แก้วลืมวาง ใช้เป็นแก้ร้อนใน และรักษาฝี

0
1246
แก้วลืมวาง
แก้วลืมวาง ใช้เป็นแก้ร้อนใน และรักษาฝี เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย
แก้วลืมวาง
เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย

แก้วลืมวาง

ชื่อสามัญ Chinese Pink ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dianthus chinensis L. อยู่วงศ์ CARYOPHYLLACEAE[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฉวีม่าย (จีนกลาง), ผีเสื้อ (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), สือจู๋ (จีนกลาง), เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ) [1],[2]

ลักษณะของต้นแก้วลืมวาง

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในที่ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนซุย เป็นพรรณไม้พื้นเมืองเขตอบอุ่นแถบเหนือ[1],[2]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ที่โคนใบจะเชื่อมกันเล็กน้อย จะไม่มีก้านใบ มีใบขนาดเล็ก ใบเป็นรูปใบหอกแคบ ที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเรียบ และเป็นสีเขียวอ่อน[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกที่บริเวณปลายยอด มีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงกลีบดอก มีความยาวประมาณ 16-24 เซนติเมตร ที่โคนกลีบจะเชื่อมติดเป็นหลอด หลอดมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบจะแยกเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมีแฉกอยู่ 5 แฉก มีกลีบดอกยาวประมาณ 1-25 มิลลิเมตร ที่ขอบกลีบดอกจะหยักเป็นซี่ห่างกัน ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน มีเกสรเพศผู้ 10 อันอยู่ที่กลางดอก ท่อเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก[1],[2]
  • ลักษณะของผล ผลจะหุ้มอยู่ในโคนกลีบ ที่ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย มีซีก 4 ซีก เป็นสีแห้ง[1],[2]

สรรพคุณแก้วลืมวาง

1. ต้นสามารถใช้เป็นยารักษาฝีได้ โดยนำต้นสดมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้น)[2]
2. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาแก้โรคมะเร็งผิวหนัง และแก้โรคเรื้อนได้ (ลำต้น)[1]
3. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาขับระดูของสตรีได้ (ลำต้น)[1],[2]
4. ทั้งต้นจะมีรสชาติขม เป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับลำไส้เล็ก หัวใจ กระเพาะปัสสาวะ ไต สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อนในได้ (ต้น)[2]
5. สามารถนำต้นมาใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน รักษาบาดแผล และรักษาโรคโกโนเรียได้ (ต้น)[2]
6. สามารถนำต้นมาใช้เป็นยาแก้แผลเน่าเปื่อยได้ โดยนำต้นสดมาคั้นเอาน้ำล้างแผลได้ (ต้น)[1]
7. สามารถนำต้นมาใช้เป็นปัสสาวะเป็นเลือด ยาขับปัสสาวะ รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ ในตำรับยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน จะนำมาต้มรวมกับ ชะเอม ผักกาดน้ำ รากต้นพุดตาน แล้วดื่ม (ต้น)[1],[2]
8. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ[1]

ขนาดและวิธีใช้

  • ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ประมาณ 5-12 กรัม ต่อ 1 ครั้ง มาต้มทาน[2]

ข้อควรระวัง

  • ห้ามใช้กับสตรีที่มีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้แท้งบุตร[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • น้ำที่ได้จากการต้มต้น เมื่อฉีดเข้าลำไส้ของกระต่าย ปรากฏว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้แรงมากขึ้น[2]
  • สารสำคัญที่พบ Alkaloid, Japonin, วิตามินเอ, น้ำตาล ในต้น และพบน้ำมันระเหยที่ดอก เช่น Benzyl salicylate, Phenylethylalcohol, Methyl salicylate, Eugenol, Benzyl benzoate [2]
  • ถ้านำสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มาฉีดเข้าที่เส้นเลือดของกระต่าย จะพบว่าความดันลดลง และการเต้นของหัวใจอ่อนลง [2]
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากต้น มาฉีดเข้ากระเพาะอาหารของกระต่ายปริมาณ 2 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ปรากฏว่าภายในเวลา 6 ชั่วโมง กระต่ายมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1-2.5 เท่าของปกติ[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “แก้วลืมวาง”. หน้า 94.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แก้วลืมวาง”. หน้า 76-77.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://gardenerspath.com/
2.https://www.nature-and-garden.com/