ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี ในประเทศไทยมักจะพบตามข้างถนนหรือที่รกร้าง และตามริมน้ำลำธาร เป็นไม้ล้มลุกที่มีดอกสีเหลือง มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาของชาวประเทศจีนและอินเดีย ส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนนำมาทานในรูปแบบของผักสดจิ้มกับน้ำพริก และที่สำคัญส่วนของเมล็ดมีน้ำมันและวิตามินเอฟหรือกรดไลโนเลอิก ซึ่งสามารถนำมาใช้ทานได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเสี้ยนผี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome viscosa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Asian spider flower” “Tickweed” “Polanisia vicosa” “Wild spider flower” “Stining cleome” “Wild caia tickweed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ผักส้มผี ส้มเสี้ยนผี” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลับ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ CLEOMACEAE
ชื่อพ้อง : Arivela viscosa (L.) Raf.

ลักษณะผักเสี้ยนผี

ต้น : ต้นมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุม มีกลิ่นเหม็นเขียว
ใบ : เป็นใบประกอบ มี 3 – 5 ใบย่อย เป็นสีน้ำตาลแดง ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปวงรี ขอบขนาน หรือรูปไข่หัวกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนใบเรียวสอบ ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ มีดอกจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก กลีบดอกสีเหลือง 4 กลีบ แผ่นกลีบมีลักษณะเป็นรูปวงรี ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว อับเรณูเป็นสีเทาอมเขียว รังไข่เป็นรูปทรงกระบอกสั้น
ผล : เป็นฝักคล้ายถั่วเขียวขนาดเล็กมาก ตรงปลายมีจะงอยแหลม
เมล็ด : ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีลักษณะผิวขรุขระย่นเป็นแนว มีสีน้ำตาลแดง

สรรพคุณของผักเสี้ยนผี

  • สรรพคุณ ช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับ แก้ทางขึ้นทรวงอก ช่วยรักษาโรคริดสีดวง แก้บานทะโรค ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV ช่วยแก้อาการปวด ช่วยแก้อาการเหน็บชาตามแข้งขา ช่วยแก้อาการปวดขา แก้เส้นเลือดขอด แก้โรคเหน็บชา แก้ลุกนั่งเดินลำบาก รักษาโรคเบาหวาน
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย ช่วยแก้ลม ช่วยแก้ลมบ้าหมู ช่วยแก้อาการหูอักเสบ ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้ตรีโทษ ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ลงท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิในลำไส้ ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด ช่วยแก้พิษฝีแก้ฝีในปอด แก้ฝีในลำไส้ แก้ฝีในตับ ช่วยขับหนองในร่างกาย ช่วยทำให้หนองแห้ง เป็นยาทาภายนอกช่วยแก้โรคผิวหนัง ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ เป็นยาแก้อาการปวดหัวเข่า
    – แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว ด้วยการนำทั้งต้น ใบขี้เหล็กอ่อน ดอกขี้เหล็กอ่อน และรากต้นผลใบ ดอกของแมงลัก มาต้มกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก เป็นยากระตุ้นหัวใจ ช่วยแก้วัณโรค เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับพยาธิตัวกลม เป็นยาแก้อาการปวดหัวเข่า แก้อาการอัมพาต แก้มือตายเท้าตาย ช่วยแก้โรคผอมแห้งของสตรี
  • สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยากระตุ้นหัวใจ เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับพยาธิตัวกลม
    – ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการนำเมล็ดมาต้มหรือชงดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้ปัสสาวะพิการหรืออาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ปัสสาวะขุ่น แก้อาการปวดเวลาปัสสาวะ ช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ แก้อาการปวดศีรษะและปวดตามข้อ แก้อาการปวดหลัง ทำให้เลือดลมเดินสะดวก เป็นยาแก้ขัด แก้ยกไหล่ยกแขนไม่ขึ้น รักษาแผล
    – แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอก
    – ช่วยแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ ช่วยแก้อาการหูคัน ด้วยการนำใบ 3 – 4 ใบมาขยี้พอช้ำ ใช้อุดที่หู
  • สรรพคุณจากผล ช่วยฆ่าพยาธิ
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังและพยาธิต่าง ๆ เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาแผล
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นยาแก้ขัด แก้ยกไหล่ยกแขนไม่ขึ้น

ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อนนำมานำมาดองเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ขนมจีน ปรุงเป็นอาหาร เมล็ดมีน้ำมันใช้ทานได้

ผักเสี้ยนผี เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรภายนอก ส่วนของเมล็ดมีน้ำมันและมีวิตามินที่สามารถนำมาทานได้ด้วย เป็นผักที่พบได้ทั่วไปตามริมทาง มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสีย ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด รักษาโรคข้ออักเสบและรักษาโรคเบาหวานได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th. [6 ต.ค. 2013].
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
GotoKnow. (คุณมะเดื่อ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [6 ต.ค. 2013].
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.uru.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sopon.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
กองพยาบาลสาธารณสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: phn.bangkok.go.th. [6 ต.ค. 2013].
เนคเทค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [6 ต.ค. 2013].
ไทยเฮิร์บคลับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaiherbclub.com. [6 ต.ค. 2013].
ตามรอยพระพุทธบาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tamroiphrabuddhabat.com. [6 ต.ค. 2013].
ภูมิปัญญาไทย สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. [ออนไลน์]. [อ้างอิงใน: มติชน 1 ตุลาคม 2545]. เข้าถึงได้จาก: www.thaiwisdom.org. [6 ต.ค. 2013].
สมุนไพรพัทลุง เครือข่ายกาญจนาภิเษก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th. [6 ต.ค. 2013].
ไทยโพสต์, ภูมิปัญญาการกินและใช้ผักเสี้ยน [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [6 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
รูปอ้างอิง
1.https://apps.lucidcentral.org/