พริกไทย
พริกไทย ( PEPPER ) พริกไทย (PEPPER) หรือพริกไทยสด (Green Peppercorn) คือ สมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก ทั้งพริกไทยดำ ( Black pepper ) และพริกไทยขาว (white pepper) พืชที่เติบโตในพื้นที่เขตร้อนชื้นและมีฝนตกชุกพริกไทยมีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งอินเดียมีประวัติมาอย่างยาวนาน เป็นเครื่องเทศที่ปลูกกันแพร่หลายอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นราชาของเครื่องเทศมีกลิ่นหอมฉุน ให้รสเผ็ดร้อน สามารถทานได้ทั้งสดและแห้งนิยมนำมาปรุงรสในอาหารแยกได้หลายประเภทดังนี้ พริกไทยดำ พริกไทยขาว พริกไทยป่น พริกไทยอ่อน พริกไทยสด พริกไทยแห้ง เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางตำรับยาทั้งทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์แผนปัจจุบัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกไทย
พริกไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Piper nigrum L. ชื่อวงศ์ตระกูล Piperaceae พริกไทยเป็นต้นไม้เลื้อยมีลำต้นเถาเนื้อแข็งสีเขียวสูงประมาณ 10 เมตร โดยระบบรากอยู่ในดินลึกไม่เกิน 2 เมตรและอาศัยรากอากาศใช้ยึดติดกับต้นไม้ ใบกว้างสีเขียวมันวาวเรียงสลับกันขอบขนานปลายใบแหลมโคนใบมนกลมกว้าง 3.5 – 6 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 3 – 6 เซ็นติเมตร มีเส้นตามแนวยาว 5 เส้น ดอกสีขาวขนาดเล็กมีหนามแหลมเรียวยาวดอกละประมาณ 50 ดอก มี 2 เพศในดอกเดียวกัน ผลทรงกลมขนาด 4 – 5 เซ็นติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม เมื่อผลพริกไทยเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดงแห้งแล้วเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีดำแต่ถ้าแกะเปลือกออกมีสีขาวนวล มีเมล็ดด้านใน 2 เมล็ด
สารออกฤทธิ์ในพริกไทย
ในเปลือกของพริกไทยอุดมไปด้วยปริมาณฟีนอล ฟลาโวนอยด์ และไพเพอรีนทั้งหมด 1421.95 ± 22.35 มก. GAE/100 ก., 983.82 ± 8.19 มก. CE/100 ก. และ 2352.19 ± 68.88 มก./100 กรัมตามลำดับ พริกไทยดำ คือผลแห้งที่ยังไม่สุกเต็มที่ของต้นพริกไทยถูกใช้เป็นเครื่องเทศ และเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ในขณะที่พริกไทยขาวคือผลสุกที่ไม่มีเปลือกนอก พริกไทยดำและขาวสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ สารไพเพอรีนซึ่งมีหน้าที่ทำให้พริกไทยมีกลิ่นฉุน ซึ่งพบได้ในตระกูลพริกไทย (Piperaceae) รวมถึงพริกยาว ( Piper longum ) ช่วยให้อาหารมีรสชาติเผ็ดร้อน เปลือกพริกไทยดำช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ลดอาการปวดหัว ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยระบบย่อยอาหารไม่ดี และยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดส่วนใหญ่ใช้กิ่งปักชำใช้เสาหรือต้นไม้ที่เป็นที่ยึดเป็นต้น
ตารางโภชนาการของพริกไทย
ข้อมูลโภชนาการ พริกไทย ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 255 แคลอรี่
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหาร |
ไขมัน | 3.3 กรัม |
น้ำ | 10.5 กรัม |
โซเดียม | 44 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 1,259 มิลลิกรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 64.8 กรัม |
ไฟเบอร์ | 26.5 กรัม |
โปรตีน | 11 กรัม |
วิตามินเอ | 15 ไมโครกรัม |
วิตามินบี | 60.3 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 21 มิลลิกรัม |
วิตามินอี | 0.7 มิลลิกรัม |
วิตามินเค | 163.7 ไมโครกรัม |
แคลเซียม | 437 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 28.9 มิลลิกรัม |
แมกนีเซียม | 194 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 173 มิลลิกรัม |
สังกะสี | 1.4 มิลลิกรัม |
ทองแดง | 1.1 มิลลิกรัม |
ฟลูออไรด์ | 34.2 ไมโครกรัม |
แมงกานีส | 5.6 มิลลิกรัม |
ซีลีเนียม | 3.1 ไมโครกรัม |
ไลโคปีน | 6 ไมโครกรัม |
ไทอามีน | 0.1 มิลลิกรัม |
ไรโบฟลาวิน | 0.2 มิลลิกรัม |
ไนอาซิน | 1.1 มิลลิกรัม |
โฟเลต | 10 ไมโครกรัม |
โคลีน | 11.3 มิลลิกรัม |
เบทาอีน | 8.9 มิลลิกรัม |
(*ค่าเปอร์เซ็นต์รายวันขึ้นอยู่กับอาหาร 2,000 แคลอรี่ดังนั้นค่าของคุณอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความต้องการแคลอรี่)
ประโยชน์ต่อสุขภาพของพริกไทยดำ
