การตรวจหาสาร SGOT ในตับ (เอส จี โอ ที)
SGOT เอนไซม์ของเม็ดเลือดแดงที่ใช้ช่วยตรวจภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ

Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) คือ

เซรั่มกลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติก ทรานซามิเนส Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) เป็น เอนไซม์ที่อาจตรวจพบได้ในเลือด จากกรณีมีเหตุสำคัญ หรือมีโรคร้ายแรงซึ่งมากระทบต่ออวัยวะ หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย โดย SGOT อาจจะมาจากเอนไซม์ของเม็ดเลือดแดง หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับอ่อน ไต หรือตับ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในตับมีจะความไวต่อโรคมากหรือการที่มีสภาวะแวดล้อมที่มากระทบ เช่น สารพิษ จะไปทำให้ค่าของ SGOTสูงขึ้นตามไปด้วย ค่า SGOT ที่มีค่าสูงขึ้นหลังจากมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว จะใช้ระยะเวลานานกว่า 6-10 ชั่วโมง และจะอยู่ในค่าระดับนี้อาจนานถึง 4 วัน เลยทีเดียว

การตรวจหาสารวัดค่าตรวจตับ

การตรวจหาสารวัดค่าตรวจตับ เซรั่มกลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติก ทรานซามิเนส Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) มีชื่ออื่นว่า AST, Aspartate Transaminase ค่าเอนไซม์ AST เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจภาวะโรคตับ โดยจะพบเอนไซม์ AST มากที่ตับและกล้ามเนื้อหัวใจ คือ เอนไซม์ที่ประกอบด้วยโปรตีนที่ตับสร้างขึ้น เอนไซม์ตัวนี้อาจมีการหลั่งสูงมากกว่าปกติ ในกรณีที่ตับทำ งานผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งจะมีสาเหตุจากหลายๆอย่าง เช่น ภาวะเครียดเรื้อรัง พักผ่อนไม่พอจนเกิดอาการอ่อนเพลีย ดื่มสุราหนักเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรัง ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มะเร็งตับ โรคดีซ่าน และการใช้ยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

วิธีการตรวจหา Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) คือ อะไร

คือการตรวจค่าสัญญาณในตับ เพื่อใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับและภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือวิเคราะห์ค่าสัญญาณของโรคตับ

จุดประสงค์ในการตรวจ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT )

1. ตรวจสุขภาพตับ เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ

2. ตรวจในกรณีมีอาการดีซ่าน เพื่อหาสาเหตุว่ามาจากโรคเลือด หรือจากโรคตับ

3. เพื่อตรวจสอบอาการผิดปกติที่ร่างกายเป็นว่า มาจากโรคตับอักเสบ หรือ โรคตับแข็งหรือไม่

4.ตรวจติดตามผลการรักษา ในกรณีที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ และได้มีการรักษาอยู่ก่อนแล้ว

5. ตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกายต่างๆ ว่าเกี่ยวกับตับหรือไม่ เช่น ปวดช่องท้องส่วนบน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง

6. ตรวจและติดตามผล หรือพิษจากยาลดคอเลสเตอรอล หรือจากยารักษาโรคอื่นว่า ได้สร้างความเสียหายให้แก่ตับหรือไม่ เช่น ยารักษาระดับไขมันในร่างกาย

ค่ามาตรฐานของการตรวจหาค่า SGOT หรือ AST ของคนปกติ
ผู้ชาย ค่า SGOT มาตรฐานอยู่ระหว่าง 14 – 20 U/L
ผู้หญิง ค่า SGOT มาตรฐานอยู่ระหว่าง 10 – 36 U/L

 

ค่าผิดปกติของ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) หรือ AST

1. ในกรณีที่ SGOT หรือ AST ต่ำกว่าค่ามาตรฐานโดยส่วนมากถือว่าไม่พบความผิดปกติใด

2. ในกรณีที่ SGOT หรือ AST สูงกว่าค่ามาตรฐานอาจแสดงผลในด้านสุขภาพทั่วไป ดังต่อไปนี้

2.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเซลล์เม็ดเลือดแดงลดจำนวนน้อยลงอย่างเฉียบพลัน

2.2 อาจเกิดสภาวะเลือดแดงไหลผ่านเข้าตับได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เซลล์ตับตายลงเฉพาะที่

2.3 อาจเกิดโรคตับอักเสบ

2.4 อาจเกิดจากสภาวะเซลล์ตับตายลงบางส่วน

2.5 อาจเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงสีซีดลง อันเนื่องมาจากพันธุกรรม

2.6 อาจเกิดโรคมะเร็งตับ

2.7 อาจเกิดจากมีอาการของโรคชัก มาไม่นาน

2.8 อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อลีบขั้นร้ายแรง

2.9 อาจเกิดโรคหัวใจ

2.10 อาจเกิดสภาวะโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

2.11 อาจเกิดสภาวะโรคไตวายเฉียบพลัน

2.12 อาจเกิดโรคตับแข็ง

2.13 อาจเกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขั้นแรก

2.14 อาจเกิดจากการเพิ่งได้รับการรักษาโรคหัวใจ ด้วยวิธีสอดใส่ห่วงถ่างขยายหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจมาได้ไม่นาน

2.15 อาจเกิดจากการรับการผ่าตัด มาไม่นาน

2.16 อาจเกิดจากแผลถูกไฟลวกที่ลึกและรุนแรง

2.17 อาจเกิดจากการกินยารักษาโรคบางชนิด เช่น กลุ่มยาสตาติน Statin ที่ใช้ลดคอเลสเตอรอล

วิธีการป้องกันค่า Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) ไม่ให้มีค่าสูงเกินปกติ

ที่ดีที่สุดก็คือการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มสุราจัด เป็นต้น และหากเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคที่อาจทำให้ค่า SGOT สูงขึ้น เช่นโรคโลหิตจางเรื้อรัง ไขมันจับตับ ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโรคเหล่านั้นให้หายขาดโดยเร็ว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Karmen A, Wroblewski F, Ladue JS (Jan 1955). “Transaminase activity in human blood”. The Journal of Clinical Investigation. 34 (1): 126–31. PMC 438594 Freely accessible. PMID 13221663.

Ghouri N, Preiss D, Sattar N (September 2010). “Liver enzymes, nonalcoholic fatty liver disease, and incident cardiovascular disease: a narrative review and clinical perspective of prospective data”. Hepatology. 52 (3): 1156–61

Wang CS, Chang TT, Yao WJ, Wang ST, Chou P (April 2012). “Impact of increasing alanine aminotransferase levels within normal range on incident diabetes”. Journal of the Formosan Medical Association = Taiwan Yi Zhi. 111 (4): 201–8.