ละมุด ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชั้นเยี่ยม

0
1408
ละมุด ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชั้นเยี่ยม เป็นไม้ยืนต้นโตช้า ผลจะมีผิวหยาบ ผลดิบมียางสีขาวรสฝาด ผลสุกเนื้อนิ่มสีน้ำตาลรสหวาน
ละมุด
ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ผลจะมีผิวหยาบ ผลดิบมียางสีขาวรสฝาด ผลสุกเนื้อนิ่มสีน้ำตาลรสหวาน

ละมุด

ละมุด (Sapodilla) เป็นไม้ยืนต้นโตช้า ผลจะมีผิวหยาบเมื่อสุกเนื้อสีน้ำตาลหวานนิ่ม อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชั้นเยี่ยมรับประทานผลสุกช่วยให้อิ่มนานขึ้นและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara zapota (L.) P.Royen อยู่ในวงศ์พิกุล ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ชวานิลอ สวา ละมุดฝรั่ง

ลักษณะ

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถวประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง อินเดียตะวันตก เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พุ่มทึบ กิ่งก้านแตกออกเป็นชั้น รอบ ๆ ลำต้น มีแหล่งปลูกในประเทศไทยที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี สายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ละมุดไทย และละมุดฝรั่ง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ตามปลายกิ่ง ท้องใบเป็นสีน้ำตาลอมเขียว
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามง่ามกิ่ง มีกลีบรองดอกเรียงกันอยู่ 2 ชั้น และมีกลีบดอกเชื่อมกัน ยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล
  • ผล มีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือที่ปลายแหลม ผิวเป็นสีน้ำตาล ผลดิบมียางสีขาว ยางมีสารที่ชื่อว่า Gutto มีรสฝาด แข็ง ผลสุกจะนิ่ม รสหวาน ไม่มียาง ในผลมีเมล็ดรูปรียาวสีดำอยู่ในเนื้อ 1 ผลมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด

ประโยชน์ของละมุด

  • สามารถใช้ทานเป็นผลไม้ ทำไวน์ ทำเครื่องดื่ม
  • ช่วยให้รู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า
  • ช่วยให้รู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า
  • ยางสีขาวที่ทุกส่วนของลำต้นนำไปใช้ทำหมากฝรั่งกับรองเท้าบูทได้
  • ผลมีเส้นใยเยอะมาก ช่วยขับถ่ายและป้องกันอาการท้องผูกได้ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  • เปลือกลำต้น ต้มปรุงใช้เป็นยาแก้บิด (ประเทศฟิลิปปินส์)
  • สามารถนำเมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัมให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 5 0.252 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.037 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม 18%
โปรตีน 0.44 กรัม
เส้นใย 5.3 กรัม
ไขมัน 1.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 19.96 กรัม
ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโพแทสเซียม 193 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม 1%
ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 6%

ข้อมูลจาก USDA Nutrient database

วิธีการทำน้ำละมุด

  • วัตถุดิบที่ต้องเตรียมมีดังนี้ เนื้อ 1 ถ้วย, เกลือป่น 1/4 ช้อนชา, น้ำแข็งทุบ 1 แก้ว, น้ำเปล่า 1 ถ้วย
  • ปอกเปลือกผลเอาแต่เนื้อ แล้วใส่ลงในเครื่องปั่น
  • เติมเกลือ น้ำเปล่า น้ำแข็งลงไปตาม
  • ปั่นจนละเอียดให้เข้ากัน
  • เทใส่แก้ว จะได้น้ำปั่นแบบเย็นชื่นใจ

ผลไม้ชนิดนี้มีรสหวานจัด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรบริโภคเล็กน้อยนานครั้ง ไม่ควรให้เด็กเล็กรับประทานคนเดียว ถ้าต้องการให้เด็กรับประทานควรเอาเมล็ดออกให้ก่อนและหั่นเป็นชิ้นเล็กพอคำที่เด็กจะสามารถทานได้ เพราะเมล็ดลื่น ทำให้มีโอกาสจะหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ง่าย เฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ฟันยังไม่ครบ ควรบดให้ละเอียด และไม่ควรรีบป้อนเนื่องจากเด็กอาจจะสำลักหรือติดคอ

เคล็ดลับการเลือกซื้อ ต้องลองจับที่ผิวเบา ๆ ถ้าผิวไม่นุ่มมากคือใช้ได้ ภายนอกของผลผิวดูเกลี้ยงละกลม เป็นสีน้ำตาลเป็นธรรมชาติ ขั้วไม่หัก จะได้คุณภาพที่ดี

สั่งซื้ออาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เต็ม สมิตินันทน์), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, USDA National Nutrient Database for Standard เอกสารอ้างอิง

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiabiodiversity.org/
2.https://commons.wikimedia.org/wiki/