อ้อเล็ก รากช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ

0
1354
อ้อเล็ก รากช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ ต้นคล้ายจำพวกไผ่ ใบเรียวยาวแหลม ดอกเป็นช่อที่ปลายต้น ก้านช่อมีขนขึ้นปกคลุม ดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง
อ้อเล็ก
ต้นคล้ายจำพวกไผ่ ใบเรียวยาวแหลม ดอกเป็นช่อที่ปลายต้น ก้านช่อมีขนขึ้นปกคลุม ดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง

อ้อเล็ก

เป็นพรรณไม้ล้มลุกหญ้ายืนต้นดอกขนขาว ชื่อสามัญ คือ Reed, Danube grass ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Phragmites australis (Cav.) Trin. ex Steud. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Phragmites communis Trin.) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)[1] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ อ้อน้อย (เชียงใหม่), อ้อลาย อ้อเล็ก (ภาคกลาง), อ้อ (ทั่วไป), หลูเกิน หลูเหว่ย (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นอ้อเล็ก

  • ลักษณะของต้น [1]
    – คล้ายจำพวกไผ่
    – ต้นมีความสูง 2-5 เมตร
    – ลำต้นเหนือดินเป็นสีเขียว
    – ผิวลำต้นเรียบมัน และเนื้อแข็ง
    – โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มอยู่
    – บริเวณกาบใบมีสีขาวปกคลุม
    – รากใต้ดินเจริญเติบโตขนานกับผิวดิน
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.6 เซนติเมตร
    – ถ้าอยู่ในดินทราย อาจจะยาวได้ถึง 10 เมตร
    – เปลือกรากเป็นสีเหลือง
    – เนื้อในรากเป็นสีขาว และภายในจะกลวง
  • ลักษณะของใบ [1]
    – ใบเป็นใบออกเรียงตรงข้าม
    – ใบเรียวยาว
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และยาว 30-60 เซนติเมตร
    – เนื้อใบสาก
  • ลักษณะของดอก [1]
    – ออกดอกเป็นช่อที่ปลายต้น
    – ช่อดอกยาวได้ 15-25 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุม
    – ในช่อหนึ่งจะมีดอก 3-7 ดอก
    – ดอกย่อยนั้นมีขนาดเล็ก มีความยาว 0.9-1.6 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปไข่ มี 5 กลีบ
    – โคนกลีบดอกเป็นหลอด
    – ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน เป็นเส้นขนยาว 3-4 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศเมียมี 1 อัน
    – กลีบดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง
  • ลักษณะของผล [1]
    – ผลเป็นรูปกลมรี

สรรพคุณของอ้อเล็ก

  • ราก ช่วยแก้อาการเจ็บคอ[1]
  • ราก ช่วยแก้อาการอาเจียน[1]
  • ราก ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล[1]
  • ราก ช่วยแก้เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน[1]
  • ราก ช่วยแก้อาการใจคอหงุดหงิด[1]
  • ราก มีรสชุ่มและเป็นยาเย็น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำได้[1]
  • ราก ช่วยลดไข้ตัวร้อน ช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ[1]
  • ราก ช่วยแก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบได้ โดยใช้รากสด 60 กรัม, รากบวบ 60 กรัม, หญ้าคา 60 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปอดอักเสบได้ โดยใช้รากแห้ง 30 กรัม, ดอกสายน้ำผึ้ง 30 กรัม, ลูกเดือย 15 กรัม, เมล็ดฟัก 12 กรัม, เห่งยิ้ง 10 กรัม, กิ๊กแก้ 10 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำรับประทาน[1]
  • ราก แก้ออกหัด โดยใช้รากสด 100 กรัม, ถั่วดำ 50 กรัม, ถั่วแดง 50 กรัม, ถั่วเขียว 50 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำจนถั่วเปื่อย ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาแบ่งรับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 1-2 ครั้ง โดยให้รับประทานติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์[1]

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีกระเพาะอาหารเย็นพร่องห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในรากจะพบสารหลายชนิด เช่น Asparagin, Coixol, Glucorin, Taraxerol, Taraxerenone, Tricin, Vitamin B1, Vitamin B2, Vitamin C และยังพบแป้งและน้ำตาล เป็นต้น[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “อ้อน้อย”. หน้า 644.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/
2.https://plants.ces.ncsu.edu/