ว่านคันทมาลา
ว่านคันทมาลา เป็นพรรณไม้ลงหัวล้มลุกลำต้นและดอกคล้ายกระเจียวกาบ ดอกมีสีเขียวเมื่อเริ่มบานสะพรั่งจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมขาว มักใช้เพื่อแต่งกลิ่นหรือแต่งสีเป็นส่วนประกอบในอาหารหลายชนิดของชาวเอเชีย โดยสมุนไพรชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และไทยทางทางจังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma Sp. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ คันฑมาลา, ว่านขาว, ว่านนางคำขาว, ว่านคันทมาลาน้อย
ลักษณะของว่านคันทมาลา
- ลักษณะของต้น
– ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัว
– มีลำต้นเทียมสูงกว่า 1 เมตร
– ลำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้าขนาดใหญ่
– หัวหลักมีลักษณะเป็นรูปไข่แคบ
– เนื้อในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
– ส่วนชั้นนอกจะเป็นสีม่วงดำ
– ส่วนชั้นในจะเป็นสีขาวอมเหลือง
– หัวมีกลิ่นเผ็ดร้อนคล้ายว่านพระตะบะ
– แตกแขนงย่อยทั้งสองข้าง
– มีข้อและปล้องชัดเจน
– สามารถขยายพันธุ์โดยใช้หัวว่านลงดิน
– ดินที่นำมาใช้ปลูกคือดินปนทราย
– กลบดินให้พอมิดหัวว่าน แต่อย่ากดจนแน่นเกินไป รดน้ำให้ดินชุ่มพอกัน ๆ
– เติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน พอถึงช่วงฤดูหนาวใบจะตาย - ลักษณะของใบ[1],[2]
– มีรูปร่างคล้ายกับใบว่านมหาเมฆ
– ขนาดของใบมีขนาดเท่ากับใบพุทธรักษา
– เป็นใบเดี่ยว
– ออกเรียงสลับกัน
– ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน
– มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงเข้ม - ลักษณะของดอก[1]
– ออกดอกเป็นช่อที่ปลายลำต้นเทียม
– มีใบประดับตอนล่างเป็นสีเขียวอ่อน
– ปลายใบเป็นสีม่วงแดง
– ใบประดับตอนบนเป็นสีม่วงอมแดงทั้งใบ
– ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน
– มีแถบกลางเป็นสีเหลืองอ่อน
– กลีบดอกที่แลบออกมาจากซอกกลีบประดับจะเป็นสีเหลืองสด เป็นรูปกรวยยาว
– ดอกคล้ายกับลูกสับปะรด
– มีกลีบดอกเป็นชั้น ๆ
สรรพคุณของว่านคันทมาลา
- หัว นำมาฝนและผสมกับเหล้า ใช้ทาแก้อาการเจ็บคอ[3]
- หัว นำมาฝนและผสมกับน้ำปูนใส ใช้ทาท้อง แก้อาการปวดท้องในเด็ก[3]
- หัว นำมาฝน ใช้ทารักษาอาการเคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ และอาการบวมได้ดีมาก[1]
- หัว นำมาต้มหรือดองผสมกับเหล้าขาว ใช้กินเป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่เร็ว[3]
- หัว นำมาโขลกและห่อด้วยผ้าขาวและดองกับเหล้าขาว ใช้กินเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนักและลำไส้[3]
- หัว นำมาฝนกับเกลือสินเทา ผสมกับน้ำร้อนหรือน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องขึ้น ท้องร่วง [3]
- หัว นำมาฝนและผสมกับเหล้าหรือน้ำส้มสายชู แล้วชุบด้วยสำลี ใช้อมไว้ข้าง ๆ แก้ม แล้วค่อย ๆ กลืนเอาแต่น้ำทีละน้อย เป็นยารักษาต่อมทอนซิลอักเสบ และรักษาฝีในคอ[1]
ประโยชน์ของว่านคันทมาลา
- เมื่อนำมาปลูกไว้ในบ้าน แล้วนำหัวมาเสกด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ คือ “นะโมพุทธายะ” 3 จบ แล้วนำมากิน จะช่วยให้คงกระพันชาตรี[1]
- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากดอกมีกลีบดอกเรียงเป็นชั้น ๆ ดูสวยงามแปลกตา[1]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- สารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์ (สกัดด้วยน้ำร้อนและตามด้วยการตกตะกอนโดยเอทานอล แล้วนำมาทำให้แห้ง) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยมี 1,1-diphenyl-2 picrylhydrazyl (DPPH) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระ โดยผสมสารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์กับน้ำกลั่นที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5, 1, 2, 3, และ 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบค่าเปอร์เซ็นต์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH มีค่าเท่ากับ 72.13, 54,89, 38.62, 18.94 และ 13.51 ตามลำดับ และมีค่า EC50 เท่ากับ 2.67 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร[4]
- นอกจากนี้ยังนำมาทดสอบฤทธิ์การเพิ่มจำนวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใยที่มาจากเนื้อเยื่อเหงือก โดยใช้ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของสารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์ แล้วจึงทดสอบด้วยสาร MTT assay พบว่า สารสกัดที่ระดับความเข้ม 0.01, 0.1, 1 และ 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ โดยที่ระดับความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้สูงสุด[4]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านคันทมาลา (คันฑมาลา)”. หน้า 711-712.
2. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.
3. สรรพคุณสมุนไพร. “สรรพคุณว่านคันทมาลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : samumpri-thai.blogspot.com. [21 ส.ค. 2014].
4. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 วันที่ 17-20 มี.ค. 2552. (พลอยพัฒณ์ นิยมพลอย, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, พลกฤษณ์ แสงวณิช, อภิชาติ กาญจนทัต). “ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันและการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ของส่วนสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์จากเหง้าของว่านคันทมาลา Curcuma aromatica Salisb”. หน้า 154-161.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://monsterblooms.com/