การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน (Hormone Assays)
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน เป็นการตรวจหาว่าฮอร์โมนในร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่

ฮอร์โมน ( Hormone )

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ฮอร์โมน ( Hormone ) แต่ก็มีส่วนไม่น้อยเลยที่อาจไม่ทราบว่า ” ฮอร์โมน ” คืออะไร? มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับฮอร์โมนด้วย จะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

ฮอร์โมน คืออะไร ?

ฮอร์โมน คือ กลุ่มของสารเคมีที่ถูกปล่อยออกจากเซลล์ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น เพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ  โดยมีสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

ฮอร์โมน เกิดขึ้นได้อย่างไร

ฮอร์โมน ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลัก 2 สิ่งดังต่อไปนี้

1. เกิดจากปัจจัยภายในที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเอง

โดยปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์เราสามารถที่จะผลิตหรือสร้าง ฮอร์โมน ชนิดต่างๆ ขึ้นมาใช้ได้เองในแต่ละวัน โดยจะผลิตมาจากเซลล์ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.1 เซลล์ของต่อมไร้ท่อ ( Emdocrine Cells )  ฮอร์โมนถูกสร้างจากขึ้นจากต่อมไร้ท่อ มีหลายชนิด เช่น ต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland ) ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Glands ) ต่อมหมวกไต ( Adrenal ) และ รังไข่ ( Ovaries ) ในเพศหญิง และ อัณฑะ  (Test is ) ในเพศชาย เป็นต้น
1.2 เซลล์ของต่อมมีท่อ ( Exocrine Cells ) ฮอร์โมนบางชนิดถูกสร้างขึ้นจากจากต่อมมีท่อ เช่น ต่อมน้ำลาย ( Saliva Glands ) ต่อมน้ำนม ( Mammary Glands ) เป็นต้น

ฮอร์โมน มีความหมายคือ  ” กลุ่มของสารเคมี ” ที่ถูกปล่อยออกจากเซลล์ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น เพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ

2. เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย

นอกจากร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนเองได้แล้ว ยังมี ฮอร์โมน บางชนิด ที่ถูกผลิตมาจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น ได้จากการทานอาหารทั้งที่มาจากพืชและมาจากสัตว์ ดังนี้

2.1 ฮอร์โมนที่ได้มาจากอาหารในกลุ่มของพืช ฮอร์โมนพืช หรืออาจเรียกว่า ไฟโตฮอร์โมน ( Phytohormone ) สามารถพบได้ใน พืชตระกูลถั่วเหลือง เช่น ในถั่วเหลือง หรือ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือ เช่น น้ำเต้าหู้ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว  เป็นต้น  โดยอาหารประเภทถั่วเหลืองนี้ จะไปช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า  Phytoestrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำหรับเพศหญิง มีประโยชน์คือ  ช่วยให้มีผิวพรรณมีความสวยงาม สดใส  ช่วยด้านสภาวะอารมณ์ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น  ทำให้มีเต้านม เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน

2.2 ฮอร์โมนที่ได้มาจากอาหารในกลุ่มของสัตว์  ฮอร์โมนที่มนุษย์สามารถได้รับจากสัตว์บ่อยๆ เช่น ฮอร์โมนความเครียด ( Adrenaline ) คือ ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตของสัตว์ Adrenaline จะหลั่งออกมาขณะที่ มีอาการ โกรธ ตกใจ ตื่นเต้น อย่างรุนแรง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น จากไก่ที่ถูกเลี้ยงขังไว้ในกรงที่แออัด ดังนั้น เมื่อเราบริโภคไก่เข้าไปก็จะทำให้เราได้รับสาร Adrenaline นี้เข้าสู่ร่างกายไปด้วย ซึ่งการทานไก่ที่มี ฮอร์โมน Adrenaline เข้าไปในปริมาณมาก เช่น เมนูไก่ทอด ตามร้านฟ้าสต์ฟู้ดชื่อดัง  อาจทำให้ผู้ที่ทานมีอาการของโรคหลุกหลิก หรือ โรคสมาธิสั้น  มีชื่อทางวิชาการว่า “ Attention-Deficit Hyperactivity Disorder ” สามารถเรียกย่อๆว่า ADHD โดยจะมีอาการที่จะแสดงออกมาคือ  มีบุคลิกอยู่ไม่นิ่ง อยู่กับสิ่งใดได้ไม่นาน มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย  มีสมาธิสั้นกว่าคนอื่นๆ

