ต้นเคี่ยม ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย

0
1333
เคี่ยม
ต้นเคี่ยม ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย เป็นไม้ยืนต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีชันใสก้อนสีเหลือง ดอกเป็นช่อสีขาว มีกลิ่นหอม ผลขนาดเล็กขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่ ปลายปีกมนเรียวรูปหอก
เคี่ยม
เป็นไม้ยืนต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีชันใสก้อนสีเหลือง ดอกเป็นช่อสีขาวกลิ่นหอม ผลเล็กขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่ ปลายปีกมนเรียวรูปหอก

ต้นเคี่ยม

เคี่ยม พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดงดิบในภาคใต้ ชื่อสามัญ Resak tembaga ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium lanceolatum Craib[1] วงศ์ยางนา(DIPTEROCARPACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เคี่ยมดำ เคี่ยมขาว เคี่ยมแดง (ภาคใต้), เคี่ยม (ทั่วไป) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะต้นเคี่ยม

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงอยู่ที่ 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบคล้ายกับเจดีย์ต่ำๆ เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเป็นสีน้ำตาล จะมีรอยด่างสีเหลืองกับสีเทาสลับกันอยู่
  • เปลือก ด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ทั่วลำต้นจะมีต่อมที่ใช้ระบายอากาศกระจายตัวอยู่ ตามลำต้นมีชันใส และจับตัวเป็นก้อนสีเหลืองในภายหลัง[2]
  • ใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวสอบ โคนใบมน ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 2-5 เซนติเมตร และความยาวของใบจะอยู่ที่ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใยมีลักษณะหนา หลังใบเรียบเป็นมัน มีขนสีน้ำตาลขึ้นเป็นกระจุกอยู่บริเวณส่วนท้องของใบ[1]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ออกบริเวณตามยาวของปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ[1]
  • ผล มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 0.7 เซนติเมตร มีขนนุ่มขึ้นปกคลุมลักษณะคล้ายกับขนกำมะหยี่ ผลจะมีปีกทั้งหมด 5 ปีก เป็นปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก ปีกมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายปีกจะมนเรียวและสอบมาทางโคน มีเส้นตามแนวยาวอยู่ 5 เส้น จะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน[1],[2]

ประโยชน์เคี่ยม

1. สามารถนำเปลือกไม้มาใช้ในการรักษาน้ำตาลจากต้นตาลไม่ให้บูดเร็ว โดยนำเปลือกต้นมาตัดใส่ในกระบอกตาลเพื่อรองรับน้ำตาล ซึ่งรสฝาดของเปลือกไม้จะเป็นหัวใจหลักในการรักษาน้ำตาลไว้[2]
2. ถ่านที่ได้สามารถให้ความร้อนสูงไม่แพ้ถ่านหินเลย
3. ใช้เป็นตัวชี้วัดพื้นดินว่าเหมาะแก่การทำเกษตรและที่อยู่อาศัยหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลในด้านนิเวศน์และทางด้านภูมิสถาปัตย์[1]
4. นำมาใช้สำหรับทาเรือได้ โดยนำเปลือกต้นมาทุบผสมกับชัน[1]
5. ด้วยความแข็งแรง ทนทาน และความละเอียดของเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ หรือจะเป็นการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ต้องตากแดดตากฝนเป็นประจำก็ได้ [1],[2]

สรรพคุณเคี่ยม

1. ชันที่ได้ สามารถนำมาทำเป็นยาสมานแผลได้[1],[2]
2. เปลือกต้น สามารถนำมาทำเป็นยาที่ใช้ในการห้ามเลือดจากแผลสดได้(เปลือกต้น)[1],[2]
3. มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปากเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)[2]
4. สามารถนำมาตำพอกเพื่อบรรเทาอาการฟกบวม เน่าเปื่อยได้(ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)[2]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทำเป็นยาที่ใช้ในการชะล้างแผลได้(เปลือกต้น)[1]
6. ชัน มีคุณสมบัติในการรักษาอาการท้องร่วง[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [18 ม.ค. 2014].
2. กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ต้นเคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. [18 ม.ค. 2014].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [18 ม.ค. 2014].
4. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/