ชะลูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Alyxia reinwardtii Blume ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Alyxia reinwardtii var. lucida (Wall.) Markgr., Alyxia nitens Kerr หรือ ช่อสั้น Alyxia schlechteri H.Lév.[2] จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1]ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ลูด (ปัตตานี), ชะนูด (สุราษฎร์ธานี), ขี้ตุ่น ช้างตุ่น ต้นธูป (ภาคอีสาน), ชะลูด (ตราด, ภาคกลาง), นูด (ภาคใต้), ชะรูด (ไทย)[1],[2]
ลักษณะต้นชะลูด
- ลักษณะของต้น[1]
– เป็นพรรณไม้เถาขนาดเล็ก
– ลำต้นเกลี้ยง
– เปลือกต้นเป็นสีดำ
– ทุกส่วนของต้นนั้นจะมีน้ำยางสีขาว
– พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และทางภาคใต้ - ลักษณะของเถา[2]
– เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดเล็ก
– เปลือกค่อนข้างดำและเกลี้ยง
– มียางสีขาวขุ่น
– เถาที่เก็บมาแล้วจะต้องนำมาทุบเพื่อลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง
– แล้วลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่นไม้มาใช้เป็นยาโดยนำมาผึ่งให้แห้ง
– เปลือกไม้ก็จะม้วนเป็นแผ่นบาง ๆ
– มีสีขาว กลิ่นหอมเย็น - ลักษณะของใบ[1]
– เป็นใบเดี่ยว
– ออกอยู่รอบ ๆ ข้อ ข้อละ 3 ใบ
– ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี
– ปลายใบแหลมหรือมน
– โคนใบเป็นครีบ
– ขอบใบม้วนลง
– ใบมีความกว้าง 2.5-4 เซนติเมตร และมีความยาว 3.5-9 เซนติเมตร
– แผ่นใบด้านบนเป็นมัน
– เนื้อใบหนาและแข็ง
– มีก้านใบยาว 3-7 เซนติเมตร - ลักษณะของดอก[1]
– ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ
– ช่อละ 4-10 ดอก
– ดอกมีกลิ่นหอม
– เป็นสีเหลือง
– ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนาน
– ปลายใบประดับจะแหลม
– มีความยาว 1 มิลลิเมตร
– กลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ
– เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร
– โคนกลีบติดกันเป็นท่อยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
– ตรงคอท่อจะแคบและมีขน
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน จะติดอยู่ภายในใกล้กับปากท่อดอก
– ก้านเกสรมีขนาดสั้นมาก
– ท่อเกสรเพศเมียมีความเรียวยาว
– รังไข่นั้นจะมีอยู่ 2 ช่อง ซึ่งจะแยกออกจากกัน - ลักษณะของผล[1]
– ผลเป็นรูปทรงรี
– มีความยาว 1 เซนติเมตร
– เมื่อผลแห้ง จะมีความแข็ง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะลูด
- เปลือกต้นมีสาร alyxialactone, coumarin, irridoid glycoside, saponin[2]
- จากการศึกษาพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้และมดลูก[2]
- การศึกษาทางพิษวิทยา ด้วยการนำมาทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกด้วยเอทานอล 50% โดยนำมาให้หนูทดลองกินและให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 1,613 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ[2]
สรรพคุณของชะลูด
- เถา สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษในเลือดและน้ำเหลือง[2]
- เถา สามารถใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการอ่อนเพลีย[2]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น[2]
- เนื้อไม้ และเปลือกเถาชั้นใน สามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้[1],[2]
- เปลือกเถาชั้นใน มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงกำลัง[1],[2]
- ราก สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาพิษไข้ พิษเสมหะ และลม[1]
- ราก ช่วยแก้อาการใจสั่นหรืออาการหงุดหงิดได้[1]
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาลมและยาขับลม[1]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยแก้ดีพิการ[2]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยแก้อาการปวดบวม[2]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยขับผายลม[2]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยบำรุงครรภ์รักษา[2]
- เปลือกเถาชั้นใน ช่วยแก้อาการปวดในท้อง แก้ปวดมวนท้อง[2]
- เปลือก ใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง[2]
- เปลือก มีสรรพคุณเป็นยาแก้สะอึก แก้ดีพิการ แก้ลม ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ลม แก้พิษไข้ แก้พิษเสมหะ เนื้อต้นใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยขับผายลม[3]
- เปลือก สามารถใช้แก้อาการปวดมวนท้องหรือไซ้ท้อง และช่วยขับผายลม[3]
- ใบและผล สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนใน แก้สะอึก กระสับกระส่าย แก้ดีพิการ แก้คุดทะราด[3]
- ลำต้น สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตกขาวแก้เหน็บชา ใช้เข้ายาแก้กระษัยเส้น แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากการทำงานหนัก[3]
- รากและเถา สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ[3]
ประโยชน์ของชะลูด
- นิยมนำมาปลูกไว้เพื่อนำมาใช้ทำเครื่องหอมและใช้เป็นยาสมุนไพร[1]
- เปลือกชั้นใน สามารถนำมาใช้ปรุงแต่งผ้าให้มีกลิ่นหอม ใช้ปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบหรือใช้อบเสื้อผ้า หรือนำมาใช้ทำเป็นเครื่องหอมได้[1]
- สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มได้ แต่ต้องมีต้นไม้อื่นหรือเสาให้เลื้อยเกาะ เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นที่ระบายน้ำได้ดี (คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชะ ลูด”. หน้า 251-252.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะ ลูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [12 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะ ลูดช่อสั้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [12 ก.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://alchetron.com/Alyxia
2.https://powo.science.kew.org/taxon/