึ้นบริเวณใด อาจเป็นเซลล์เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งหรือจะเป็นเซลล์มะเร็งร้ายก็ได้ โดยทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุให้ค่า Urine Osmolality สูงขึ้นทั้งสิ้น โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งอย่างแท้จริง นั่นก็เพราะว่าจะเกิดการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้งหรือ ADH ออกมามากเกินไป ซึ่งผลิตนอกแหล่งด้วยตัวมันเองอย่างไร้การควบคุม โดยสาร ADH นี้ก็จะไปดูดซึมน้ำส่วนใหญ่กลับเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดภาวการณ์บวมน้ำและปัสสาวะน้อยลงในที่สุด แต่ในขณะเดียวกันความเข้มข้นของสารละลายในน้ำปัสสาวะก็จะสูงขึ้นมาก การตรวจหาค่า Urine Osmolality จึงพบว่าสูงผิดปกตินั่นเอง
เพราะฉะนั้นหากตรวจพบค่าดังกล่าวสูงโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ก็ให้นึกถึงการเกิดเซลล์มะเร็งไว้ก่อน ซึ่งแม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่สามารถตรวจพบได้ว่ามีเซลล์มะเร็งในร่างกายหรือไม่ แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจเลยทีเดียว
- เกิดอาการหัวใจวายเพราะขาดเลือด ซึ่งอาจเป็นเพราะหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจึงทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ดังนั้นเมื่ออวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดในปริมาณที่ต่ำ โดยเฉพาะไตก็จะทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นๆ มีความผิดปกติไปด้วย ซึ่งทั้งนี้ไตจะสามารถผลิตน้ำปัสสาวะได้น้อยลง และทำให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นในที่สุด
- เกิดจากสาวะของโรคตับแข็ง จึงไม่สามารถควบคุมการปล่อยชีวเคมีเข้าสู่กระแสเลือดได้ เป็นผลให้เลือดมีความเข้มข้นสูง ซึ่งไตก็ต้องทำหน้าที่ในการกรองสารเหล่านี้ออกมาจากเลือดต่อไป เพื่อพยายามรักษาระดับความเข้มข้นของเลือดให้คงที่ จึงทำให้สารชีวเคมีที่จะถูกขับทิ้งไปกับปัสสาวะมีปริมาณที่สูงมาก และตรวจพบค่า Urine Osmolality สูงกว่าปกติได้นั่นเอง นอกจากนี้ในขั้นตอนการตรวจก็จะพบว่าน้ำปัสสาวะมีสีแดงขุ่มข้นอีกด้วย
- เมื่อมีการช็อกเกิดขึ้น ( Shock ) เพราะในขณะช็อกนั้นจะเกิดการหมดสติ ซึ่งก็ทำให้ร่างกายเกิดกลไกอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อพยายามรักษาน้ำในร่างกายให้ปกติเข้าไว้ และไม่สูญเสียไปกับปัสสาวะมากเกินไป ดังนั้นแม้จะได้ผ่านระยะเวลาการช็อกมาแล้ว แต่ปัสสาวะก็ยังคงมีในปริมาณที่น้อยกว่าปกติอยู่ดี ในขณะที่สารละลายมีความเข้มข้นและน้ำปัสสาวะขุ่นข้นมากขึ้น ซึ่งอาจสรุปได้ว่า แม้จะผ่านการช็อกไปแล้วแต่ก็อาจตรวจพบค่า Urine Osmolality ที่มีระดับสูงกว่าปกติได้อยู่ดี
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.
Sands, Jeff M.; Layton, Harold E. (2014-01-01). “Advances in Understanding the Urine-Concentrating Mechanism”. Annual Review of Physiology. 76 (1): 387–409.