ผักเซเลอรี่ ( Celery ) คืออะไร

0
13286
ผักเซเลอรี่ (Celery) คืออะไร
เซเลอรี่หรือคื่นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก
เซเลอรี่ (Celery)
เซเลอรี่หรือคื่นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก

ผักเซเลอรี่ คือ

ผักเซเลอรี่ ( Celery ) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ขึ้นฉ่ายของฝรั่งจะมีขนาดลำต้นและก้านใบอวบใหญ่กว่าขึ้นฉ่ายจีนแต่มีลำต้นสั้นสีเขียวเหมือนกัน ในตัวก้านนั้นฉ่ำไปด้วยน้ำปริมาณสูงมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าขึ้นฉ่ายจีน มีลักษณะใบเป็นแบบ Pinnate ในหนึ่งก้านจะมีใบประมาณ 5 -7 ใบ ก้านที่อยู่ด้านในมีขนาดเล็กและมีความกรอบ เรียกว่า “ The Heat ”

ผักเซเลอรี่ หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง มีลักษณะเฉพาะของคือก้านใบมีสันกว้าง โคนของก้านใบกว้าง จัดเป็นพืชที่มีแป้งและสารอาหารประเภทแป้งที่สูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการเรียกชื่อส่วนต่างๆของต้น ดังนี้ ใบเรียกว่า Riba, Shanks ก้านใบ มีชื่อเรียกว่า Bunches, Head หรือ Stalks ส่วนที่นิยมนำมาประกอบอาหารคือส่วนที่เป็นก้านใบ และ ใบ เพราะว่า ก้านใบนี้เป็นส่วนที่มีความหนากรอบน่ารับประทานที่สุดเมื่อนำมาปรุงอาหาร ส่วนใบของคื่นฉ่ายฝรั่งนั้นมีสาร Apiin ( Apigenin 7-Apiosylglucoside ) ซึ่งเป็นสารที่เป็นต้นกำเนิดของการเกิดกลิ่นและรสชาติในขึ้นฉ่ายฝรั่ง

ผักเซเลอรี่ ( Celery )หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก ซึ่งน้ำที่มีอยู่ในก้านใบนี้จะทำเรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้นเมื่อรับประทานเข้าไปก่อนที่จะกินอาหารมือหลักหรือรับประทานเล่นแทนขนมและของหวาน

และขึ้นฉ่ายฝรั่ง 100 กรัมนั้นให้พลังงานเพียงแค่ 13 กิโลแคลอรีเท่านั้น ผู้ที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักสามารถรับประทานอาหารขึ้นฉ่ายฝรั่งได้ และเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะเข้าไปเพิ่มปริมาณกากใยอาหารในลำไส้ ช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้นลดอาการหิวได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณและประโยชน์ของเซเลอรี่

ผักเซเลอรี่ ยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ 

แคลเซียม แคลเซียมที่ได้รับจากคื่นฉ่ายฝรั่งนั้น เป็นแคลเซียมที่เหมาะสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และเด็กที่อยู่ในภาวะเป็นโรคกระดูกอ่อน

โพแทสเซียม ผักเซเลอรี่ นั้นมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ที่มีฤทธิ์อ่อนในการขับปัสสาวะออกจากร่างกาย ช่วยลดอาการบวมน้ำและช่วยในให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างได้ดี โดยเฉพาะหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวขาดเลือด ช่วยปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โดยการรับประทานขึ้นฉ่ายนี้วันละอย่างน้อย 4 ก้าน โดยการกินดิบหรือนำมาคั้นทำเป็นน้ำผักเซเลอรี่ ดื่มก็ได้เช่นกัน เมื่อรับประทานอย่างนี้ต่อเนื่องกันเป็นทุกวัน ความดันโลหิตสูงก็จะลดลงอยู่ในระดับปกติและยังช่วยในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะกรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายที่เป็นสาเหตุของโรคเกาต์ เซเลอรี่เป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และมีเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำเป็นส่วนประกอบหลักๆ จึงทำให้รู้สึกอิ่มได้นานยิ่งขึ้น

โซเดียม ที่พบในขึ้นฉ่ายหรือผักเซเลอรี่ จัดเป็นโซเดียมอินทรีย์ทีสามารถช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดและความเป็นด่างในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายรักษาสมดุลของกรดและด่างได้ ป้องกันการเกิดโรคไต

