หญ้าลิ้นงู
เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาวหรือสีม่วง ผลเป็นรูปทรงกลมมีสันสี่มุม

หญ้าลิ้นงู

หญ้าลิ้นงู เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกขนาดเล็กลักษณะของดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วง สมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัส มะเร็ง สิว โรคตา โรคผิวหนัง และเลือดออก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Oldenlandia corymbosa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedyotis corymbosa (L.) Lam.) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง)[1],[2]

ลักษณะของหญ้าลิ้นงู

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กคลุมดิน
    – มีอายุได้ถึง 1 ปี
    – มีลำต้นเลื้อยยาวเป็นข้อ ๆ ประมาณ 6-10 นิ้ว
    – มียอดสูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะเล็กยาว
    – เรียบเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม
    – ระหว่างข้อมีร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น
    – แตกกิ่งก้านสาขาออกมาก
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
    – มีความอุดมสมบูรณ์
    – ชอบขึ้นตามที่ชื่นแฉะ
    – พบได้ในภูมิอากาศเขตร้อนถึงร้อนชื้นของประเทศในแถบแอฟริกา เอเชีย แคริบเบียน อเมริกา ออสเตรเลีย และแปซิฟิก
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปหอกเรียวแหลมขนาดเล็ก
    – มีความกว้าง 1.5-3.5 มิลลิเมตร และยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – หลังใบคดงอ
    – ขอบใบหยาบ
    – ไม่มีก้านใบ
    – มีหูใบขนาดเล็ก
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ช่อหนึ่งจะมีดอก 2-5 ดอก
    – แยกออกจากกันเป็นคู่ ๆ
    – โดยจะออกตามง่ามใบ
    – ช่อดอกยาวประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีขาวหรือสีแดงอ่อน
    – ดอกย่อยยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร
    – แตกออกเป็นแฉก 4 แฉก
    – ด้านนอกมีขนปกคลุม
    – เป็นรูปกรวย
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
    – มีรังไข่ 2 อัน
    – ก้านดอกยาว 0.6-2 เซนติเมตร
  • ลักษณะของผล[1],[2]
    – ผลมีเป็นรูปทรงกลม
    – มีสันสี่มุม
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร
    – เปลือกนอกแข็งไม่แตก
    – ผลเมื่อแก่แล้วปลายผลจะแตกออก
    – มีเมล็ดขนาดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเหลี่ยม ๆ

สรรพคุณของหญ้าลิ้นงู

  • ทั้งต้น ใช้ฆ่าพยาธิ[4],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยปกป้องตับ[4],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยขจัดสารพิษ[4],[5]
  • ชาวฟิลิปปินส์จะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ[4],[5]
  • ชาวอินโดนีเซียจะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน[4],[5]
  • ประเทศจีน จะใช้หญ้าริ้นงูเป็นยารักษาเนื้องอกบางชนิด[4],[5]
  • ทั้งต้น นำต้นสดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี ใช้เป็นยารักษาฝีปวดบวม[2]
  • ทั้งต้น นำหญ้าลิ้นงูประมาณ 20-40 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้แก้ฝีในท้อง [2]
  • ทั้งต้น เป็นยาเย็นที่มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และลำไส้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[2]
  • ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างแผลฝีบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก[1],[2]
  • ลำต้นสด นำมาประมาณ 15-30 กรัม แล้วมาต้มเอาแต่น้ำกิน ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย[1]
  • ลำต้นสด นำมาประมาณ 15-30 กรัม แล้วต้มเอาแต่น้ำกิน ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ มะเร็งในลำไส้[1],[2]
  • ทั้งต้นใช้เพื่อรักษาโรคที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าลิ้นงู

  • สารที่พบ ได้แก่ Corymbosin, Flavone, Fatty acid, Sterol, Ursolic acid เป็นต้น[2]
  • สาร Ursolic acid มีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอลที่นำมาทดสอบในหนูทดลองได้[3] จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดมีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการถูกทำลายของสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ Carbon tetrachloride, D-Galatosamine, Perchloroethylene โดยคุณสมบัติดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับยา Silymarin[4]
  • มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้หลากหลายสายพันธุ์, ต้านยีสต์ (เช่น ยีสต์แคนดิดา), ต้านรา (เช่น ราแอสเปอร์จิลัส), ต้านโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย (ภายหลังจึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาไข้มาลาเรีย)[3],[4]
  • จากการศึกษาในหลอดทดลองว่าสารสกัดมีคุณสมบัติต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งเต้านม[4]
  • มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาการเกิดในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพริน โดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาแลนโซปราโซล (Lansoprazole)[4] ช่วยบรรเทาอาการปวดได้[4]
  • มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้า ลิ้น งู”. หน้า 811.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า ลิ้น งู”. หน้า 600.
3. Bangladesh Journal of Scientific and Industrial Research. (Tamanna Sultana, M Abdur Rashid, M Ahad Ali, Samsuddin Faisal Mahmood). “Hepatoprotecive and Antibacterial Activity of Ursolic acid Extracted from Hedyotis corymbosa L.”. Res. 45(1), Pages: 27-34, 2010.
4. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research. (IJPS). (Sridevi Sangeetha Kothandaraman Sivapraksam, Kavitha Karunakaran, Umamaheswari Subburaya, Sujatha Kuppusamy, Subashini TS). “A Review on Phytochemical and Phamarcological Profile of Hedyotis corymbosa Linn.”. Res. 26(1), Article No. 54, Pages: 320-324, 2014.
5. Global information Hub On Integrated Medicine (Globinmed). “Hedyotis corymbosa”. เข้าถึงได้จาก: www.globinmed.com. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://us.lakpura.com/pages/