มะเฟือง ช่วยลดความอ้วน ป้องกันมะเร็งตับ แต่เสี่ยงเป็นโรคไต

0
1607
มะเฟือง ช่วยลดความอ้วน ป้องกันมะเร็งตับ แต่เสี่ยงเป็นโรคไต
มะเฟือง ผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหั่นขวางจะเป็นรูปดาวห้าแฉก มีทั้งรสเปรี้ยว และหวาน
มะเฟือง ช่วยลดความอ้วน ป้องกันมะเร็งตับ แต่เสี่ยงเป็นโรคไต
มะเฟือง ช่วยลดความอ้วน ป้องกันมะเร็งตับ แต่เสี่ยงเป็นโรคไต

มะเฟือง

มะเฟือง (Star fruit) เป็นผลไม้ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในประเทศไทย มักจะมีรสเปรี้ยวหรือหวานตามแต่ละสายพันธุ์ แต่คนไทยมักจะนิยมรับประทานในรูปแบบของผลไม้ จึงไม่ค่อยเห็นมะเฟืองในเมนูอาหารสักเท่าไหร่ คนเมืองอาจจะไม่ค่อยรู้จักและไม่ได้รับประทานบ่อย ๆ นัก แต่มะเฟืองถือเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมาย อาจจะกินยากเล็กน้อยแต่ช่วยชะลอวัยได้ด้วย ทั้งนี้ถือเป็นผลไม้ที่มีโทษร้ายแรงเช่นกันหากรับประทานไม่ถูกวิธี

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเฟือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa carambola L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Star fruit”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคใต้เรียกว่า “เฟือง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กระทืบยอด (OXALIDACEAE)
ชื่อพ้อง : Averrhoa acutangula Stokes, Sarcotheca philippica (Villar) Hallier f.

ลักษณะของมะเฟือง

มะเฟือง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นไม้พื้นเมืองในแถบอินโดนีเซีย อินเดียและศรีลังกา นิยมปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออก
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีเขียวอมแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนเกือบแดง
ผล : ผลของมะเฟืองเป็นผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหั่นแนวขวางจะเป็นรูปดาวห้าแฉก ผลขณะอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเต็มที่จะมีสีเหลือง เนื้อผลด้านในฉ่ำด้วยน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย บางพันธุ์มีรสเปรี้ยวมาก

การนำไปใช้ประโยชน์ของมะเฟือง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใช้แต่งรสเปรี้ยวในอาหาร เป็นเครื่องแนมกับน้ำพริกหรือเป็นส่วนประกอบในเมนูแหนมเนือง และนำมาคั้นเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพได้
2. เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ส่วนผสมในครีมบำรุงผิวที่ช่วยในการรักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ

ประโยชน์ของมะเฟือง

  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เสริมสร้างความแข็งแรงของฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
  • สรรพคุณด้านกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  • สรรพคุณด้านหัวใจ ควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติสม่ำเสมอ
  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ
    – ขับพิษและพยาธิในร่างกาย ด้วยการนำดอกมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  • สรรพคุณด้านการผ่อนคลาย ช่วยผ่อนคลายความเครียด บรรเทาอาการฟุ้งซ่าน ช่วยกล่อมประสาทให้นอนหลับได้สบายขึ้น ช่วยดับกระหาย ลดความร้อนในร่างกาย
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ยาแก้ร้อนใน บรรเทาอาการไข้ เป็นยาขับเสมหะ
    – รักษาอาการตุ่มคันตามลำตัว ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วใช้อาบ
    – รักษาตุ่มอีสุกอีใสตามร่างกาย แก้ผดผื่นคัน รักษากลาก เกลื้อน ลดอาการอักเสบและช้ำบวม ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
    – บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดข้อต่าง ๆ ด้วยการนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    – ช่วยขับประจำเดือน ด้วยการนำใบมะเฟืองมาต้มผสมกับน้ำ
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ป้องกันมะเร็งตับ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
    – รักษาอาการท้องร่วงและอาการปวดแสบในกระเพาะอาหาร ด้วยการนำรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
    – ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการนำใบมะเฟืองมาต้มผสมกับน้ำ
  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยลดความอ้วน น้ำคั้นจากมะเฟืองช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะ รักษาสิว ฝ้าและบำรุงผิวพรรณ
  • สรรพคุณด้านอื่น ๆ น้ำคั้นจากผลมะเฟืองสามารถช่วยลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าและของใช้ต่าง ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด ต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
น้ำตาล 3.98 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.33 กรัม
โปรตีน 1.04 กรัม
ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.014 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินบี2 0.016 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินบี3 0.367 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี5 0.391 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี6 0.017 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินบี9 12 ไมโครกรัม (3%)
โคลีน 7.6 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม (41%)
วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม (1%)
ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม (0%)
ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม (1%)
ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม (2%)
ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม (2%)
ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม (0%)
ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)

ข้อควรระวัง

1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตหรือกำลังจะฟอกไต ไม่ควรรับประทานมะเฟืองเพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูงซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้อาการทรุดหนักมากขึ้น
2. ผู้ที่รับประทานยาลดไขมันและยาคลายเครียด ไม่ควรรับประทานเนื่องจากมะเฟืองมีฤทธิ์ไปต่อต้านการทำงานของตัวยา
3. ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกในปริมาณที่สูงโดยเฉพาะมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว หากได้รับปริมาณมากอาจเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ เนื่องจากกรดออกซาลิกจะไปจับตัวกับแคลเซียมและตกเป็นผลึกนิ่วในไต เมื่อผลึกมีจำนวนมากจะเกิดการตกตะกอนขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันในเนื้อไตและท่อไตจนเกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้
4. ไม่ควรดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากทำงานหนักและสูญเสียเหงื่อในปริมาณมาก

มะเฟือง เป็นผลไม้สีเหลืองที่ไม่ค่อยนิยมในคนเมืองหรือคนรุ่นใหม่สักเท่าไหร่ แต่เป็นที่รู้จักและมีลักษณะโดดเด่น ผู้คนส่วนมากไม่ค่อยรู้ว่ามะเฟืองสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกว่าที่คิด สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงผิวพรรณ ลดความร้อนในร่างกาย และป้องกันมะเร็งตับ แต่การรับประทานมะเฟืองไม่ว่าจะในรูปแบบไหนควรที่จะระมัดระวังเพราะโทษของมะเฟืองนั้นร้ายแรงเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม