ผักคราดหัวแหวน
ผักคราดหัวแหวน เป็นไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามที่รกร้างทั่วไป เป็นผักที่เป็นทั้งอาหารและเป็นทั้งยาสมุนไพรที่ยอดเยี่ยม แต่หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทานเด็ดขาด ส่วนของใบเป็นผักสดที่นำมาแกล้มกับอาหารคาวเพื่อช่วยดับกลิ่นและช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้ เป็นยาในตำราของหมอแผนไทย คนไทยส่วนมากอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักสักเท่าไหร่ และไม่รู้ด้วยว่าผักชนิดนี้สามารถบรรเทาอาการ หรือเป็นสรรพคุณได้มากเพียงใด
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักคราดหัวแหวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Para cress” “Tooth – ache plant” “Toothache plant” “Brazil cress toothache plant” “Pellitary” “Spot flower”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ผักคราด หญ้าตุ้มหู ผักเผ็ด” ภาคใต้เรียกว่า “ผักตุ้มหู” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “อึ้งฮวยเกี้ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ชื่อพ้อง : Spilanthes acmella var. oleracea (L.) C.B.Clarke, Spilanthes oleracea L.
ลักษณะของผักคราดหัวแหวน
ผักคราดหัวแหวน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุปีเดียว ที่มีถิ่นกำเนิดในบราซิลเขตร้อนและอเมริกา เป็นวัชพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และปาปัวนิวกินี
ลำต้น : มีลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลมและอวบน้ำ ต้นมีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ต้นทอดไปตามดินเล็กน้อย ลำต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน เป็นรูปสามเหลี่ยม รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ขอบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยแบบหยาบ ผิวใบมีขนสาก ตรงปลายใบแหลม และโคนใบสอบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ เป็นกระจุกสีเหลืองเป็นรูปไข่ ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ดอกย่อยมี 2 วง นั่นก็คือ วงนอกเป็นดอกตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล : เป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปไข่ มี 3 สัน ตรงปลายเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย
สรรพคุณของผักคราดหัวแหวน
- สรรพคุณ เป็นอาหารบำรุงธาตุสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรและมีอาการวิงเวียนศีรษะ แก้ไข้จับสั่น แก้ตัวร้อน รักษาแผลเรื้อรังหายยาก รักษากระดูกหัก แก้กระดูกแตก แก้อักเสบ ช่วยบำรุงเลือดลมของสตรีให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ต้านยีสต์ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ เพิ่มฤทธิ์ของฮิสตามีนในการทำให้ลำไส้หดเกร็ง ช่วยลดความดันโลหิต ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ชัก แก้อาการปวด ลดความแรงและความถี่ของการบีบตัวของหัวใจห้องบน ช่วยยับยั้งการหดตัวของมดลูก
สรรพคุณจากต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้ไข้ แก้ฝีในคอ แก้ปวดฟัน ช่วยรักษาต่อมน้ำลายอักเสบ ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดประจำเดือน ช่วยรักษาริดสีดวง ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง เป็นยาห้ามเลือด - สรรพคุณจากดอก ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นและเรียกน้ำลาย ช่วยรักษารำมะนาด ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้ลมตะกังหรืออาการปวดหัวข้างเดียว ช่วยป้องกันโรคมาลาเรีย เป็นยาขับน้ำลาย ช่วยแก้โรคในคอ รักษาแผลในปากและคอ ช่วยแก้หรือลดอาการปวดฟันและฟันผุ ช่วยรักษาแมงกินฟัน ช่วยแก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต ช่วยรักษาโรคติดอ่างในเด็ก ช่วยแก้องคชาตตาย
- สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้เด็กร้องไห้ แก้ซางวันจันทร์ รักษาซางน้ำ ช่วยรักษาดีซ่าน ช่วยแก้อาการผอมเหลือง ช่วยแก้อาการเด็กตัวร้อน ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้อาการหอบไอ ระงับอาการหอบ ช่วยแก้อาการไอ แก้ไอหวัด แก้ไอกรน ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยแก้ปอดบวม ช่วยแก้อาการชอกช้ำภายในทรวงอก แก้คออักเสบ แก้อาการคันคอ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยแก้ฝีในคอ ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยแก้อาการปวดเหงือกปวดฟัน ช่วยแก้คอตีบตัน ช่วยแก้บิด ช่วยแก้ท้องเดิน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวง ช่วยรักษาเริม ช่วยแก้อาการตับอักเสบ ช่วยรักษาผิวหนังเป็นฝีหรือเป็นตุ่มพิษ ช่วยแก้อาการคัน แก้พิษปวดบวม แก้แผลบวม แก้งูพิษกัด แก้พิษสุนัขกัด แก้ตะมอย ช่วยรักษาไขข้ออักเสบ แก้ไขข้ออักเสบจากลมขึ้น ช่วยลดอาการปวดบวมกล้ามเนื้อ แก้ปวดกระดูก แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดบวม แก้ฟกช้ำบวม ช่วยแก้อาการเจ็บปวดสีข้าง แก้อาการปวดท้องหลังคลอด
- สรรพคุณจากราก ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาการปวดฟัน แก้อาการอักเสบในช่องปาก แก้อาการอักเสบ แก้เจ็บคอ เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาแก้ระดูมาไม่ปกติของสตรี ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการคัน
- สรรพคุณจากใบ แก้ซางแดง ช่วยแก้อาการผอมเหลือง ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ ช่วยแก้อาการตาฟาง ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้มึน ช่วยแก้อาการเด็กตัวร้อน ช่วยฆ่าเชื้อปรสิตที่อยู่ในกระแสเลือดอย่างเชื้อมาลาเรีย ช่วยป้องกันโรคมาลาเรีย เป็นยาแก้ปวดฟัน ช่วยแก้อาการสำรอกในเด็ก เป็นยาถ่ายสำหรับเด็ก เป็นยาผายลมในเด็ก ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้พิษตามทวาร ช่วยรักษาริดสีดวง ช่วยแก้อาการตกเลือด ช่วยแก้ฝีดาษ ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้แผลพุพอง ช่วยแก้อัมพฤกษ์ แก้อัมพาต แก้อาการเหน็บชา
- สรรพคุณจากผล แก้ร้อนใน
- สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการปากแห้ง เป็นยาขับน้ำลาย
ประโยชน์ของผักคราดหัวแหวน
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบนำมาใช้ทานเป็นผักแกล้มกับอาหารคาว ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้ลวกทานร่วมกับน้ำพริก ใส่ในแกงแค อ่อมปลา
2. เป็นส่วนประกอบของยา เป็นส่วนประกอบในลูกประคบหมอแผนไทย ทั้งต้นและดอกทำเป็นยา
3. ใช้ในการเกษตร ทั้งต้นเป็นยาฆ่าตัวอ่อนของยุง ใช้ในการเบื่อปลา ทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ผักคราดหัวแหวน เป็นผักมากสรรพคุณอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าภายนอกจะพบตามที่รกร้างบนพื้นดิน แต่กลับเป็นพืชผักที่มีประโยชน์ได้มากมาย ทั้งการนำมาเป็นผักสดทาน หรือการนำมาเป็นวัตถุดิบในการวิจัย เช่น ทำยาชา เป็นต้น ผักคราดหัวแหวนมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษากระดูกหัก ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ ดีต่อระบบขับถ่ายเป็นอย่างมาก
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [5 พ.ย. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [5 พ.ย. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [5 พ.ย. 2013].
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) (นันทวัน บุณยะประภัศร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [5 พ.ย. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “ยาชา ยาแก้อักเสบจากผักคราดหัวแหวน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [5 พ.ย. 2013].
สถาบันการแพทย์แผนไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [5 พ.ย. 2013].
ฟาร์มเกษตร. “สมุนไพรผักคราดหัวแหวน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.farmkaset.org. [5 พ.ย. 2013].
สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). อ้างอิงใน: สารศิลปยาไทย ฉบับที่ 36. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oocities.org/thaimedicinecm. [5 พ.ย. 2013].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 15 คอลัมน์: อื่น ๆ. “มะขามและผักคราดหัวแหวน”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [31 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
รูปอ้างอิง
1.https://www.mayernikkitchen.com
2.https://indiabiodiversity.org