วิตามินซี ขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือผักเซเลอรี่ จะมีวิตามินซีสูงมากเมื่อรับประทานแบบสดๆ วิตามินซีนี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย

เบต้าแคโรทีน เบต้าแคโรทีนในขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือ ผักเซเลอรี่ จะมีมากเมื่อนำขึ้นฉ่ายฝรั่งไปผัดกับน้ำมัน เพราะว่าน้ำมันจะเป็นกระตุ้นให้เบต้าแคโรทีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น สารเบต้าแคโรทีนนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งรังไข่

สารโพลิฟีนอล ที่มีหน้าที่ในการป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของ DNA ที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในร่างกาย และยังช่วยในการลดการอักเสบในร่างกายได้อีกด้วย

สารฟลาโวนอยด์ ที่ชื่อว่า เอพิจินิน ( Epigenin ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติในการลดปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเลือด ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง

เมื่อนำขึ้นฉ่ายหรือ ผักเซเลอรี่ มาสกัดเป็นน้ำพบว่าน้ำขึ้นฉ่าย หรือ น้ำเซเลอรี่นั้นออกฤทธิ์คล้ายกับยากล่อมประสาทที่มาจากธรรมชาติจึงไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ทำให้นอนหลับลึกและรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจเพราะว่าน้ำขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการบำรุงเลือดและหัวใจได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบหืด ช่วยล้างสารพิษตกค้างในเลือดและระบบลำไส้ ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการสูดดมฝุ่นที่มีสารซิลิกาเข้าไปเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ผักเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งยังเป็นผักที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลชนิดไตรกลีเซอไรด์และไขมันที่สะสมอยู่ในเส้นเลือดได้อีกด้วย และผู้สูงอายุบางคนได้กล่าวว่า เวลาที่มีอาการร้อนในให้รับประทานขึ้นฉ่ายเข้าไป จะช่วยลดอาการร้อนในได้ หรือถ้ามีอาการท้องเสีย ท้องร่วง จุกท้อง กรดไหลย้อนหรือกรดเกินในกระเพาะอาหารแล้ว ให้รับประทานขึ้นฉ่ายเป็นประจำ อาการที่กล่าวมาทั้งหมดจะค่อยหายไป

จะพบว่า ผักเซเลอรี่ หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุหลายชนิด แต่ วิธีรับประทานที่ดีที่สุดก็คือการกินดิบหรือว่านำมาปั่นทำเป็นน้ำผักจะปั่นเพียงชนิดเดียว หรือปั่นรวมกับผักผลไม้ชนิดอื่นร่วมด้วยก็ได้ผลดีเช่นกัน ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก จัดว่าเป็นผักที่ควรนำมารับประทานในชีวิตประจำวันอีกชนิดหนึ่ง

คุณค่าทางโภชนาการของ เซเลอรี่ 100 กรัมส่วนที่กินได้

คุณค่าทางโภชนาการของ
เซเลอรี่

เซเลอรี่ 100 กรัม

พลังงาน 67 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.34 กรัม
เส้นใย 1.6 กรัม
โปรตีน 0.69 กรัม
วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.320 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม
วิตามินซี 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม
วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม
แคลเซียม 40 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.20 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม
โซเดียม 80 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

อ้างอิงจาก ndb.nal.usda.gov

การปลูกเซเลอรี่

เซเลอรี่เป็นผักเมืองหนาวที่ปลูกง่าย โตเร็ว แต่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่าพิถีพิถันจึงจะได้ผลผลิตสูง
ดังนั้น ในส่วนของการให้น้ำต้องให้อย่างสม่ำเสมอ เพราะเซเลอรี่เป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้น
เมื่อเซเลอรี่มีอายุ 25-30 วันให้ปุ๋ย ซึ่งช่วงนี้จะต้องเก็บวัชพืชออกและเด็ดหน่อที่เกิดใหม่ทิ้งไป

