โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ มะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมาก เกิดที่ต่อมลูกหมาก ซึ่งต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของผู้ชายในระบบทางเดินปัสสาวะที่สามารถเป็นมะเร็งได้ โดยต่อมลูกหมากจะอยู่บริเวณโคนอวัยวะเพศ ( องคชาต ) ติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเมือกเพื่อใช้ในการหล่อเลี้ยงเชื้อ อสุจิโดยเฉพาะ โดยการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง เป็นต้น แต่ที่มักจะพบได้มากที่สุดก็คือโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง มะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันนี้เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก มะเร็งจัดเป็นโรคร้ายแรงอันดับหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้หากทำการรักษาไม่ทันเวลา จากสถิติพบว่าผู้ชายเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) ซึ่งพบว่าอัตราการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของชายไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้งหลายเป็นเนื้องงอกและเนื้อร้ายในเวลาต่อมา ซึ่งการเจริญเติบโตของเซลล์ส่งผลให้เซลล์ที่อยู่รอบข้างถูกทำลายตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน และจากสถิติของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบว่าผู้ป่วยจะเป็นชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ภายในครอบครัวมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม หรือมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิดสมดุล โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล เป็นหลัก ทำให้ร่างกายเกิดภาวการณ์สะสมของไขมันสูง ซึ่งจากสถิติพบว่าความเสี่ยงในการการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคนี้และไม่มี แลโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไม่แสดงอาการให้ผู้ป่วยรับรู้ว่ามีเนื้อร้ายเกิดขึ้นที่ต่อมลูกหมากแล้ว ทำให้การตรวจพบหรือการสังเกตว่ามีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่ทำได้ยาก และหลายครั้งที่ทำการตรวจพบเชื้อมะเร็งก็ลุกลามอยู่ในขั้นแพร่กระจายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาชีวิตและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

การเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่

  • อายุ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • เชื้อชาติ พบว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากที่สุด ได้แก่ คนเชื้อชาติตะวันตก และกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้น้อย คือ คนเชื้อชาติเอเชีย
  • เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือไม่ถ่ายทอดก็ได้
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • การทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ใน 10 อันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยและมักจะ พบได้มากที่สุดในชาติตะวันตก ซึ่งจากสถิติของสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 69 ปีขึ้นไป แต่อาจพบได้บ้างประปรายในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี นอกจากนี้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็มีหลายชนิดอีกด้วย แต่ที่มักจะพบบ่อยที่สุด ได้แก่ ชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่จะมีอาการที่คล้ายกับต่อมลูกหมากอักเสบหรือต่อมลูกหมากโต โดยแพทย์ได้สรุปอาการที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

1. มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะไม่สุดหรือมีเลือด มูกเลือดออกทางท่อปัสสาวะ   

2. ในบางคนอาจมีอาการปวดหลังและขาอ่อนแรงได้ เนื่องจากมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระดูกและไขสันหลัง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากถือเป็นชนิดที่มีโอกาสแพร่เข้าสู่กระดูกได้สูงมากสำหรับการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก และตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่ชัดเจน แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในต่อมลูกหมากมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งนอกจากจะทราบผลของโรคแล้วก็ทราบระยะของอาการป่วยอีกด้วย

มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง

ระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากมีทั้งหมด 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทั่วๆ ไป ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามอยู่ในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียวเท่านั้น ซึ่งการตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในระยะนี้ จะพบค่าระดับต่ำ

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามมากขึ้น แต่ยังคงอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมากและตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์สูงขึ้น

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อหุ้มต่อมลูกหมากหรือลุกลามเข้าสู่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกระดูกและปอด   

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

1. ควบคุมพฤติกรรมการกิน
การเลือกรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี หลักการรับประทานอาหารสำหรับการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากคือ

