โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดได้กับลำไส้ส่วนไหนก็ได้และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด แต่มักเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer ) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดในลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่พบที่เนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่และทวารหนักชนิดที่พบบ่อยเกิดจากการเจริญเติมโตและแพร่กระจายไปยังที่ลำไส้ใหญ่จนเกิดความผิดปกติของเยื่อบุผิวของลำไส้จนกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า โปลิป โดยเกิดขึ้นตั้งแต่ลำไส้เล็กไปจนถึงส่วนปลายที่ติดกับทวารหนัก และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ ลำไส้ประกอบด้วย   
1. ลำไส้ใหญ่ ( Colorectal )
ของคนเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนที่อยู่ในช่องท้อง เรียกว่า โคลอน และส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานเรียกว่า ลำไส้ตรง ซึ่งลำไส้ทั้งสองส่วนจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
2. ลำไส้ที่อยู่ในช่องท้อง ( CA Colon )
จะทำหน้าที่ในการดูดซึม วิตามิน เกลือแร่ น้ำและสารบางชนิดกลับเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงและฟื้นฟูส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป และเป็นทางผ่านของกากอาหารอีกด้วย
3. ลำไส้ตรง ( Rectal )
จะมีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ เกลือแร่ ยาและวิตามินเข้าสู่ร่างกาย พร้อมทั้งทำหน้าที่เก็บกักกากอาหารเอาไว้ก่อนจะขับถ่ายออกมาในรูปของอุจจาระ ซึ่งลำไส้ตรงถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก เพราะหากไม่มีลำไส้ส่วนนี้ก็จะทำให้กลั้นอุจจาระไม่อยู่นั่นเอง อาจเกิดมะเร็งลำไส้ตรงได้

อาการและสัญญาณที่บ่งชี้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อาการปวดท้อง
  • อาหารไม่ย่อย
  • การเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องร่วง ท้องผูก
  • เลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระเป็นเลือด
  • ความรู้สึกไม่สบายท้องอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นตะคริว
  • ความเหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่สามารถอธิบายได้
  • โรคโลหิตจาง หมายถึงการลดจำนวนเม็ดเลือดแดง อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก

ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทุกคนที่มีอายุ 45 ถึง 75 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และทุกคนที่มีประวัติส่วนตัวประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคลำไส้อักเสบมะเร็งรังไข่เต้านม หรือเยื่อบุโพรงมดลูก การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหรือการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและมีไฟเบอร์น้อยทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้น การทดสอบในคนทั่วไปมักไม่แสดงอาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งที่เห็นได้ชัด จึงต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ
1) การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Stool Occult Blood) คือ การตรวจเพื่อค้นหาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ซ่อนอยู่หรือเพื่อหาเลือดจำนวนเล็กน้อยที่ปนเปื้อนในอุจจาระ
2) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography) คือ การตรวจเพื่อหาติ่งเนื้อด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสร้างภาพ 3 มิติ

สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด โดยทางการแพทย์เชื่อว่าโรคนี้น่าจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่   

  • มีติ่งเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานานก็อาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
  • เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือชนิดไม่ถ่ายทอดก็ได้
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะไขมันเหล่านี้อาจไปเกาะอยู่ในผนังลำไส้และก่อให้เกิดเป็นมะเร็งในที่สุด
  • การทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยอาหารหรือมีต่ำมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่ายและอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • ผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โดยจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป
  • คนที่เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อนและรักษาจนหายแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีก โดยอาจเกิดกับลำไส้ส่วนที่ยังไม่เคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ติด 10 อันดับมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายไทย และมักจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีอีกด้วย ส่วนในเด็กโตก็มีโอกาสเป็นได้บ้างแต่พบได้ไม่บ่อยมากนัก และชนิดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มักจะพบได้บ่อยที่สุด ก็คือชนิดอะดีโนซิคาร์โนมานั่นเอง
  • การดื่มสุราหรือเบียร์ การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยมีข้อบ่งชี้ของมะเร็งในระยะต่างๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม หรือลุกลามอยู่แค่ในผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนมะเร็ง
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งอวัยวะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ปอด ตับ กระดูกเป็นต้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะพิจารณาจากส่วนของลำไส้ที่เป็นมะเร็ง

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ในส่วนช่องท้อง จะรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น นอกจากว่ามะเร็งได้เข้าสู่ระยะที่มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไป แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่อง
  • มะเร็งลำไส้ตรง จะรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน หากเป็นระยะแรก แต่ถ้าอยู่ในระยะที่มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไป แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ร่วมกับการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษาของแพทย์นั้น จะคำนึงถึงระยะของโรคมะเร็งเป็นหลัก ตามด้วยตำแหน่งที่เกิดโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งผู้ป่วยบางคนนอกจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วก็อาจต้องผ่าตัดทำทวารเทียมให้อุจจาระออกทางหน้าท้อง เพราะลำไส้ตรงไม่สามารถใช้งานได้ตามปกตินั่นเอง

สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก แพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่โดยแพทย์อาจตรวจด้วยการเอกซเรย์ดูภาพลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระ หรือการส่องกล้อง ซึ่งแม้ว่าจะตรวจไม่พบมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่ก็ควรตรวจซ้ำบ่อยๆ เช่นกัน ส่วนวิธีการป้องกัน ก็สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง

National Cancer Institute. Archived from the original on June 25, 2014. Retrieved June 10, 2014.

General Information About Colon Cancer”. NCI. May 12, 2014. Archived from the original on July 4, 2014. Retrieved June 29, 2014.

Logullo Waitzberg, AG, Kiss, DR, Waitzberg, DL, Habr-Gama, A, Gama-Rodrigues, J (Jan 2005). “Diet and colorectal cancer: current evidence for etiology and prevention”. Nutricion Hospitalaria.