ช่องทางผ่านของ ฮอร์โมน

ฮอร์โมน ชนิดต่างๆจะมีช่องทางในการลำเรียงตนเองออกจากแหล่งกำเนิด ไปยัง อวัยวะต่างๆหรือเซลล์เป้าหมายต่างๆ  ในร่างกาย โดยอาจแบ่งแยกได้ตามชนิดของฮอร์โมน ดังนี้

1. ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Hormone ) โดยปกติ ฮอร์โมน ที่ถูกสร้างมาจากต่อมไร้ท้อ จะทำการเข้าหาเป้าหมาย โดยผ่านกระแสเลือด ให้การไหลเวียนของเลือดเป็นผู้พาฮอร์โมนไปสู่เซลล์เป้าหมายต่างๆ

2. ฮอร์โมนจากต่อมมีท่อ ( Exocrine Hormone หรือ  Ectocrine Hormone ) ฮอร์โมนชนิดจากต่อมมีท่อ นี้จะสามารถเดินทางไปยังเซลล์เป้าหมายต่างๆ ได้หลายวิธี ทั้งการปล่อยฮอร์โมนผ่านออกทางท่อ (Duct) บางชนิดก็ตรงไปสู่เซลล์เป้าหมายโดยตรง แต่บางชนิดก็ไปอาศัยกระแสเลือดให้ส่งต่อไปยังเซลล์เป้าหมายอีกชั้นหนึ่ง

เซลล์เป้าหมายคืออะไร?

เซลล์เป้าหมาย หรือ อวัยวะเป้าหมาย คือ จุดหมายปลายทางที่ฮอร์โมนชนิดต่างๆ จะต้องเดินทางผ่านช่องทางในร่างกายไปให้ถึงอวัยวะที่มีตัวรับเฉพาะ  ( Specific Receptor ) ของ ฮอร์โมน นั้นอยู่  แม้ว่าในระหว่างทาง ฮอร์โมน ไหลเวียนไป กับกระแสเลือดทั่วร่างกาย พร้อมๆ กัน  ผ่านเซลล์ต่างๆมากมายหลายชนิด แต่จะไม่มีเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีใดๆเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลก็ต่อเมื่อ ฮอร์โมนเดินทางไปถึงเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะแล้วเท่านั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

เซลล์ต้นกำเนิด ชื่อฮอร์โมน ช่องทาง เซลล์เป้าหมาย
ต่อมใต้สมอง FSH เลือด สตรี   :   รังไข่
บุรุษ  :  อัณฑะ
ต่อมใต้สมอง Prolactin เลือด ต่อมน้ำนม  :  เร่งสร้างน้ำนม
รังไข่ Progesterone เลือด ผนังมดลูก  :  เตรียมให้ไข่เกาะ
ตับอ่อน Glucagon เลือด ตับ  :  เร่งให้ผลิตน้ำตาลในเลือด

กลไกการเพิ่มหรือลดระดับฮอร์โมนในร่างกาย

ฮอร์โมน ในร่างกาย เป็นสิ่งที่มีความแปรปรวนได้ง่าย สามารถเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงได้ตลอดเวลา จากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบ โดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความแปรปรวน ดังต่อไปนี้

1. มีฮอร์โมนตัวชนิดอื่นมากระตุ้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกาย ก็อาจจะส่งผลกระทบให้ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการปรับเปลี่ยนไปด้วย เช่น หากร่างกายกำลังขาดอาหาร สมองส่วนไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) จะไปสั่งต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland ) ทำการปล่อยฮอร์โมน “ Ghrelin ” ผ่านเลือดไปยังเซลล์ของกระเพาะอาหารให้เร่งกระตุ้นสร้างความอยากอาหาร ( Stimulate Appetite ) เพื่อให้เกิดการทานอาหารเข้าไปในช่วงที่ร่างกายขาดอาหารนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นความฉลาดในกลไกลในร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น หากมีการตรวจเลือดในขณะที่ร่างกายขาดอาหาร ก็จะพบค่าฮอร์โมน Ghrelin ที่จะมีระดับที่สูงกว่าปกติ

