กระถินเทศ สรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และลดระดับน้ำตาลในเลือด

0
1424
กระถินเทศ
กระถินเทศ สรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นพุ่มกลม สีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก ผิวหนาโค้งงอเล็กน้อย
กระถินเทศ
เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นพุ่มกลม สีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก ผิวหนาโค้งงอเล็กน้อย

กระถินเทศ

ชื่อสามัญ คือ Cassie, Cassie Flower, Huisache, Needle Bush, Sponge Tree, Sweet Acacia, Thorny Acacia[1],[3],[5],[7] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acacia farnesiana (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[7]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เกากรึนอง (กาญจนบุรี), บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ), บุหงาละสะมะนา บุหงาละสมนา (ปัตตานี), กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ), กระถิน (ภาคกลาง), ถิน (ภาคใต้), กะถิ่นเทศ กะถิ่นหอม (ไทย), มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุหงาเซียม (มลายู-ภาคใต้), อะเจ๋าฉิ่ว (จีน-แต้จิ๋ว), ยาจ้าวซู่ จินเหอฮวน (จีนกลาง)[1],[2],[4],[5]

ลักษณะของกระถินเทศ

  • ลักษณะของต้น [1],[2],[5],[7]
    – เป็นพรรณไม้พุ่มผลัดใบขนาดย่อม
    – กิ่งมักคดไปมาแต่จะยืดจนเกือบตรงเมื่อต้นเจริญเติบโตขึ้น
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 2-4 เมตร
    – ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
    – กิ่งจะออกในลักษณะซิกแซ็ก
    – เปลือกต้นเป็นสีคล้ำน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี
    – ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง
    – ควรปลูกในที่มีแสงแดดทั้งวัน
    – มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
    – สามารถพบได้เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน
  • ลักษณะของใบ [1],[2],[5],[7]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ
    – แกนกลางใบประกอบยาว 4-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบยาว 1-1.3 เซนติเมตร
    – มีต่อมบนก้านใบ
    – เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-0.4 มิลลิเมตร
    – ไม่มีต่อมบนแกนกลางใบ
    – ช่อใบย่อยมี 4-7 คู่ มีความยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบย่อยยาว 2 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน มีประมาณ 10-20 คู่
    – ใบย่อยเป็นรูปดาบ หรือรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบตัด ไร้ก้าน
    – ใบย่อยเป็นสีเขียวแก่ มีความยาวประมาณ 2-7 มิลลิเมตร
    – โคนก้านใบมีหูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมตรงและแข็ง 1 คู่ ยาว 3-5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก [1],[5],[7]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เป็นพุ่มกลม
    – มีหลายช่อออกเป็นกระจุก
    – ก้านช่อยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร
    – ช่อดอกเป็นทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-1 เซนติเมตร
    – ที่โคนช่อจะมีใบประดับขนาดเล็ก 4-5 ใบ
    – ดอกย่อยไร้ก้าน
    – มีใบประดับ 1 ใบ มีความยาว 1 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด มีความยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาว 0.2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกติดกันเป็นหลอด มีความยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ
    – กลีบดอกเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก มีความยาว 0.5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก
    – ก้านชูอับเรณู มีความยาว 3.5-5.5 มิลลิเมตร
    – รังไข่ มีความยาว 1.5 มิลลิเมตร
    – ก้านเกสรเพศเมียมีรูปร่างเรียวยาว มีความยาวเท่ากับเกสรเพศผู้
    – ยอดเกสรมีขนาดเล็ก
    – จะให้ดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี
    – จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
  • ลักษณะของผล [1],[2],[5],[7]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก มีความยาว 2-9 เซนติเมตร
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร
    – ฝักจะตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย
    – ผิวฝักจะมีความหนา
    – ฝักแก่จะไม่แตก
    – ฝักมีเมล็ด 15 เมล็ด
    – เรียงเป็น 2 แถว
    – เมล็ดเป็นรูปรี มีความแบนเล็กน้อย ยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – มีรอย (pleurogram) รูปรี ยาว 6-7 มิลลิเมตร

สรรพคุณของยางกระถินเทศ

  • ช่วยแก้เยื่ออ่อนของอวัยวะภายในอักเสบ เพิ่มความชุ่มชื้น[2],[4]
  • ช่วยแก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยทำให้คอชุ่ม[2],[3]
  • ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ[1],[2]
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ[2],[4]
  • ช่วยแก้ฝีหนองในปอด[2],[4]
  • ช่วยแก้บวม[5]
  • ช่วยแก้แขนขาบวมและอักเสบ[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ ปวดข้อ แก้โรคไขข้ออักเสบ[2],[3],[4],[5]
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1],[3]
  • ช่วยรักษาฝีหนองในร่างกาย[4]
  • ช่วยรักษาโรคปอด[4]
  • ช่วยแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก[5]
  • ช่วยรักษาแผลในคอ[3]
  • ใช้ยาอายุวัฒนะ[1],[3]
  • ช่วยแก้อาการเกร็ง[5]
  • ช่วยแก้ปวดท้อง และเป็นยากระตุ้น[2]
  • ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย[2]
  • ช่วยแก้ปวดศีรษะ[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดได้[2],[4]
  • ช่วยแก้แผลเรื้อรังและแก้บาดแผล[2],[4],[5]
  • ช่วยแก้ไอ[5]
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน[2],[4]
  • ช่วยแก้ท้องเสีย[2],[3],[4]
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร[5]
  • ช่วยแก้ระดูขาว[2],[4]
  • ช่วยสมานแผลห้ามเลือด[2],[3],[4],[5]

