สาบเสือ วัชพืชมหัศจรรย์ ช่วยบำรุงหัวใจ

0
7609
สาบเสือ ( Bitter Bush, Siam Weed ) เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไป ซึ่งสารสกัดในใบสาบเสือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน และฤทธิ์ในการสมานแผล
สาบเสือ วัชพืชมหัศจรรย์ ช่วยบำรุงหัวใจ
สาบเสือ เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไป มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน และฤทธิ์ในการสมานแผล

ต้นสาบเสือ คุณประโยชน์ สมุนไพรพื้นบ้าน

สาบเสือ ( Bitter Bush , Siam Weed ) คือ วัชพืชที่พบได้ทั่วไปในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม มีขนนุ่มประปรายขึ้นตามลำต้นและกิ่งก้านสาขา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium odoratum L.
ชื่อพ้อง : E. odoratum (L.f.) Koster ; Chromolaena odorata (L.) King & Robins.
วงศ์ : Compositae หรือ Asteraceae
ชื่อสามัญ : Siam weed, Bitter bush, Devil weed

ลักษณะต้นสาบเสือ

ลำต้นสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบ สาบเสือเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ มีดอกสีขาวเด่นสะดุดตา มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรค สมานแผลมาแต่โบราณ ปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่ามีสารสกัดที่สำคัญในใบสาบเสือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน และฤทธิ์ในการสมานแผล

สารสำคัญที่พบในใบสาบเสือมีอะไรบ้าง

จากการศึกษาทางด้านเคมีพบสารสำคัญหลายชนิด เช่น cadiene, alphapinene, alpha-camphor, limonene, cadinol ซึ่งสารที่พบในลำต้นสาบเสือประกอบด้วย eupatol, coumarin, eupatene, lupeol, flavone, salvigenin รวมถึงในใบยังพบสาร ceryl alcohol, trihydric alcohol, tannin, isosa kulanetin, odoratin, myrecene, calamenen
geijerene, pinene เป็นตัน

สรรพคุณทางยาต้นสาบเสือ ใบสาบเสือ ดอกสาบเสือสาระพัดประโยชน์

  • ใช้ปิดแผล
  • ใช้สมานแผล
  • แก้อักเสบ
  • แก้ตาแฉะ
  • แก้ตาฟาง
  • ช่วยแก้ไข้
  • ช่วยแก้ร้อนใน
  • แก้พิษน้ำเหลือง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยแก้กระหายน้ำ
  • แก้ริดสีดวงทวาร
  • รักษาโรคลำไส
  • ขยี้ใส่แผลช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย
  • รักษาแผลไฟไหม้และแผลเปื่อยพุพอง

ประโยชน์ใบสาบเสือ

สมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาช่วยรักษาโรคได้มากมาย ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน ลำต้น ใบ ดอก ราก ล้วน ชาวบ้านใช้ใบอ่อนขยี้ปิดแผล ห้ามเลือด แก้ไข้ป่า มีกลิ่นฉุน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

มหัศจรรย์ต้นสาบเสือ! สมุนไพรไทยที่มากด้วยสรรพคุณ ที่คุณควรรู้ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.winnews.tv [20 สิงหาคม 2562].

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.