Celery Detox คือ

เซเลอรี่ดีท็อกซ์ คือ การดื่มเครื่องดื่มเซเลอรีเพื่อให้มีผลดีต่อร่างกาย ช่วยลดปัญหาเรื่องสิว ทำให้การขับถ่ายเป็นปกติ และช่วยลดน้ำหนัก ผลจากการดื่ม Celery Detox พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำเซเลอรี่เป็นประจำ มีสิวอักเสบหรือสิวผดผื่นตามใบหน้าลดลง อาการปวดหัวไมเกรนลดลง และอาการผื่นแพ้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเชื่อกันว่า ในเซเลอรีมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยเรื่องการขับของเสีย ขับสารพิษ และสารเคมีตกค้างออกจากร่างกาย

วิธีทำน้ำเซเลอรี่ ( Celery Juice )

น้ำเซเลอรี่ หรือน้ำขึ้นฉ่ายฝรั่ง เป็นกระแสฮิต ติดลมบนอยู่พักใหญ่สำหรับสายรักสุขภาพ และสาว ๆ ต้องรู้จักเป็นอย่างดี เพราะน้ำเซเลอรี่ หรือ น้ำผักขึ้นฉ่ายนั้น เป็นอีกหนึ่งเมนูควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินในร่างกาย น้ำเซเลอรี่มีวิธีการทำได้ง่ายมาก วันนี้ Amprohealth นำวิธีทำน้ำเซเลอรี่มาฝากค่ะ

สูตรน้ำเซเลอรี่มีหลายชนิด แบ่งตามความชื่นชอบชนิดของผัก และที่เป็นที่นิยมมากสุดคือ น้ำเซเลอรี่แครอท

วิธีทำน้ำเซเลอรี่แครอท
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 ขึ้นฉ่ายฝรั่งสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 แครอทสดปอกเปลือกหั่นชิ้น 300 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด แครอทสด แอปเปิ้ลเขียวสด ปั่นรวมกัน ใช้ผ้าขาวบางกรองกากทิ้ง
2. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว สามารถดื่มได้ทันที หรือผสมน้ำแข็งก่อนดื่มเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น หรือ แช่เย็นก่อนดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นได้
หมายเหตุ :
1. สำหรับท่านไหนไม่ชอบความเปรี้ยวของมะนาว สามารถใช้น้ำส้มคั้นสดแทนน้ำมะนาวได้
2.ควรดื่มให้หมดไม่ควรทิ้งข้ามคืน

วิธีทำน้ำเซเลอรี่แตงกวา
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 ขึ้นฉ่ายสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 แตงกวาสด ไม่ปอกเปลือก หั่นชิ้น 200 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 ขิงสด ปอกเปลือก หั่นแว่น 1 แง่ง
5 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด แตงกวาสด แอปเปิ้ลเขียวสด ขิงสด ปั่นรวมกัน กรองกากทิ้ง
2. บีบน้ำมะนาวสดเป็นการปรุงรสชาติลดความขืนของผักเซเลอรี สามารถดื่มได้ทันที หรือ แช่เย็นเพื่อเพิ่มความสดชื่นได้ หรือลดความเผ็ดร้อนของขิงด้วยเกลือเล็กน้อยได้

วิธีทำน้ำเซเลอรี่สับปะรดมิ้นท์
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 คื่นฉ่ายสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 สับปะรดสด ปอกเปลือก หั่นชิ้น 400 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 ใบมิ้นท์ ( ใบสาระแหน่ ) 10 ใบ
5 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด สับปะรดสด แอปเปิ้ลเขียวสด ใบมิ้นท์ ปั่นรวมกัน กรองกากทิ้ง
2. บีบน้ำมะนาวสดเป็นการปรุงรสชาติ โรยหน้าด้วยใบมิ้นท์ ดื่มสดให้หมดแก้ว หรือ แช่เย็นเพิ่มความสดชื่น ไม่ควรเก็บข้ามวัน

หากท่านไหนยังไม่ชอบดื่มน้ำเซเลอรี่ จะลองทานก้านเซเลอรี่สดจิ้มเครื่องจิ้มได้ตามใจชอบ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

Celsus, de Medicina, Nesheim, M.C. (2012). Why Calories Count: From Science to Politics. University of California Press. 

Heiner, DC (1993). “Food-induced anaphylaxis”. The Western journal of medicine. 10.

Fortin ND. Food Regulation: Law, Science, Policy and Practice. John Wiley and Sons, 2009.