สมุนไพรไมยราบ ช่วยแก้ไส้เลื่อน แก้ไข้ออกหัด

0
1514
สมุนไพรไมยราบ ช่วยแก้ไส้เลื่อน แก้ไข้ออกหัด เป็นพืชล้มลุก ได้รับแรงสั่นสะเทือนก้านและใบจะหุบลง ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว
ไมยราบ
เป็นพืชล้มลุก ได้รับแรงสั่นสะเทือนก้านและใบจะหุบลง ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว

ไมยราบ

ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผักกระเฉด ในปัจจุบันได้มีการนำไปศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน จากงานวิจัยนี้ก็เป็นตัวตอกย้ำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในสรรพคุณของไมยราบ ได้มีการยืนยันด้วยว่าการดื่มชาสมุนไพรตัวนี้ต่างน้ำทุกวันก็ไม่มีผลข้างเคียงหรือพิษใด ๆ ในสัตว์ทดลองก็ไม่พบถึงอาการผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนที่นำมาใช้ คือ ต้น ราก ใบ และทุกส่วนของต้น ชื่อสามัญ คือ Sensitive plant, Sleeping grass, Shameplant ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mimosa pudica L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mimosa hispidula Kunth, Mimosa pudica var. pudica จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระทืบยอด หนามหญ้าราบ (จันทบุรี), หงับพระมาย (ชุมพร), ก้านของ (นครศรีธรรมราช), ระงับ (ภาคกลาง), หญ้าปันยอด หญ้าจิยอบ (ภาคเหนือ), กะหงับ ด้านของหงับพระพาย (ภาคใต้), หญ้าปันยอบ กะเสดโคก หญ้างับ

ลักษณะของไมยราบ

  • ลักษณะของต้น
    – ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้
    – ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาโดยกรมทางหลวงเพื่อนำมาใช้คลุมหน้าดิน
    – เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี
    – โดยจะแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ซึ่งจะสูงถึง 1 เมตร
    – ต้นมีสีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก
    – มีขนหยาบ ๆ ปกคลุมไปทั่วทั้งต้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น
    – แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาว 2.5-5 เซนติเมตร
    – ใบมี 1-2 ใบ มีความยาว 1.5-7 เซนติเมตร
    – ใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 12-25 คู่ มีความคล้ายรูปขอบขนานหรือรูปเคียว
    – ใบย่อย มีความยาว 0.5-1 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู
    – เป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะเป็นดอกคู่
    – ออกดอกที่บริเวณซอกใบ
    – ก้านดอกมีความยาว 2.5-4 เซนติเมตร
    – ดอกมีจำนวนมาก ไม่มีก้าน
    – มีกลีบเลี้ยงที่ค่อนข้างเล็ก
    – กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาว 2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกจะมนกลม มีความยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร
    – มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน
    – มีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม
  • ลักษณะของผล
    – เป็นฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว
    – ในแต่ละช่อดอกจะมีหลายฝัก
    – เป็นรูปขอบขนาน มีความยาว 1.5-1.8 เซนติเมตร
    – มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล
    – เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน มีความแบนเป็นสันนูนตรงกลาง
    – ในหนึ่งผลนั้นจะมีเมล็ด 2-5 เมล็ด
    – ผลจะหักตามรอยคอด

สรรพคุณของไมยราบ

  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคกษัย
  • ช่วยแก้เบาหวาน
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย
  • ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
  • ช่วยทำให้สงบประสาท
  • ช่วยแก้อาการตาบวม ตาเจ็บ
  • ช่วยแก้ไข้ออกหัด
  • ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยแก้กระเพาะอาหารอักเสบ
  • ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว
  • ช่วยแก้ไส้เลื่อน
  • ช่วยขับระดูขาว
  • ช่วยแก้ไตพิการ
  • ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว
  • ช่วยแก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยแก้อาการบวมตามเนื้อตามตัว
  • ช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอว
  • ช่วยแก้อาการปวดหลัง
  • ช่วยแก้หัด
  • ช่วยขับน้ำนม
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยทำให้ตาสว่าง
  • ช่วยในการระงับประสาท
  • ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
  • ช่วยแก้อาการบิด ท้องร่วง
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อยอาหารของเด็กไม่ดี
  • ช่วยรักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน
  • ช่วยแก้เริม
  • ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง
  • ช่วยรักษาโรคพุพอง
  • ช่วยแก้อาการงูสวัด
  • ช่วยรักษาแผลฝีหนอง
  • ช่วยรักษาแผลเรื้อรังต่าง ๆ
  • ช่วยแก้อาการปวดบวมได้

ประโยชน์ของไมยราบ

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อคลุมหน้าดินได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นรั้วบ้าน ไม้ค้ำผักได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นฟืน หรือใช้เผาถ่านเพื่อประกอบอาหารได้
  • สามารถนำมาใช้สุมไฟให้วัวให้ควาย เพื่อขับไล่ยุง ไร ในช่วงพลบค่ำได้
  • สามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ได้ เช่น การทำกรอบรูป การทำเป็นกระถางต้นไม้ในรูปแบบต่าง ๆ
  • สามารถดัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ เช่น ใช้ทำเป็นกระเช้าหรือกระถางใส่กล้วยไม้ หรือไม้ดอกไม้ประดับ
  • สามารถ นำมาใช้ทำโครงกระเป๋าต่าง ๆ ได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เว็บไซต์มูลนิธิสุขภาพไทย, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), www.gotoknow.org (คุณอานนท์ ภาคมาลี), www.jamrat.net (จำรัส เซ็นนิล)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://portal.wiktrop.org/species/show/212