10 ประโยชน์ที่น่าอัศจรรย์ของหอมแดงเพื่อสุขภาพ
หอมแดง หอมหัวเล็ก หอมแกง เป็นพืชตระกูลกระเทียม หัวหอม และกุยช่าย มีเอนไซม์อัลลิเนส ซึ่งใช้ในการต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรีย

หอมแดง

หอมแดง (Shallot) คือ พืชในวงค์ตระกูล AMARYLIDACEAE ที่มีทั้งกระเทียม หัวหอม และกุยช่ายมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากต่อคนไทย และเป็นส่วนประกอบในอาหารไทยมากมาย ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักหอมแดงอย่างแน่นอน ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันเป็นอย่างดีว่าหอมแดงมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในด้านใดบ้าง นอกจากจะสำคัญต่อสุขภาพแล้วหอมแดงถือเป็นพืชที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในไทยและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือในประเทศไทยเราถือเป็นแหล่งเพาะปลูกหอมแดงที่มีคุณภาพและโด่งดัง โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษ ในหอมแดงสดมีเอนไซม์อัลลิเนส (alliinase) เป็นสารประกอบกำมะถันปริมาณสูงจากธรรมชาติ ซึ่งใช้ในการต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันโรคหวัด คัดจมูก ช่วยรักษาการติดเชื้อและอาการแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดหัว และแพ้อาหารบางชนิด รวมถึงสารสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นฉุนของหัวหอมแดง คือ Propenedisulphide ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดไขมันในเส้นเลือดและลดน้ำตาลกลูโคสในเลือด

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหอมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium ascalonicum L.
ชื่อสามัญ : หอมแดงมีชื่อสามัญว่า “Shallot”
ชื่อท้องถิ่น : ชื่อทางภาคกลางเรียกว่า “หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักบั่ว” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว” ส่วนภาคใต้เรียกว่า “หอมแกง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae)
ชื่อพ้อง : Allium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum

ลักษณะของหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชที่มีลำต้นสั้นและฝังอยู่ใต้ดิน
ใบ : ใบเป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบและตั้งตรงขึ้นฟ้า แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 – 8 ใบต่อต้น
ราก : เป็นรากฝอยขึ้นบริเวณก้นของหัวหอม
ดอก : ดอกมีลักษณะเป็นช่อคล้ายร่ม ประกอบไปด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอก 6 กลีบ มีสีขาวอมม่วง มักจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
หัวหอมแดง : หัวมีลักษณะกลมสีม่วงอมแดง ประกอบด้วยหัวเล็ก ๆ อยู่รวมกันหลายหัว มีเปลือกบาง ๆ ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เนื้อภายในจะมีสีม่วงอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของหอมแดง

หอมแดง  100 กรัม ให้พลังงาน 72 แคลอรี่ (Kcal)
สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
โซเดียม 12 มิลลิกรัม
ไขมันทั้งหมด 0.1 กรัม
ไขมันอิ่มตัว 0 กรัม
คอเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 334 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 17 กรัม
โปรตีน 2.5 กรัม
น้ำตาล 8 กรัม
ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร 3.2 กรัม
วิตามินเอ 4 IU
แคลเซียม 37 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 0.3 มิลลิกรัม

10 ประโยชน์ที่ของหอมแดงเพื่อสุขภาพ

หอมแดงสดอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการทั้งรสชาติเผ็ดและกลิ่นฉุน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งใยอาหารที่ดีและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลลิซิน (allicin) เควอซิติน (quercetin) และเปปไทด์ (Peptide) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีคุณสมบัติต้านไวรัสและแบคทีเรีย

1. หอมแดงเต็มไปด้วยเปปไทด์และโปรตีน ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น ไข้หวัด คัดจมูก เจ็บคอ
2. บำรุงหัวใจให้แข็งแรง โดยการลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีและป้องกันการสะสมของไขมัน (คราบพลัค) เกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง หอมแดงยังสามารถลดอาการของโรคหัวใจได้
3. ป้องกันโรคอ้วน และน้ำหนักเกิน เนื่องจากเอทิลอะซิเตทในหอมแดงช่วยป้องกันการก่อตัวของไขมันส่วนเกิน ดังนั้นการกินหอมแดงสดหรือใส่ในอาหาร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
4. ป้องกันโรคเบาหวาน จากการวิจับพบว่าสารประกอบฟลาโวนอยด์ในหอมแดงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการยับยั้งการสลายตัวของอินซูลินในตับ รวมถึงควบคุมการผลิตอินซูลินของร่างกายและช่วยรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดี
5. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการแพ้ หอมแดงมีคุณสมบัติต้านไวรัสและต้านเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นหวัดการกินหอมแดงสามารถช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก เจ็บคอ และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้
6. กระตุ้นการทำงานของสมองสูง
7. ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดปัญหาสายตา ในหอมแดงมีวิตามินเออยู่มากซึ่งช่วยรักษาสายตาและลดโอกาสการเกิดต้อกระจกได้
8. ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ในหัวหอมมีสารเคมีเอทิลอะซิเตทช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เนื่องจากหัวหอมมีคุณสมบัติต้านการอักเสบช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
9. หอมแดงที่มีธาตุเหล็กและทองแดงสูง สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและการขยายหลอดเลือดในร่างกาย โดยการกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
10. หัวหอมและกระเทียมมีเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย การอักเสบ ไวรัส และการติดเชื้อทั้งที่พบได้บ่อยและอาการรุนแรง

แนะนำเมนูอาหารใส่หอมแดง

  • ไข่ตุ๋นหมูสับหอมแดง
  • ไข่เจียวหอมแดง
  • ยำปลากระป๋องใส่หอมแดง
  • ลาบหมูใส่หอมแดง
  • ยำไข่เค็มโรยหอมแดง

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรรับประทานหอมแดงมากจนเกินไปหรือรับประทานบ่อยครั้งเพราะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสีย และอาจทำให้มีอาการหลงลืมง่ายไปจนประสาทเสียได้
2. น้ำจากหอมแดงมีสารกำมะถันซึ่งทำให้แสบตา แสบจมูก และผิวหนังอาจมีอาการระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณที่ผิวบอบบาง

เนื่องจากหัวหอมแดงอุดมไปด้วยกรดโฟลิก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าโดยการลดระดับโฮโมซิสเทอีนในร่างกาย ดังนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในอาหารไทยหลากหลายเมนู มีกลิ่นที่ค่อนข้างแรงแต่เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกโล่งจมูก ถือเป็นพืชที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณมากมายและเป็นสมุนไพรที่คนไทยต้องเคยกิน ไม่ว่าจะกินสดหรือจากส่วนประกอบในเมนูอาหารต่าง ๆ สรรพคุณที่โดดเด่นของหอมแดงเลยก็คือช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกาย เป็นยาถ่าย บำรุงเลือดและช่วยแก้หวัดได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม