การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ในตับ
ALKALINE PHOSPHATASE คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีน จากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคที่กำลังเกิดขึ้น

การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ( ALP ) ในตับ

การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ( Alkaline Phosphatase – ALP ) คือการตรวจหาค่าสารประกอบในตับ เพื่อบ่งชี้ว่า ตับ มีปัญหาอะไรหรือไม่ Alkaline Phosphatase ชื่ออื่นเรียกเป็นว่า ค่า ALP ค่า ALK PHOS ค่า ALKP คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีนจากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคต่าง ๆที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ตับ กระดูก ลำไส้เล็ก ไต หรือ จากรกของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่ง อวัยวะที่ผลิตค่า ALP ออกมามากที่สุดในร่างกายคือ ตับ รองลงมาคือ ท่อน้ำดี และกระดูก เรียงตามลำดับกันต่อไป

ทำไมต้องตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส

การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ( ALP ) มีจุดประสงค์คือ ใช้ตรวจหาค่าความผิดปกติและใช้ในการวินิฉัยโรคที่เกี่ยวกับตับและกระดูก
โดยจะใช้วิธีการตรวจทางเลือด โดยผู้ที่จะทำการตรวจค่า ALP นั้น ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ก่อนการตรวจ ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง

การตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ) หรือ ALP มักจะทำควบคู่กับการตรวจค่าของ ” Alanine Aminotransferase ” หรือ ALT หรือ SGPT ในการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับ และมักจะเจาะเลือดตรวจค่าเอนไซม์ Aspartate aminotransferase หรือ AST หรือ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase (SGOT) ค่าเอนไซม์ AST เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ เพื่อใช้ข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยแยกแยะระหว่างโรคตับ หรือโรคกระดูก และจะช่วยให้ผลการตรวจและการวินิฉัยของแพทย์ตรงมากที่สุด

เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจ Alkaline Phosphatase ( ALP )

หากร่างกายมีการส่งสัญญาณเตือนต่อไปนี้

ควรไปตรวจหาค่า ALP ที่เกี่ยวกับสุขภาพของตับ

1. ร่างกายมีอาการเหนื่อยล้า โดยไม่ทราบสาเหตุ
2. รู้สึกว่าอาหารที่ทานทุกอย่างไม่มีรสชาติ ขาดความอร่อย
3. มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
4. มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
5. พบอาการบวมบริเวณช่องท้องด้านบน
6. ปัสสาวะมีสีเข้ม เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ
7. อุจจาระมีสีคล้ำผิดปกติ

Alkaline Phosphatase ( ALP ) ( แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ) คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีน จากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น

ควรตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) เมื่อใด

เมื่อร่างกายส่งสัญญาณเตือน อาการเบื้องต้น ควรไปตรวจหาค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) ที่เกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก

1. มีอาการปวดกระดูก ปวดข้อต่อตามร่างกาย
2. กระดูกร้าวหรือหักได้ง่ายกว่าปกติ
3. กระดูกในบางอวัยวะ แสดงอาการผิดรูป

ค่ามาตรฐานของ APL
ค่าของ ALP ในเลือดของคนปกติ จะขึ้นอยู่กับเพศและวัย

ผู้ใหญ่ (ช / ญ) ค่า ALP มาตรฐานอยู่ระหว่าง 30 – 126 U/L
เด็ก (ช / ญ) ค่า ALP มาตรฐานอยู่ระหว่าง 30 – 300 U/L

 

หากตรวจค่า ALP แล้วพบว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แสดงว่าในร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้น

กรณีค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) ต่ำกว่าปกติ

หากค่า ALP ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงผลเกี่ยวกับสุขภาพ

  • มีระดับวิตามิน C ในร่างกายต่ำเกินไป จนเกินอาการเลือดออกตามไรฟัน จนส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างสาร Alkaline Phosphatase หรือ ALP ได้
  • ในร่างกายมีสารฟอสเฟต Phosphate จะใช้ผลิต ALP ไม่เพียงพอ หรือสามารถเรียกภาวะแบบนี้ได้ว่า Hypophosphatemia
  • ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่หรือแพ้สารอาหารบางชนิด เช่น แพ้สารกลูเตน ( Gluten ) ในเมล็ดข้าวที่เรียกว่า โรค Celiac Disease