2. ปัจจัยทางด้านอาหารที่บริโภคเข้าไปปัจจัยด้านอาหาร ก็มีผลกระทบต่อการเพิ่มลดฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเกิดได้จากการที่มีระดับ ความเข้มข้นของสารอาหาร หรือประจุไฟฟ้าของธาตุใดในกระแสเลือดมีมากหรือน้อยเกินไป เช่น  การทานอาหารที่มากไปด้วยแป้งหรือน้ำตาล จนทำให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเข้มข้นเกินไป จะส่งผลให้ ตับอ่อน จะปล่อยฮอร์โมน Insulin ออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยควบคุมและลดปริมาณของน้ำตาลในเลือดลง ดังนั้นในเวลานี้หากมีการตรวจเลือดจะสามารถพบฮอร์โมน Insulin ได้ในปริมาณที่สูงกว่าปกติ
3. สภาวะจิตใจและระบบประสาทหากมีภาวะความแปรปรวนทางอารมณ์เกิดขึ้น หรือ จิตใจในขณะนั้นไม่ได้อยู่ในสภาพปกติ เช่น การมีภาวะความเครียด จะส่งผลทำให้ ฮอร์โมน Cortisol ถูกสร้างขึ้นเพิ่มมากว่าปกติจากต่อมหมวกไป  โดย ฮอร์โมน Cortisol สามารถเกิดได้จากความเครียดต่างๆ เช่น การพักผ่อนน้อย การออกกำลังกายมากเกินปกติ  การทำงานหนัก เป็นต้น
4. สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ  ก็มีผลต่อการปรับเพิ่มลดของฮอร์โมนได้เหมือนกัน  เช่น ฮอร์โมน Prolactin ในขณะหลับจะมีระดับสูงกว่าในขณะตื่นมากถึง 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

ฮอร์โมน มีบทบาทอะไรต่อร่างกาย

ฮอร์โมนมากมายที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ และ ฮอร์โมนบางชนิดก็อาจมีหลายบทบาทได้เหมือนกัน  โดยบทบาทหลักๆที่ฮอร์โมนจะส่งผลต่อร่างกาย เช่น ช่วยส่งสัญญาณ ( Signaling ) ช่วยควบคุม ( Controlling ) ช่วยยับยั้ง ( Inhibiting ) ช่วยกระตุ้นเร่งเร้า ( Stimulating ) เป็นต้น ซึ่งบทบาทสำคัญที่ฮอร์โมนมีต่อร่างกาย สามารถสรุปภาพรวม ได้ดังนี้ 

1. อาจช่วยฟื้นฟู หรือ ส่งเสริม หรือ ยับยั้งระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกายได้
2. อาจช่วยควบคุมการเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ
3. อาจช่วยกระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย
4. อาจช่วยชะลอความชราภาพ ช่วยในการ ชะลอการตายของเซลล์ ( Apoptosis )
5. อาจช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจสำหรับวาระการเปลี่ยนผ่านแต่ละวัย เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ วัยทอง วัยอาวุโส
6. ฮอร์โมน จากวัยหนุ่มสาว ช่วยส่งผลต่อการแสดงออกในพฤติการณ์ หรือความประพฤติที่ไม่ปกติของอารมณ์และจิตใจของตัวบุคคลในวัยหนุ่มสาวนั้น
7. อาจช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจในปฏิกิริยาสร้างพฤติกรรมแปลกใหม่ต่อ “ สิ่งเร้า ” ในสถานการณ์เฉพาะหน้า เช่น การต่อสู้ ถอยหนี หรือรู้สึก “ วูบ ” หรือ หน้ามืด “ ลมจับ ” เป็นต้น
8. อาจช่วยควบคุมวงรอบการสืบสายพันธุ์ ( Reproductive Cycle ) ในร่างกายสตรี  เช่น กระตุ้นการตกไข่

จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนนั้นมีบทบาทและมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์เราเป็นอย่างมาก  ฮอร์โมนช่วยทำให้ระบบกลไกร่างกายทำงานได้เป็นปกติ  ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ ก็ล้วนแต่จะต้องได้รับฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกายทั้งสิ้น  หากร่างกายขาดฮอร์โมนที่สำคัญไป  ก็จะทำให้มีผลกระทบที่ไม่ดีตามมาได้  ดังนั้นเราจึงควรดูแลและรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกายเราให้เป็นปกติอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายเรานั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

Hormones and behaviour: a psychological approach. Cambridge: Cambridge Univ. Press. ISBN 978-0521692014. Lay summary – Project Muse.

“Hormones”. MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.