ต้นคราม
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบมีผิวบางมีสีเขียว ดอกเป็นช่อขนาดยาว สีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู ฝักขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว เมล็ดขนาดเล็กสีครีมอมเหลือง

ต้นคราม

คราม จะพบขึ้นได้มากตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย[1],[2],[3],[4],[5] ชื่อสามัญ Indigo[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera tinctoria L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ คราม ครามย้อย (ภาคเหนือและภาคกลางของไทย), คาม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย) เป็นต้น[1],[3]

หมายเหตุ
ต้นคราม ในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับ ต้นฮ่อม เนื่องจากในบางท้องถิ่นก็เรียกต้นฮ่อมว่า ต้นคราม
(ต้นฮ่อมจัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek.)

ลักษณะของต้นคราม

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีสีเขียวมีลักษณะเป็นทรงกระบอก โดยลำต้นจะแตกแขนงกิ่งก้านออกมามาก (บางต้นอาจแตกแขนงกิ่งก้านออกมาน้อยก็มี) ซึ่งกิ่งก้านมักจะเกาะพาดตามขอนไม้ใกล้กับลำต้น
    – ความสูง ประมาณ 1-2 เมตร
    – การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ และขอบใบเรียบ โดยใบจะมีลักษณะคล้ายใบก้างปลาแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า[1] แผ่นใบมีผิวบางมีสีเขียว ซึ่งใบจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ[2],[5]
    – สัดส่วนขนาดใบมีความกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อขนาดยาวที่บริเวณซอกใบ ภายในช่อมีดอกย่อยเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีสีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู[1],[2]
  • ผล
    – ผล ออกรวมกันเป็นกระจุก โดยผลมีรูปร่างเป็นฝักทรงกลมมีขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีครีมอมเหลือง[2],[3],[5]

สรรพคุณของคราม

1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาฟอก โดยจะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ รักษาอาการปัสสาวะขุ่นข้น และมีฤทธิ์ในการรักษาโรคนิ่วได้เป็นอย่างดี (ทั้งต้น)
2. นำมาทั้งต้นมาทำเป็นยาเย็นใช้สำหรับรักษาไข้หวัด (ต้น)[4]
3. เนื้อของต้น มีสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก และแผลที่ถูกของมีคมบาด (ทั้งต้น)[5]
4. เปลือกนำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษจากการถูกงูกัด (เปลือก)[5]
5. เปลือกนำมาใช้ช่วยแก้พิษฝีและแก้อาการบวม (เปลือก)[5]
6. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคกษัย (ลำต้น)[5]
7. ใบ นำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษ (ใบ)[5]
8. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ลำต้น, ใบ)[5]
9. ลำต้นและใบมีฤทธิ์ในการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาไข้ (ลำต้น, ใบ)[5]

ประโยชน์ของต้นคราม

1. ใบนำมาคั้นน้ำ เอามาใช้บำรุงเส้นผมและช่วยป้องกันผมหงอก[5]
2. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมได้ โดยจะให้สีน้ำเงิน ซึ่งมีคำยกย่องว่าต้นครามคือ “ราชาแห่งสีย้อม” (King of the dyes)[1],[2],[3],[5]
3. ผ้าที่ย้อมด้วยสี มีฤทธิ์ในการช่วยปกป้องผิวของผู้ที่สวมใส่จากรังสีอัลตราไวโอเลตได้[5]

ข้อควรรู้ คุณประโยชน์ของผ้าคราม

1. ผ้าครามที่ถูกนำไปนึ่งให้อุ่นสักประมาณหนึ่ง จะมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำได้[5]
2. หมอยาพื้นบ้านทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย จะนำผ้าที่ถูกย้อมด้วยต้นครามมาทำการห่อลูกประคบเอาไว้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ตัวยามีเนื้อยาที่กระชับมากยิ่งขึ้น[4]
3. ผ้าที่ย้อมสีจากต้นนำมาชุบกับน้ำใช้สำหรับประคบบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คราม”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 168.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “คราม Indigo”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 126.
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “คราม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [15 ก.พ. 2014].
4. วิชาการดอทคอม. “(ฮ่อม) ห้อมและคราม สีมีชีวิต”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.vcharkarn.com. [15 ก.พ. 2014].
5. เดลินิวส์. “คราม ราชาแห่งสีย้อมพร้อมด้วยสรรพคุณทางยา”. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพและความงาม (ผศ.พิเชษฐ เวชวิฐาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [15 ก.พ. 2014]
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com/
2. https://www.desertcart.co.za/