โหระพา พืชสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคย แต่มีสรรพคุณมากกว่าที่รู้กันทั่วไป

0
1899
โหระพา พืชสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคย แต่มีสรรพคุณมากกว่าที่รู้กันทั่วไป
โหระพา พืชสมุนไพรใช้ประโยชน์ในทางยาและประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ต้านอนุมูลอิสระและลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
โหระพา พืชสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคย แต่มีสรรพคุณมากกว่าที่รู้กันทั่วไป
โหระพา พืชสมุนไพรใช้ประโยชน์ในทางยาและประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ต้านอนุมูลอิสระและลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

โหระพา

โหระพา (Basil) เป็น พืชสมุนไพรที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นพืชที่มีการนำใบมาใช้เป็นยาและประกอบอาหาร หรือนำมาประกอบกับเครื่องดื่ม เช่น น้ำสับปะรดปั่นโหระพา ถือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน แต่โหระพามีสรรพคุณมากกว่าที่รู้กันทั่วไป มีสารอาหารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ซึ่งเป็นสารเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ภายในโหระพามีเบต้าแคโรทีนมากถึง 452.16 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและพบว่าสามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เป็นสารที่พบมากในผักและผลไม้ มีส่วนช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่โหระพายังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโหระพา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum Linn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญ 2 ชื่อ คือ “Sweet basil” และ “Thai basil”
ชื่อท้องถิ่น : ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ห่อกวยซวย ห่อวอซุ”
ชื่อวงศ์ : LABIATAE หรือ LAMIACEAE

ลักษณะของโหระพา

โหระพา เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา และเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย
ใบ : มีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติ ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย มีสีเขียวอมม่วง
ดอก : มีขนาดเล็กและออกเป็นช่อ ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว

สรรพคุณของโหระพา

โหระพามีสรรพคุณมากมายและเป็นพืชที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่ใบเท่านั้น แต่เมล็ดยังสามารถนำมาแช่น้ำให้พองแล้วรับประทานเป็นยาแก้บิดได้อีกด้วย

รูปแบบสรรพคุณของโหระพา

1. สรรพคุณในรูปแบบน้ำมันโหระพา เป็นน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากใบโหระพา มีสรรพคุณที่สำคัญคือ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยให้สบายท้องมากขึ้น มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า แต่มีข้อควรระวังในการใช้น้ำมันโหระพาคือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง
2. สรรพคุณในรูปแบบยาสมุนไพร ใบสดของโหระพามีสรรพคุณแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมจากลำไส้ หากนำใบมาต้มแล้วดื่มจะแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด ขับเหงื่อ มีสรรพคุณต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ใช้ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบหรือแผลอักเสบ ใช้ปรุงร่วมกับน้ำนมราชสีห์เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมสำหรับมารดา เป็นต้น

สรรพคุณของโหระพาในด้านต่าง ๆ

1. สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยป้องกันความเสียหายในร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
2. สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยในการย่อยอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี ช่วยในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการบิด แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยให้เด็กหายปวดท้องด้วยการดื่มแทนยาขับลม เป็นยาขับปัสสาวะ
3. สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย มีส่วนในการช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีฤทธิ์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลและแผ่นคราบพลัคในกระแสเลือด แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
4. สรรพคุณด้านการคลายเครียด ช่วยให้จิตใจสงบ มีสมาธิ และช่วยลดอาการซึมเศร้า
5. สรรพคุณป้องกันโรค มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยรักษาโรคตาแดง ต้อตาหรือมีขี้ตามาก ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสต่าง ๆ
6. สรรพคุณด้านผิวหนังและความงาม ช่วยขับหัวสิวและต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว ใช้เป็นยาพอกเพื่อดูดซับสารพิษออกจากผิวหนังได้ รักษาอาการผดผื่นคันหรือมีน้ำเหลือง รักษาแผลหรือมีหนองเรื้อรัง แก้อาการฟกช้ำจากการกระทบกระแทกหรืองูกัด ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอางบางชนิด
7. สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยแก้หวัดและช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการสะอึก เป็นยาบรรเทาอาการผึ้งต่อย ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาอาการข้ออักเสบหรือแผลอักเสบ บำบัดรักษาโรคเข่าเสื่อม
8. สรรพคุณด้านอื่น ๆ ใช้ฆ่ายุง ไร และแมลงได้ อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นยาบำรุงสุขภาพทางเพศอีกด้วย

โหระพามาปรุงอาหารหรือรับประทานสดได้กับหลายเมนู สรรพคุณทางยาหรือในรูปแบบอาหารเสริมควรระมัดระวังในด้านขนาดการใช้ หากทานมากเกินไปอาจทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลง และไม่ควรรับประทานน้ำมันสกัดจากโหระพาหรือส่วนลำต้นของโหระพาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากมีสารเอสตราโกล (Estragole) อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งตับ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม