กุยช่าย ใบเป็นยาสมุนไพร บำรุงกระดูก ป้องกันมะเร็ง ดีต่อระบบเลือด

0
1801
กุยช่าย
ต้นกุยช่าย เป็นต้นที่นิยมนำมาใช้รับประทานเป็นอาหาร ผัดกับตับหมู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

กุยช่าย

กุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นไม้ล้มลุก ส่วนของดอกมีสีขาว และมีกลิ่นหอม เป็นต้นที่นิยมนำมาใช้รับประทานเป็นอาหาร ด้วยการเอาดอกมาผัดกับตับหมู หรือใช้ใบสดทานกับลาบหรือผัดไทย แถมส่วนของใบยังมีส่วนช่วยปรุงแต่งอาหารให้อร่อยมากขึ้นด้วย ที่สำคัญเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีฤทธิ์ร้อน จึงช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของต้นกุยช่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler ex Spreng.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Garlic chives” “Leek” “Chinese chives” “Oriental garlic” “Chinese leek” “Kow choi”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักไม้กวาด” ภาคอีสานเรียกว่า “ผักแป้น” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “กูไฉ่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)

ลักษณะของต้นกุยช่าย

เหง้า : เหง้าเล็กและแตกกอ
ใบ : เป็นรูปขอบขนาน และใบแบน ที่โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน
ดอก : ออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม เมื่อดอกเจริญจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอกสีขาว 6 กลีบ กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย มีเกสรตัวผู้ 6 ก้านอยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 ก้าน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
ผล : เป็นผลกลม ภายในมี 3 ช่องและมีผนังตื้น เมื่อแก่จะแตกตามตะเข็ม ในผลมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
เมล็ด : ขรุขระและมีสีน้ำตาลแบน

สรรพคุณของต้นกุยช่าย

  • สรรพคุณจากต้นช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดต่ำ รักษาภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ แก้อาการอ่อนเพลีย
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย แก้ไร้สมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดระดับความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการโรคเบาหวานและวัณโรค ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาอาการหวัด ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืดในเด็ก ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้ริดสีดวงหด ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้โรคหนองในได้ดี ช่วยบำรุงไต ช่วยแก้ลมพิษ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยหรือแมงป่องกัด ช่วยแก้อาการห้อเลือดบริเวณท้อง ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว แก้ห้อเลือด แก้ปวด ช่วยแก้อาการช้ำใน แก้กระจายเลือดไม่ให้คั่ง ช่วยรักษาแผลที่หนองเรื้อรัง ช่วยแก้แมลงหรือตัวเห็บ แก้ตัวหมัดเข้าหู ช่วยบำรุงน้ำนมและขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยลดการอักเสบ แก้สตรีมีครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือเบื่ออาหาร แก้อาการวิงเวียน
  • สรรพคุณจากราก ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล ช่วยแก้อาเจียน ช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยฆ่าแมลงกินฟัน ช่วยขับพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิแส้ม้า ช่วยแก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย เป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อน เป็นยาฆ่าสัตว์
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้โรคหนองในได้ดี ช่วยบำรุงน้ำนมและขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยลดการอักเสบ

ประโยชน์ของต้นกุยช่าย

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ส่วนของใบช่วยปรุงแต่งรสอาหารให้อร่อยมากขึ้น นิยมนำดอกมาผัดกับตับหมู หรือนำใบสดมาทานกับลาบหรือผัดไทย ใบยังนำมาทำเป็นไส้ของขนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของดอก

คุณค่าทางโภชนาการของดอก ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม
เส้นใย 3.4 กรัม 
ไขมัน 0.2 กรัม
เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม 
วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม 
ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้น ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม
เส้นใย 3.9 กรัม
ไขมัน 0.3 กรัม
เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม
ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม

ต้นกุยช่าย เป็นผักที่มีฤทธิ์ร้อน มีแคลเซียม ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสสูง จึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นผักที่พบได้ทั่วไปในเมนูอาหารไทย มักจะเรียกกันว่า “ผักไม้กวาด” มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาสายตา ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็งและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นผักที่ดีต่อระบบเลือดในร่างกายเป็นอย่างมาก

เอกสารอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา. (พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และปาริชาติ พุ่มขจร.), ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์ นักวิจัยทางด้านโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (วิทิต วัณนาวิบูล), นิตยสารครัว ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2544 หน้า 34
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
รูปอ้างอิง
1.https://www.hospitalitymagazine.com.au/all-about-garlic-chives/