ประโยชน์ของกระถินเทศ

  1. ลำต้นเ จะให้ยางไม้สีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม เรียกว่า “กัมอะคาเซีย” (Gum acacia)[1],[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย ใช้ทำกาว
    – นำมาใช้เป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด
    – สามารถใช้เป็นยาหล่อลื่นได้
    – สามารถนำมาใช้ทำขนมหวานประเภทลูกอม เบียร์ น้ำผลไม้ เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์สารให้กลิ่นได้
  2. น้ำมันจากดอก(Cassie oil)[2],[5]
    – สามารถนำมาผสมในเครื่องหอมต่าง ๆ
    – สามารถนำมาทำน้ำมันใส่ผม หรือนำมาอบผ้าเช็ดหน้าได้
    – สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวานได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณน้อย
  3. ดอก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำน้ำหอมได้[2],[4],[5]
    – นำมาสกัดเอากลิ่นหอมของดอกและกลั่นมาเป็นน้ำหอม
  4. ดอก สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้[5]
  5. สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[7]
  6. ราก สามารถนำมาใช้ตำแล้วพอกที่กีบเท้าโค กระบือ จะช่วยฆ่าหรือป้องกันพยาธิได้[2]
  7. ฝักประกอบไปด้วยของฝาด (tannin) ประมาณ 23%[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึกได้
    – ใช้ผสมในน้ำต้มย้อมผ้า จะได้เป็นสีธรรมชาติมากขึ้น
  8. เปลือก สามารถนำมาใช้ฟอกหนังได้[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ประเทศอียิปต์มีการทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ด[3]
    – ผลทดลองพบว่า มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  2. จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบและเปลือกต้น[6]
    – ทดสอบโดยเอทานอลร้อยละ 70 ต่อการต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน
    – พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากเชื้อ
    – ความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 1.3±0.2 มคก./มล.
    – สารสกัดจากใบไม่สามารถต้านมาลาเรียได้
    – สารสกัดเปลือกต้น สามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium berghei ได้ 32±5%
  3. สารละลายที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีความเข้มข้น 1 ต่อ 1,000 ส่วน
    – ทำให้สามารถแก้ฤทธิ์ของ acetylcholine และแบลเรียมคลอไรด์ที่มากระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่
    – มีฤทธิ์ยับยั้งจังหวะการบีบตัวตามปกติของกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกจากตัว
  4. ในการสกัดสารด้วยแอลกอฮอล์[2],[4]
    – นำมาละลายในน้ำขนาด 20-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – พบว่ามีฤทธิ์ทำให้หัวใจของกบที่แยกออกจากตัวนั้นบีบตัวลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงจากการบีบตัวลดลงชั่วคราวในช่วงแรก
    – ต่อมาจะเพิ่มการบีบตัวขึ้นเป็นจังหวะ
    – ความแรงของการบีบตัวของกระต่ายเมื่อใช้สารสกัดชนิดเดียวกัน
    – พบว่าจะทำให้การบีบตัวในระยะแรกเพิ่มขึ้น
    – ต่อมาก็จะลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงในการบีบตัวในขนาด 40-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – จะทำให้หัวใจของสุนัขทั้งห้องบนและห้องล่างบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแรก ๆ
    – ทำให้ความดันเลือดของสุนัขที่ทำให้สลบตกลงในช่วงระยะสั้น
    – แล้วความดันเลือดก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย
    – สารที่สกัดได้มีฤทธิ์ทำให้ปริมาตรและจังหวะในการหายใจของสุนัขเพิ่มขึ้น
  5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ[3]
    – ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – ลดความดันโลหิต
    – ขยายหลอดลม
    – เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
    – ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
    – ลดการอักเสบ
    – ต้านเชื้อแบคทีเรีย
    – เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ
  6. สารสำคัญที่พบ ได้แก่[3]
    – anisaldehyde
    – benzoic aldehyde
    – chotesterol
    – cresol
    – djenkolic acid
    – eugenol
    – hydrocyanic acid
    – kaempferol
    – kaempferol-7- galloyl0glycoside
    – N-acetyl
    – sulfoxide
    – linamarin
    – palmitic acid
    – pentadecanoic acid
    – sitostrol
    – stigmasterol
    – tannin
    – triacontan-l-o
    – tyramine

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระถินเทศ Sponge Tree, Cassie Flower”. หน้า 29.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระถินเทศ”. หน้า 24-27.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “กระถินเทศ”. หน้า 50.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กระถินเทศ”. หน้า 34.
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [05 ก.ค. 2015]. สำนักงานหอพรรณไม้
6. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กระถินเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [05 ก.ค. 2015].
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://commons.wikimedia.org/