แพงพวย ช่วยแก้อาการตัวเหลืองจากพิษสุรา

0
1365
แพงพวย
แพงพวย ช่วยแก้อาการตัวเหลืองจากพิษสุรา เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ใบเดี่ยว ดอกจะออกเป็นช่อกระจุก สีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ผลทรงกระบอก
แพงพวย
เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ใบเดี่ยว ดอกจะออกเป็นช่อกระจุก สีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ผลทรงกระบอก

แพงพวย

แพงพวย เป็นไม้พื้นเมืองหมู่เกาะมาดากัสการ์ มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกากลาง ปัจจุบันสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วไปในประเทศที่อากาศร้อน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Catharanthus roseus (L.) G.Don อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)[1] ชื่อสามัญ Pink periwinkle, Cape periwinkle, Bringht eye, Vinca, Pinkle-pinkle, Indian periwinkle [4], West Indian periwinkle[1], Old maid, Cayenne jasmine, Rose periwinkle [5], Madagascar periwinkle[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พังพวยฝรั่ง (ภาคกลาง), พังพวยบก (ภาคกลาง), นมอิน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), แพงพวยฝรั่ง (ภาคกลาง, จังหวัดกรุงเทพมหานคร), แพงพวยบก (ภาคกลาง, จังหวัดกรุงเทพมหานคร), ฉางชุนฮวา (จีนกลาง), ผักปอดบก (ภาคเหนือ) [1],[2],[3]

ลักษณะของต้นแพงพวย

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีเนื้ออ่อนเป็นพุ่มเตี้ย ต้นสูงได้ถึงประมาณ 25-120 เซนติเมตร ช่วงบนของลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาลปนสีเขียว มียางเป็นสีขาว ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดกิ่ง การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง โตได้ดีในดินปนกับทรายที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นปานกลาง สามารถทนความแล้งได้ ชอบแสงแดดเต็มวันจนถึงปานกลาง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะที่แถบชายทะเลจะขึ้นงอกงามเป็นพิเศษ[1],[2],[3],[5]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเป็นคู่เรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ รูปไข่ ที่โคนใบจะมนหรืออาจแหลม ส่วนที่ปลายใบจะมนเป็นติ่งหนาม ขอบใบเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนา ที่ท้องใบจะเรียบ ที่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มจะเรียบและเป็นมัน เส้นกลางใบมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองลากเป็นเส้นชัด[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจุกหรือจะออกเป็นกลุ่ม หนึ่งกระจุกมีดอกละประมาณ 1-3 ดอก ออกดอกที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยเป็นสีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ถ้าเป็นดอกสีชมพูตรงกลางดอกจะเป็นสีแดง ส่วนดอกสีขาวมีสีเหลืองที่กลางดอก มีกลีบดอกรูปไข่กลับอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมเป็นหลอด ส่วนที่ปลายกลีบจะมนและจะมีติ่งแหลม มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน ดอกบานเต็มกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ถ้าดอกร่วงจะติดผลเป็นรูปทรงกระบอก[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกระบอก ผลมักจะออกเป็นคู่ มีขนาดยาวประมาณ 2-3.75 เซนติเมตร ผลแห้งจะแตกออกเพียงด้านเดียว มีเมล็ดอยู่ในผล

ประโยชน์แพงพวย

  • ในไทยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนทั่วไป ปลูกที่ตามริมถนน ริมทางเดิน ริมทะเล สวนสาธารณะ หรือที่น้ำไม่ท่วมขัง และปลูกเป็นไม้กระถาง ควรปลูกกลางแจ้ง [5]
  • ในบางท้องถิ่นที่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียมักปลูกเป็นไม้ประดับหลุมฝังศพ จะไม่ปลูกที่ตามบ้านเรือน[2]