1.1 เน้นผักและผลไม้
การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน โดย 3 ใน 4 ต้องเป็นผักและผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ ผักผลไม้นั้นอุดมไปด้วยวิตาม เกลือแร่และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น แตงโม กล้วย แครอท ฟักทอง คะน้า เป็นต้น ซึ่งวิตามินที่มีอยู่ในร่างกายจะทำหน้ารักษาสมดุลของระบบการทำงานภายในร่างกาย โดยวิตามินจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นระบบประสาทให้ทำการหลั่งสารสื่อประสาทเพื่อสั่งงานไปสู่อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งถ้าระบบการหลั่งสารสื่อประสาทมีความผิดปกติแล้ว การทำงานของระบบภายในก็จะทำให้เกิดความผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์เกิดความผิดปกติเป็นที่มาของการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ภายในต่อมลูกหมากได้ และวิตามินที่มีอยู่ในผักและผลไม้ เช่น วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค วิตามินเอ เป็นต้น ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทานโรค และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) ที่สามารถช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมและสารอนุมูลอิสระ ( Free radical ) ที่เข้ามาสู่ร่างกายออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายดีเอ็นเอ ( DNA ) จนเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

1.2 ลดอาหารให้พลังงานสูง
เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน แป้ง คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ส่วนหนึ่งร่างกายจะดึงมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และส่วนที่เหลือร่างกายจะเก็บสะสมไว้เป็นแหล่งพลังงานสำรองไว้ใช้ยามที่ร่างกายขาดแคลนอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานจากภายนอก ซึ่งร่างกายจะสะสมอยู่ในรูปของเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งเนื้อเยื่อไขมัน ( Fat tissue) สามารถที่จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ดังนั้นเมื่อมีเนื้อเยื่อไขมันในปริมาณสูง ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะสูงตามไปด้วย นอกจากปริมาณเอสโตรเจนที่มีส่วนในการกระตุ้นการเจริบเติบโตของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมาก จึงมีความเสี่ยงในการเกิดเป็นเนื้อร้ายได้ และปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายยังเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนอินซูลินที่สูงผิดปกติ ซึ่งเมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ร่างกายจะต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อมาทำการย่อยสลายไขมันให้กลายเป็นกลูโคสที่สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอาหารของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินสูง ตับก็จะทำการสร้างสารที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมน IGF-1 ( Insulin-like Growth factor ) เป็นสารกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติและยังสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้นกลายเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายและโรคมะเร็งในที่สุด   

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่ผู้ชายส่วนมากไม่ให้ความสนใจและละเลย คิดว่าร่างกายแข็งแรงโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นได้ยาก

2. ควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนักและปริมาณไขมันภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ มีดัชนีมวลกาย ( Body mass index ( BMI ) ) อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 หรือมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ( Body fat percentage ) อยู่ระหว่าง 14- 25% ซึ่งการที่ควบคุมน้ำหนักร่วมกับการควบคุมเปอร์เซ็นไขมันให้อยู่ในระดับมาตรฐานจะช่วยป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย การออกกำลังกายจะเข้าไปกระตุ้นทำให้ระบบการทำงานและการขจัดของเสียของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกกำลังจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดทำการลำเลียงสารอาหาร สารต่อต้านอนุมูลอิสระและอากาศไปยังเซลล์ที่อยู่ตามอวัยวะเพื่อเป็นแหล่งพลังงานและอาหารในการซ่อมแซมเซลล์ที่เกิดการเสียหายหรือเกิดการอักเสบให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม รวมถึงยังช่วยกระตุ้นให้สร้างเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป และสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้าไปยังไปจับตัวกับอนุมูลอิสระ ( Free radical ) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนเมตาบอลิซึมที่หลงเหลืออยู่ภายในร่างกายและขจัดออกมาภายนอก จึงป้องกันไม่อนุมูลอิสระเข้าไปทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอจนเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ( Cancer cell )

3. ตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากหรือภาวะเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ซึ่งการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากจะทำการตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมาก ( Prostate-Specific Antigen หรือ PSA ) ในกระแสเลือด ซึ่งสาร PSA คือ โปรตีนที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่อยู่ภายในของต่อมลูกหมาก สาร PSA มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเกิดการจับตัวเป็นก้อน แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในบริเวณต่อมลูกหมากแล้ว จะทำให้ร่างกายต้องทำการสร้างสาร PSA เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจหาปริมารสาร PSA จึงสามารถบ่งบอกถึงว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติหรือไม่ โดยทั่วไปปริมาณสาร PSA ในสภาวะปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง 4 ถึง 10 ng/mL หากค่า PSA สูงกว่า 10 ng/mL แสดงว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต้องทำการตรวจต่อมลูกหมาด้วยการสอดนิ้วไปทางทวารหนักว่ามีก้อนเนื้อหรือต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ ถ้าตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว แพทย์ตรวจเพิ่มเติมเพื่อความแน่ใจว่าก้อนที่เกิดขึ้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจต่อไป   