กรณีค่า ALP สูงกว่าปกติ

หากค่า ALP ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงผลเกี่ยวกับสุขภาพได้ ดังนี้

1.กรณีโรคตับ ทั้งนี้ อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดโรคตับอักเสบ จึงทำให้ค่า ALP สูงขึ้นผิดปกติ
  • อาจเกิดโรคสำคัญขึ้นที่ตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ
  • อาจมีเหตุสำคัญ ซึ่งมาปิดกั้นท่อน้ำดีของตับ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี อาจเกิดโรคมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น จากการกระจายตัวของมะเร็งที่มาจากอวัยวะอื่น

จึงสรุปได้ว่าหากค่า ALP สูงขึ้นกว่าปกติ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าอวัยวะตับมีความผิดปกติเกิดขึ้นนั่นเอง

2. กรณีโรคกระดูก ทั้งนี้ อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดโรคกระดูกผิดรูป
  • อาจเกิดโรคกระดูกน่วม เนื่องจากร่างกายขาดวิตามิน D (วิตามิน D มาจากการได้รับแสงแดด)
  • อาจเกิดโรคมะเร็งกระดูก
  • ร่างกายอาจจะอยู่ในช่วงระหว่างการรักษากระดูกที่หักให้เชื่อมต่อติดกัน
  • อาจเกิดโรคมะเร็งกระดูกจากการแพร่กระจายมะเร็งมาจากอวัยวะอื่น
  • อาจเกิดโรคกระดูกอ่อน โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดวิตามิน D ขาดแคลเซียม และขาดฟอสฟอรัส
  • อาจเกิดจากต่อมพาราไธรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้มีแคลเซียมมาพอกกระดูกจนหนาผิดปกติ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางชนิดที่ทำให้การตรวจหาค่า ALP มีความผิดปกติหรือคลาดเคลื่อนออกไป จากค่าที่ได้จริง เช่น การรับประทานยารักษาโรคบางตัวจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาว่า ควรงดหรือไม่ยาตัวไหนหรือไม่ ก่อนที่จะเจาะเลือดตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( ALP )

กลุ่มตัวอย่างชนิดของยาที่มีผลต่อการตรวจ ALP ได้แก่กลุ่มยาปฏิชีวินะ Antibiotics, กลุ่มยาแก้อักเสบ Annit-Inflammatory Medicines, กลุ่มยาคุมกำเนิด กลุ่มยารักษาโรคเบาหวาน กลุ่มยาฮอร์โมน Cortisone, กลุ่มยากล่อมประสาท Tranquilizers เป็นต้น

สำหรับค่าของ Alkaline Phosphatase ( ALP ) จะมีความไวมากที่สุดสำหรับการตรวจ ดังนั้น หากพบว่าในร่างกายมีค่าของ Alkaline Phosphatase ในปริมาณที่สูงหรือต่ำเกินปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาวะความผิดปกติของตับหรืออวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ ทางทีดีควรอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Kim EE, Wyckoff HW (March 1991). “Reaction mechanism of alkaline phosphatase based on crystal structures. Two-metal ion catalysis”. J. Mol. Biol. 218 (2): 449–64.

Rao, N. N.; Torriani, A. (1990-07-01). “Molecular aspects of phosphate transport in Escherichia coli”. Molecular Microbiology.

Horiuchi T, Horiuchi S, Mizuno D (May 1959). “A possible negative feedback phenomenon controlling formation of alkaline phosphomonoesterase in Escherichia coli”. Nature. 183 (4674): 1529–30. 

Willsky; Malamy; Bennett (1973). “Inorganic Phosphate Transport in Escherichia coli: Involvement of Two Genes Which Play a Role in Alkaline Phosphatase Regulation”. Journal of Bacteriology. 113: 529–539.