สรรพคุณแพงพวย

1. สามารถช่วยแก้แผลเน่าเปื่อย แก้บวม แก้แผลหกล้มได้ โดยนำต้นสดมาตำใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[4]
2. สามารถช่วยแก้เด็กเป็นฝี แก้หัวกลัดหนองที่ยังไม่แตกได้ โดยนำต้นสดมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างและใช้ตำเพื่อนำมาพอก (ทั้งต้น)[4]
3. สามารถช่วยห้ามเลือดได้ (ราก)[1],[4]
4. สามารถช่วยแก้โดนสุนัขกัด แก้งูกัด โดยนำต้นสด 1-2 กำมือมาล้างด้วยน้ำสะอาดให้สะอาด แล้วก็ตำคั้นเอาน้ำมาดื่ม สามารถใช้กากที่เหลือพอกบริเวณที่โดนกัดได้ (ทั้งต้น)[4]
5. สามารถช่วยแก้อาการตัวเหลืองเพราะพิษสุราได้ โดยนำต้นสด 1 กำมือมาตำแล้วคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้งเดือนห้าดื่ม (ทั้งต้น)[4]
6. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะเป็นหนอง แก้โรคหนองในได้ โดยนำต้นสด 30 กรัมมาผสมน้ำตาลกรวด 15 กรัม ใช้ต้มดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (ทั้งต้น)[4]
7. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิ (ราก)[1],[4],[7]
8. สามารถช่วยย่อย และช่วยแก้อาการท้องผูกเรื้อรังได้ (ใบ)[1],[4]
9. ใบกับต้น สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ โดยนำใบกับต้น 1 กำมือ มาต้มกับน้ำใช้ดื่มเช้าเย็น (ต้น, ใบ)[7]
10. ทั้งต้น มีรสจืดเย็น สามารถช่วยแก้ร้อน แก้อาการไอแห้งเพราะความร้อน ทำให้เลือดเย็น แก้หวัด และแก้ตัวร้อนได้ โดยนำต้นแห้ง 15-30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น)[3],[4]
11. ทั้งต้น มีรสเอียน สามารถต้มดื่มใช้เป็นยาแก้เบาหวาน และช่วยบำบัดเบาหวานได้ (ทั้งต้น)[3],[7] ใบเป็นยาแก้โรคเบาหวาน ชาวจาเมกาเชื่อกันว่ายาดองเหล้าที่ได้จากใบตากแห้งช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ (ใบ)[1],[4]
12. เมือง La Reunion ในประเทศฝรั่งเศสใช้รากที่หมักเปื่อยเป็นยาบำรุงและเป็นยาธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)[4]
13. ทั้งต้น รสขมนิดหน่อย จะเป็นยาเย็น และมีพิษ สามารถใช้เป็นยารักษาเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง รักษามะเร็ง ต่อต้านมะเร็ง มะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองเยอะไป โดยใช้ครั้งละ 6-15 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน (ทั้งต้น)[3],[7]
14. ราก สามารถช่วยรักษามะเร็งในเลือดได้ (ราก)[4]
15. สามารถนำก้านสดกับรากสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดได้ (ราก, ก้าน)[6]
16. สามารถนำต้นสดมาตำใช้พอกเป็นยาแก้กลากน้ำนมได้ (ทั้งต้น)[4]
17. สามารถช่วยแก้ผดผื่นคัน แก้หัด แก้แผลอักเสบ แก้หัดหลังหัดออกแต่ไข้ไม่ลด โดยนำต้นสด 30-60 กรัม มาคั้นเอาน้ำไปต้มใช้ดื่ม (ทั้งต้น)[4]
18. เมือง Orissa ของประเทศอินเดีย นำน้ำที่สกัดได้จากใบมาใช้รักษาโรคแมลงกัดต่อย (ใบ)[4]
19. ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ และยาถอนพิษสำแดงได้ (ทั้งต้น)[4]
20. สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกเยอะไปช่วงที่มีประจำเดือนของของผู้หญิงได้ โดยนำใบมาเคี้ยวใช้อมเพื่อให้ตัวยาเข้าทางปาก (ใบ)[4]
21. นำทั้งต้น มาครั้งละ 6-15 กรัม เอามาต้มกับน้ำใช้ทานเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[3],[4]
22. ราก มีรสเอียน เป็นยาแก้บิด (ราก)[1],[4],[7]
23. นำต้นสด 60 กรัมมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดฟันได้ (ทั้งต้น)[4]
24. สามารถช่วยแก้อาการท้องผูก แก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ โดยนำต้นสด 60-120 กรัมมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาผสมน้ำผึ้งเดือนห้าอุ่นดื่ม (ทั้งต้น)[4]
25. สามารถนำทั้งต้นมาต้มใช้ดื่มช่วยลดความดันโลหิต ในตามตำรับยาให้ใช้แพงพวย 15 กรัม, เก๊กฮวย 6 กรัม, ชุมเห็ดไทย 6 กรัม เอามาต้มรวมกันกับน้ำทาน หรือนำแพงพวย 15 กรัม, แห่โกวเช่า 15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ทั้งต้น)[1],[3],[4],[7]
26. ใบ สามารถช่วยบำรุงหัวใจได้ (ใบ[1],[4], ต้นและใบ[7])
27. สามารถนำก้านสดกับรากสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลังได้ (ราก, ก้าน)[6]
28. ใบ มีรสเอียน เป็นยาแก้มะเร็ง แก้มะเร็งในเม็ดเลือดของเด็กได้ (ใบ)[1]