จะพบว่าการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถปฏิบัติได้ง่ายมาก เพียงแต่ต้องอาศัยความใส่ใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ปลอดสารพิษที่มีแป้งหรือน้ำตาลต่ำ มีเส้นใยและสารอาหารสูง พร้อมทั้งทำการตรวจสุขภาพเฝ้าระวังมะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่ที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด ก็คือการผ่าตัด การใส่แร่และการฉายรังสีรักษา โดยจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียวเท่านั้น ซึ่งจะเลือกใช้วิธีไหนแพทย์จะให้ครอบครัวหรือญาติของผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเอง โดยแพทย์จะให้ข้อมูลถึงผลลัพธ์ในการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นของวิธีการต่างๆ เพื่อให้ญาติได้ตัดสินใจ

อย่างไรก็ตามหากเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ไม่มีการแพร่กระจาย แพทย์มักจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดและการใช้ฮอร์โมน โดยในบางคนก็อาจมีการใช้รังสีรักษาร่วมด้วย ซึ่งระยะนี้จะยังคงมีโอกาสรักษาให้หายได้ในระดับหนึ่ง

แต่หากเป็นกรณีที่โรคได้แพร่กระจายแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายมีน้อยมาก แพทย์จึงใช้วิธีการรักษาด้วยการบรรเทาและประทังอาการโดยกรใช้รังสีรักษา การใช้ฮอร์โมนและการทำเคมีบำบัด รวมถึงการรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการ อายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

และหากเป็นการรักษาด้วยฮอร์โมน ซึ่งมี 2 วิธีคือการผ่าตัดและการให้ยาฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้แค่วิธีเดียวเท่านั้น เพราะทั้งสองวิธีให้ผลลัพธ์ในการควบคุมและรักษาโรคที่ใกล้เคียงกัน แต่มีผลข้างเคียงและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แตกต่างกันพอสมควร

ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงที่สุด?

ในปัจจุบันพบว่า ผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน เนื่องจากอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้สืบสายเลือดแบบสายตรงมีโอกาสป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากทำการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และควรตรวจคัดกรองบ่อยๆ หลังจากนั้น เพื่อติดตามผลการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการตรวจคัดกรอง ได้แก่ การตรวจเลือดดูค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ การตรวจภาพต่อมลูกหมาก การเอกซเรย์และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมากพอสมควรกับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ เพราะยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่าการตรวจก่อนกับการตรวจเมื่อมีอาการป่วยแล้ว จะทำให้อัตราการอยู่รอดสูงกว่ากันหรือไม่ ดังนั้นผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองอาจควรปรึกษาและขอข้อมูลจากแพทย์เฉพาะทางดูก่อนและสำหรับการป้องกันก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจะดีที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่ผู้ชายส่วนมากไม่ให้ความสนใจและละเลยด้วยคิดว่าร่างกายแข็งแรงโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นได้ยาก แต่แท้ที่จริงแล้วโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นภัยที่อยู่ใกล้ตัว ผู้ชายทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงแม้ว่าครอบครัวจะไม่มีประวัติเคยเป็นมากก่อน จนเมื่ออายุล่วงเข้า 50 ปีขึ้นไปร่างกายเริ่มอ่อนแอและเชื้อมะเร็งเจริญเติบโตอยู่ในระยะลุกลามจนเกิดการแพร่กระจายแล้ว ร่างกายจึงแสดงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากออกมาให้รับรู้ เมื่อมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จัดเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Essink-Bot ML, de Koning HJ, Nijs HG, Kirkels WJ, van der Maas PJ, Schröder FH (June 1998). “Short-term effects of population-based screening for prostate cancer on health-related quality of life”. J. Natl. Cancer Inst. 90 (12): 925–31.

Zani, EL; Clark, OA; Rodrigues Netto N, Jr (11 May 2011). “Antibiotic prophylaxis for transrectal prostate biopsy”. The Cochrane Database of Systematic Reviews.