ผักเชียงดา ( จินดา ) ต้านเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย พื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือที่มีอากาศหนาว สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย

ผักเชียงดา คือ

ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum ( Lour. ) Decne. เป็นผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือที่มีอากาศหนาว ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ พันธุ์ที่พบมากคือ ผักเชียงดาสายพันธุ์ Gymnema inodorum ผักเชียงดานำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

ลักษณะของผักเชียงดา

ผักเชียงดาเป็นไม้เถาเลื้อย มีสีเขียวเข้ม ลำต้นที่อยู่เหนือดินมียางสีขาว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ใบรูปหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร ใบกว้าง 9-11 เซนติเมตร ใบยาว 15-19 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากซอกใบ ดอกย่อย กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาวเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นกระจุกแน่น ผลเมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด

ผักเชียงดาช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1 และ  type 2 ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล

สรรพคุณของผักเชียงดา

1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง
2. ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ลดความร้อนในร่างกาย
3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
4. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
5. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล
6. ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับ ช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวาน
7. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
8. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
9. ช่วยลดน้ำหนัก   
10. ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง เคืองตา
11. ต้นช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ
12. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
13. ต้นช่วยแก้โรคบิด
14. ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงาน รักษาอาการท้องผูก
15. ต้นช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
16. ช่วยขับระดูของสตรี
17. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี

น้ำ 82.9 กรัม
โปรตีน 5.4 กรัม
ไขมัน 1.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
กากใยอาหาร 2.5 กรัม
เถ้า 1.6 กรัม
แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม
วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเชียงดา

  • สารสำคัญที่ได้ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid
  • มี Flavonoid
  • คาเทชิน
  • โปรแอนโทไซนานิดิน ( Proanthocyanidin )
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin Furmeric
  • ไกลเบนคลาไมด์ ( glibenclamide )
  • เบต้าแคโรทีน
  • มีวิตามินซี
  • สารกลูต้าไธโอน
  • วิตามินอี
  • มี Gymnemic acid

ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมาก ไม่ควรกินผักเชียงดาในขณะท้องว่าง และในผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง และผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาลดน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานผักเชียงดาและผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาทุกชนิด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ผักเชียงดา สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://health.kapook.com [20 มกราคม 2563].

10สรรพคุณขั้นเทพ!!!ของ”ผักเชียงดา”(BENEFIT OF GYMNEMA INODORUM) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://herb4health.com [20 มกราคม 2563].