วิธีใช้

ให้ใช้ทั้งต้นแห้งครั้งละ 15-30 กรัมเอามาต้มกับน้ำใช้ดื่ม หรือนำต้นสดมาคั้นเอาน้ำมาใช้ดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาตำใช้พอกหรือสุมไฟให้เป็นถ่านผสมเป็นยาใช้พอก[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษโดยฉีดสารสกัดที่ได้จากใบด้วยเอทานอล 95% เข้าที่ช่องท้องของหนูถีบจักร ปรากฏว่าขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งนั่นก็คือ 4 กรัมต่อกิโลกรัม[7]
  • ในปี ค.ศ. 2004 ในประเทศไทยได้ศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือดสูง ด้วยการทำการทดลองในหนู (Mice) โดยให้สารสกัดที่ได้จากแพงพวยขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ทดสอบค่าความเป็นพิษ และทดสอบผลการลดความดันโลหิตสูงในแมวที่ให้สารสกัดแพงพวยขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัม และทดสอบผลลดไขมันในเลือดในหนูโดยให้สารสกัดแพงพวยขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัม 3 สัปดาห์ ดูผลการขับปัสสาวะขนาด 0.1 กรัม ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เทียบกับสาร Furosemide ผลการทดลองสรุปว่าสารสกัดแพงพวยที่ใช้รูปยาที่ชื่อว่า RUVINAT ได้ผลดีสำหรับลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ [7]
  • นำสาร ที่สกัดได้ไปทดลองในหนูขาวทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด ปรากฏว่าสาร Vinblastine มีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งโรคต่อมน้ำเหลือง P-1534 ของหนูทดลองได้[3]
  • สกัดสารอัลคาลอยด์ Vineristine กับสาร Vinblastine จากทั้งต้น มาทำให้บริสุทธิ์ ใช้ในรูปยาฉีดรักษาคนไข้มะเร็งบางชนิด [1]
  • พบสาร Leurosidine, campesterol, arginins, akummigine, acenine, loganin, glutamine, carosine, ammocalline, ajalicine [7]
  • มีฤทธิ์ที่ทำให้เม็ดเลือดขาวน้อยลง เวลานำมาใช้ต้องระวังให้มาก ๆ [3]
  • น้ำที่ได้ ถ้าเอาไปให้สุนัขทดลองทานปรากฏว่ามีฤทธิ์ที่ลดความดันโลหิตของสุนัขได้ และพบว่ามีฤทธิ์ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ไม่กระทบกับการเต้นของหัวใจและการหายใจของปอด[3]
  • นักวิทยาศาสตร์ทำการแยกสารอัลคาลอยด์และตั้งชื่อว่า Vinblastine และใช้ทดลองกับหนูทดลอง ปรากฏว่าสาร Vinblastine มีฤทธิ์ที่ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดขาวลดลง และได้ทำการสกัดและแยกสารอัลคาลอยด์จากแพงได้ประมาณ 50 ชนิด ในจำนวนนี้มีสารอัลคาลอยด์อยู่ 4 ชนิดที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้ นั่นก็คือ Vinrosidine, Vincristine, Vinleucostine, Vinblastine (สาร Vinrosidine, Vincristine, Vinleucostine, Vinblastine เป็นสารอัลคาลอยด์ที่อยู่ในพวก Dimeric indoleindoline) ต้นหนัก 500 กิโลกรัม ให้สารอัลคาลอยด์ Vincristine 1 กรัม โดยสาร Vinblastine ที่นิยมใช้ Vinblasine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าที่หลอดเลือดดำหรือใช้ทำยาทานเพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และสาร Vincristine ที่นิยมใช้ Vincristine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าที่หลอดเลือดดำในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก[2]
  • มีฤทธิ์ที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดไขมันในเลือด ต้านเชื้อรา ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตได้[7]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “แพงพวยฝรั่ง (Phaengphuai Farang)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 202.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “แพงพวยบก”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 573-575.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “แพงพวย”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 400.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แพงพวยฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [09 พ.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แพงพวยฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [09 พ.ค. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Periwinkle madagascar, Periwinkle, Vinca, Old”. อ้างอิงใน:
7. หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [09 พ.ค. 2014]. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “แพงพวยฝรั่ง”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 132-133.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://housing.com/news/periwinkle/
2. https://alchetron.com/Catharanthus-roseus
3. https://medthai.com/