การวิจัยพบว่าพริกไทยดำ ( Black pepper ) มีผลดีต่อเอนไซม์ตับอ่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการย่อยอาหาร เป็นเครื่องเทศมีประโยชน์มากมายตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันถูกยกให้เป็นราชาแห่งเครื่องเทศ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ดังนี้
- พริกไทยดำประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ และแคโรทีนอยด์ที่ช่วยในการรักษามะเร็งและโรคร้ายแรงอื่น ๆ
- ในพริกไทยดำมีกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ( Hydrochloric acid ) ช่วยย่อยโปรตีนในอาหาร ช่วยในการทำความสะอาดลำไส้ และช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารได้เร็วขึ้น
- ช่วยยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ช่วยปกป้องการสร้างเม็ดสีผิวและรักษาสีผิวเดิม
- ช่วยลดเลือนริ้วรอยก่อนวัย ทำให้ผิวอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น และลดจุดด่างดำบนใบหน้า
- เมล็ดพริกไทยช่วยล้างสารพิษออกจากผิว
- พริกไทยดำช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย ช่วยให้ผมดกดำขึ้น
- พริกไทยเครื่องเทศที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งช่วยในการสลายไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนัก ช่วยเริ่งการเผาผลาญของร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำ
- การกินพริกไทยสดช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า ยับยั้งอาการทางจิต
- ช่วยในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไอ จาม ไอมีเสมหะ
- ช่วยป้องกันอาการคัดหน้าอกได้
- ช่วยลดอาการปวดข้อ และอาการปวดกระดูกสันหลัง
- ช่วยในการป้องกันโรคเกาต์
- ช่วยขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
- มีคุณสมบัติในการขับลมและช่วยบรรเทาแก๊สในกระเพาะอาหาร
- ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดและอาการปวดจุกเสียด
- ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เช่น ซีลีเนียม เคอร์คูมิน เบต้าแคโรทีน และวิตามินบีในลำไส้
- ช่วยลดความเครียดในทวารหนัก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านเนื้องอก ( Docetaxel ) ในกลุ่ม Taxane ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- ในพริกไทยพบสารแอลคาลอยด์ ( Alkaloid ) หรือเรียกอีกชื่อว่า ไพเพอร์รีน มีประสิทธิภาพในการควบคุมความดันโลหิต ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมิน ( Curcumin ) ที่พบในขมิ้น
- คุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียของพริกไทยดำ
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ช่วยบรรเทาอาการปวดฟันและการติดเชื้อในช่องปาก
- พริกไทยดำมีผลดีต่อสุขภาพสมอง ช่วยให้นอนหลับง่าย
การบริโภคพริกไทยต่อวัน
พริกไทยที่นิยมบริโภคกันทั่วๆไปนั้น มีทั้ง พริกไทยเมล็ด พริกไทยป่น พริกไทยสด พริกไทยดำ การบริโภคที่ดีควรทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป เนื่องจากพริกไทยเป็นเครื่องเทศไม่ใช่อาหาร ปริมาณที่เหมาะสมเพิ่มเติมพริกไทยป่นลงไปในอาหาร 1 ช้อนโต๊ะ ( 6 กรัม ) จะให้พลังงาน 15.9 แคลอรี่ เส้นใยอาหาร 2 กรัม ไขมัน 4.1 กรัม โซเดียมประมาณ 3 มิลลิกรัม และคาร์โบไฮเดรต 4 กรัม พ่อครัว แม่ครัว กุ๊ก เชฟใช้พริกไทยในการปรุงอาหารเพื่อให้มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน เมนูอาหารพริกไทย เช่น แกงเลียง คั่วกลิ้ง ผัดหอยลายโหระพาพริกไทยอ่อน เนื้อผัดพริกไทยดำ ทะเลผัดพริกไทยดำ ( ไก่ ปลา หมู กุ้ง ปลาหมึก หอย เนื้อ ) สเต็ก เป็นต้น
เมนูพริกไทยรสเด็ด
- สเต๊กหมูพริกไทยดำ
- ผัดหอยลายโหระพาพริกไทยอ่อน
- มาม่าผัดขี้เมาทะเล
- เนื้ออบซอสพริกไทยดำ
- หมู ไก่ผัดพริกไทยดำ
- แกงป่าเนื้อใส่พริกไทยดำ
- หมูทอดกระเทียมพริกไทยดำ
- ผัดฉ่าทะเล
- ผัดกระเพราหมูสับใส่พริกไทยดำ
- แกงจืดวุ้นเส้นทรงเครื่อง
พริกไทยจัดเป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางยามากมายและเป็นนิยมปลูกกันมากในประเทศไทยมีมากถึง 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ซีลอน พันธุ์คุชชิ่ง พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ใบหนา พันธุ์ควายขวิด พันธุ์บ้านแก้ว และพันธุ์ปรางถี่หยิก อุดมไปด้วยสังกะสี และแมกนีเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุสองชนิดที่สำคัญต่อฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มปริมาณอสุจิผู้ชายทั้งหลายไม่ควรพลาด
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม