มะเดื่อฝรั่ง
มะเดื่อฝรั่ง (Fig) เป็นหนึ่งในผลไม้ที่อร่อยมีถิ่นกำเนิดในตุรกีไปจนถึงอินเดีย ส่วนใหญ่ปลูกในสภาพอากาศที่อบอุ่น มะเดื่อลูกฟิกมีวิธีทานทั้งแบบสดและแบบแห้งมีรสหวานโดยธรรมชาติอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น กรดฟีนอลและฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สามารถช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังและเกิดการอักเสบได้ ผลไม้ชนิดนี้มีอยู่หลายร้อยชนิดจะมีสี รสชาติ และขนาดที่แตกต่างกัน สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก ชื่อสามัญ Fig ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะเดื่อ คือ Ficus carica L. อยู่ในวงศ์ขนุน ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะเดื่อญี่ปุ่น มะเดื่อฝรั่ง มะเดื่อในบทความนี้เป็นคนละชนิดกับมะเดื่อไทย (มะเดื่ออุทุมพร, มะเดื่อชุมพร) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus racemosa L.
ลักษณะมะเดื่อฝรั่ง
- ต้น มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง พบเจอเยอะที่ในประเทศตุรกี กรีก เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ที่ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ที่ลำต้นมียางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะหนาและแข็ง ด้านหนึ่งจะมีขน ที่ผิวด้านบนจะหยาบ ที่ขอบใบจะหยักลึก 3-5 หยัก - ผล ออกเป็นกระจุก ผลมีลักษณะกลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกจะบาง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง สีแดง สีชมพู ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เนื้อมีสีแดงเข้ม เนื้อผลสุกจะกลิ่นหอม มะเดื่อยังเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอียิปต์ อิตาลี กรีซ
ประเทศไทยมีการนำเข้ามะเดื่อแห้งจากต่างประเทศ มีการทดลองปลูกมะเดื่อครั้งแรกที่ดอยอ่างขางเมื่อ พ.ศ.2524 มูลนิธิโครงการหลวงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น มะเดื่อเป็นผลไม้ต่างถิ่นมีคุณค่าทางโภชนาการสูงติด 1 ใน 10 ของโลก
สรรพคุณของมะเดื่อฝรั่ง
- ช่วยเสริมสร้างพลังทางเพศได้
- ช่วยฟอกตับกับม้ามได้
- ช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย กำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ และช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
- บรรเทาอาการเจ็บคอได้
- บำรุงกระดูกกับฟันให้แข็งแรง และช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
- ป้องกันโรคโลหิตจางได้ เพราะมีธาตุเหล็กกับโฟเลตสูง
- ลดความเสี่ยงการของเกิดโรคหัวใจกับหลอดเลือดได้
- ช่วยบำรุงร่างกายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้
- ช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดของโรคมะเร็งเต้านมในหญิงวัยทองได้
- บรรเทาอาการของโรคกามโรคได้
- ป้องกันนิ่วในไต, กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- สามารถใช้เป็นยาระบาย และช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
- สามารถสมานแผลในช่องปากได้
- สามารถปรับสมดุลกรดด่างในร่างกายได้
- ช่วยบำรุงและช่วยรักษาสายตาได้
- สามารถทำให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ และช่วยป้องกันการเกิดของโรคความดันโลหิตสูงได้
- สามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดของโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้
ประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่ง
- สามารถใช้เปลือกของมะเดื่อแทนน้ำตาลได้
- มีแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัสสูง สามารถช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม เพิ่มความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อได้
- ให้พลังงานสูง จะมีคอเลสเตอรอลกับไขมันน้อย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคตับ สามารถทานได้
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดปริมาณการใช้อินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
- สามารถทานเป็นผลไม้สดได้ และสามารถใช้ทำขนมได้ อย่างเช่น พาย แยม อบแห้ง ผลไม้กวน พุดดิง เค้ก ไอศกรีม ใช้ผสมในชาไข่มุก ใส่ในขนมแทนลูกเกด นำผลแห้งไปคั่ว แล้วป่นใช้แทนกาแฟ
- ประเทศอินเดียนิยมนำใบของมะเดื่อมาทานเป็นอาหาร
- สามารถช่วยคงความอ่อนเยาว์และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้
- มะเดื่อเหมาะมากกับผู้ที่ต้องลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีเส้นใยสูง
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของผลแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 249 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหาร |
วิตามินบี 1 | 0.085 มิลลิกรัม 7% |
วิตามินบี 2 | 0.082 มิลลิกรัม 7% |
วิตามินบี 3 | 0.619 มิลลิกรัม 4% |
วิตามินบี 5 | 0.434 มิลลิกรัม 9% |
วิตามินบี 6 | 0.106 มิลลิกรัม 8% |
วิตามินบี 9 | 9 ไมโครกรัม 2% |
วิตามินซี | 1.2 มิลลิกรัม 1% |
วิตามินเค | 15.6 ไมโครกรัม 15% |
คาร์โบไฮเดรต | 63.87 กรัม |
เส้นใย | 9.8 กรัม |
โปรตีน | 3.3 กรัม |
น้ำตาล | 47.92 กรัม |
ไขมัน | 0.93 กรัม |
โคลีน | 15.8 มิลลิกรัม 3% |
ธาตุเหล็ก | 2.03 มิลลิกรัม 16% |
ธาตุแมงกานีส | 0.51 มิลลิกรัม 24% |
ธาตุโพแทสเซียม | 680 มิลลิกรัม 14% |
ธาตุสังกะสี | 0.55 มิลลิกรัม 6% |
ธาตุแคลเซียม | 162 มิลลิกรัม 16% |
ธาตุแมกนีเซียม | 68 มิลลิกรัม 19% |
ธาตุฟอสฟอรัส | 67 มิลลิกรัม 10% |
ธาตุโซเดียม | 10 มิลลิกรัม 1% |
ข้อมูลจาก USDA Nutrient database
แนะนำ การทานแห้งอาจจะทำให้ฟันผุ เพราะมีน้ำตาลสูง การทานมะเดื่อมากไปอาจทำให้ท้องร่วงได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, www.organicfacts.net
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.eatingwell.com/
2.https://www.homesandgardens.com/