

กระท้อน
ชื่อสามัญของกระท้อน คือ Sentul, Yellow sentol, Santol, Red sentol
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. อยู่ในวงศ์กระท้อน
ชื่อกระท้อนของท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เตียนล่อน สะตู มะต้อง สะโต มะติ๋น สะท้อน สตียา
ลักษณะ
- ต้นของกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดที่แถวอินโดจีนกับมาเลเซียตะวันตก และแพร่ขยายไปในอินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส ฟิลิปปินส์ จนเป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ที่เปลือกต้นมีสีเทา
ใบของกระท้อน เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะคล้ายรูปรีแกมไข่ ใบแก่มีสีส้มแดง ใบกว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร - ดอกของกระท้อน กลีบดอกมีสีเหลืองนวล ดอกออกเป็นช่อที่ตามซอกใบปลายกิ่ง มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก
- ผลของกระท้อน มีลักษณะกลมแป้น ที่ผิวมีขน ผลอ่อนเป็นสีเขียวและมีน้ำยางสีขาว ผลแก่เป็นสีเหลืองมีน้ำยางน้อยลง ขนาด 5-15 เซนติเมตร ในผมมีเมล็ด 4-5 เมล็ด มีปุยสีขาวหุ้มเมล็ดอยู่ และมีปลอกเหนียวห่อหุ้มอยู่ เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี
- สายพันธุ์กระท้อน ที่นิยมจะเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มีรสหวาน คือ สายพันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย ทับทิม อินทรชิต นิ่มนวล ขันทอง เทพรส อีแดง กระท้อนสายพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะเปรี้ยว ผลดก ขนาดเล็ก นิยมเอามาทำเป็นกระท้อนทรงเครื่อง และกระท้อนดอง
- กระท้อน มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไม่ค่อยเหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะโพแทสเซียมสูงอยู่ ทำให้ต้องควบคุมการทานโพแทสเซียม สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคไตก็ไม่ควรประมาท เพราะมีการตรวจพบว่ากระท้อนมีสารฟอกขาว (สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ปนเปื้อนได้ ถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการอักเสบตามอวัยวะที่สัมผัส เช่น ปาก กระเพาะอาหาร และจะมีอาการแน่นหน้าอก ปวดท้อง อาเจียนด้วย
สรรพคุณของกระท้อน
- สารสกัดที่ได้จากเมล็ดกระท้อนจะมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
- สามารถช่วยรักษาโรคผิวหนัง และกลากเกลื้อนได้ (เปลือก)
- สามารถใช้ทำเป็นยาขับลมได้ (ราก)
- รากกระท้อนสามารถช่วยแก้บิดได้
- สามารถนำใบสดมาต้มใช้อาบแก้ไข้ได้
- สารสกัดที่ได้จากกิ่งของกระท้อนมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลอง
- กระท้อนมีหลายส่วนที่มีสรรพคุณที่ออกฤทธิ์แก้อาการอักเสบ
- ผลกระท้อนมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน
- รากสามารถช่วยแก้อาการท้องเสียได้
- สามารถใช้รากทำเป็นยาธาตุได้
- ใบของกระท้อนสามารถช่วยขับเหงื่อได้
ประโยชน์ของกระท้อน
- ลำต้นทำเป็นไม้ใช้สอยต่าง ๆ ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น
- กระท้อนมีรสเปรี้ยว และมีฤทธิ์เย็น เหมาะกับผู้ที่เกิดในเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม ธาตุเจ้าเรือนอยู่ในธาตุน้ำ
ผลสามารถทานได้ และสามารถนำมาใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลากหลายชนิด เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ผัด ตำ ใช้เป็นอาหารหวานเช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน
คุณค่าทางโภชนา
คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน 100 กรัม
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
วิตามินบี 1 | 0.045 มิลลิกรัม |
วิตามินบี 3 | 0.741 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 86.0 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 0.42 มิลลิกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 4.3 มิลลิกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 17.4 มิลลิกรัม |
แคโรทีน | 0.003 มิลลิกรัม |
ไขมัน | 0.1 กรัม |
โปรตีน | 0.118 กรัม |
ใยอาหาร | 0.1 กรัม |
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.hort.purdue.edu
แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี