มะแว้ง สมุนไพรรักษาอาการไอ
ผลสดมีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ ทั้งในรูปแบบยาเม็ดและยาอม อุดมไปด้วยสารให้คุณประโยชน์

มะแว้ง คือ

มะแว้ง ( Brinjal ) หรือ มะแว้งต้น ( Solanum Indicum ) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ( Solanum sanitwongsei Craib. ) เป็นพืชที่พบได้ตามท้องไร่ท้องนา หรือชาวบ้านนำมาปลูกไว้ตามบ้านเรือน และพบขึ้นเองตามธรรมชาติน้อย ซึ่งมีอายุ 2-5 ปี สูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก กลม เนื้อแข็ง สีเขียวอมเทา แตกกิ่งก้าน ทั้งต้นมีขนนุ่มสีเทาปกคลุม และมีหนามแหลม ขึ้นกระจายอยู่ทั่วต้นจะมีลูกสีเขียว และเวลาสุกจะมีสีแดง ยอดอ่อนและลูกสามารถนำมารับประทานได้ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันมาแต่โบราณ โดยนำยอดอ่อนมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำลูกสด 5-6 ผล มาโขลกให้ละเอียดแล้วคั้นน้ำ เติมเกลือลงไปเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยเมื่อมีอาการไอ เพื่อบรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอผลรสขมขื่นเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีอีกชนิด คือ

มะแว้งเครือ ( Solanum Trilobatum ) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ( Solanum indicum Linn. ) เป็นไม้เลือยขนาดเล็ก อาศัยเลือยพาดไปตามพื้นดิน หรือค้างต่างๆ เช่น รั้ว และต้นไม้อื่นๆ แต่ไม่มีมือเกาะ ( มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายหนวด แตกออกบริเวณข้อของลำต้น ) เหมือนกับไม้เลื้อยบางชนิดเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะเขือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผลทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดทรงกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก

สรรรพคุณตำรายาไทย

ผลสุก : รสขื่นขม กัดเสมหะในลำคอ แก้ไอ
ผลสด : รสขื่น ขม บำรุงน้ำดี

  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงน้ำดี
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้พาร์กินสัน
  • ช่วยแก้วัณโรค
  • ช่วยบรรเทาอาการคัน
  • ช่วยแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยบำรุงน้ำดี
  • ช่วยแก้ไอได้ละลายเสมหะ
  • ช่วยให้ชุ่มคอ
  • ช่วยแก้น้ำลายเหนียว
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยแก้โรคเบาหวาน
  • ช่วยละลายก้อนนิ่ว
  • ช่วยแก้ไข้สารพัดพิษ
  • ช่วยแก้แน่นท้อง จุกเสียด
  • ช่วยแก้ท้องอืดเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

มะแว้ง มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวด ลดไข้ ต้านการอักเสบ และกดระบบประสาทส่วนกลาง พบสารสกัดเมทานอลจากผลโดยใช้หนูทดลองทั้งเพศผู้และเพศเมีย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว ทำการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 4 วิธี ได้แก่ ฤทธิ์ลดปวด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ลดไข้ และฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง

การทดสอบฤทธิ์ลดปวดในหนูทดลอง ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยสกัดผลด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำ เมทานอล เอทานอล แล้วนำสารที่สกัดได้มาทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดกระต่ายได้หลังจากกระต่ายได้รับสารสกัดสมุนไพร 2 ชั่วโมง โดยสารสกัดสมุนไพรที่สกัดด้วยเอทานอล ลดระดับน้ำตาลได้หลังจากกระต่ายได้รับ 2  3 และ 4 ชั่วโมง จากผลการทดลองนี้แสดงว่าสารสกัดจาผล สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

คุณค่าทางโภชนาการ

ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี มีสารประกอบประเภทสเตียรอยดฅ์ เช่น เบต้า-ซิโตสเตอรอล ( Beta-sitosterol )ไดออสเจนิน ( diosgenin ) สารอัลลาลอยด์โซลานีน ( solnine ) และโซลานิดีน ( solanidine )

วิธีการรับประทาน

สูตรที่ 1
ส่วนผสม และขั้นตอนการทำ
1. เตรียมผล 2 กรัม ล้างให้สะอาด
2. นําผลที่ได้ไปตากแดดจนแห้ง
3. นําผลที่ได้เด็ดขัว แล้วบดให้ละเอียด ชั่งใส่ถุงชา 2 – 2.5 กรัม หรือที่กรองชา

สูตรที่ 2
ส่วนผสม และขั้นตอนการทำ
1. เตรียมผล 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ถ้วย น้ำปูนใส 1 ถ้วย โดยนําผลแก่เด็ดขัวออกให้หมด ล้างให้สะอาด
2. นําผลที่ได้ไปแช่นําปูนใสประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วผึ่งให้แห้ง
3. นําผลใส่ขวด เทนําผึ้งให้ท่วมผล ปิดฝาให้สนิท

สูตรที่ 3
ส่วนผสม และขั้นตอนการทำ
1. เตรียมผล 2 กรัม ล้างให้สะอาด และดอกเก็กฮวยแห้ง
2. นําผลที่ได้ไปตากแดดจนแห้ง
3. นําผลที่ได้เด็ดขัว บดให้ละเอียด ชั่งใส่ถุงชา 2 – 2.5 กรัม และดอกเก๊กฮวย หรือที่กรองชา

สั่งซื้อ อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

มะ แว้ง ต้น (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.thaicrudedrug.com [27 มิถุนายน 2562].

มะ แว้ง ต้น (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.phargarden.com [27 มิถุนายน 2562].

มะ แว้ง (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://natres.psu.ac.th [27 มิถุนายน 2562].