ต้นรสสุคนธ์ สรรพคุณรากช่วยแก้แผลในปาก

0
1256
รสสุคนธ์
ต้นรสสุคนธ์ สรรพคุณรากช่วยแก้แผลในปาก ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ช่อดอกทรงกลม มีสีขาว มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว ผลสีเขียว ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำ
รสสุคนธ์
ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ช่อดอกทรงกลม มีสีขาว มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว ผลสีเขียว ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำ

รสสุคนธ์

รสสุคนธ์สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าชื้นทางภาคใต้ ป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ และป่าตามชายหาดหรือชายฝั่งทะเล เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร่ม มีแสงรำไร และในพื้นที่โล่งแจ้ง ชื่อสามัญ Tetracera loureiri, Dillenia ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetracera loureiri (Finet & Gagnep.) Pierre ex W. G. Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Tetracera sarmentosa var. loureiri Finet & Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ส้าน (DILLENIACEAE) ชื่ออื่น ๆ กะปด กะป๊ด ป๊ด ย่านป๊อด (ในภาคใต้), ลิ้นแรด (จังหวัดอุบลราชธานี), สับปละ (จังหวัดนราธิวาส), ลิ้นแฮด (จังหวัดยโสธร), เถากะปดใบเลื่อม (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สุคนธรส มะตาดเครือ ย่านปด อรคนธ์ ปดขน (จังหวัดนครศรีธรรมราช), บอระคน เถาอรคน อรคน (จังหวัดตรัง), ปดน้ำมัน (จังหวัดปัตตานี), ปดคาย ปดเลื่อม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ปะหล่ะลือแล็ง (จังหวัดปัตตานี), เสาวคนธ์ เสาวรส มะตาดเครือ (กรุงเทพมหานคร) เป็นต้น

ลักษณะของรสสุคนธ์

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง และต้นสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี
    – เถาเลื้อยได้ไกล 5-8 เมตร
    – ต้นไม่ผลัดใบ มีลักษณะเป็นไม้เถามีเนื้อแข็ง ลำต้นจะแตกกิ่งเลื้อยทอดยาว โดยกิ่งอ่อนจะมีขนขุยที่มีสีน้ำตาลแก่ขึ้นปกคลุมอยู่
    – เปลือกเถามีสีเป็นสีเขียวเมื่อเถายังอ่อน แต่เมื่อเถาแก่ตัวลงก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเทา เถามีเปลือกเนื้อบางเรียบไม่มีขน
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงแบบสลับกัน
    – ที่โคนใบและปลายใบมนถึงแหลม ตรงปลายใบโต ส่วนโคนใบจะเรียว ใบมีขอบใบเป็นจักห่าง ๆ
    – ลักษณะรูปร่างของใบคล้ายกับลิ้นวัว
    – ใบมีเนื้อผิวใบที่ค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวเข้ม สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน และผิวใบด้านบนสามารถมองเห็นเป็นเส้นแขนงใบเป็นร่อง ส่วนผิวของใต้ท้องใบจะมีเนื้อสัมผัสที่สากคาย และหลังใบมีสีเป็นสีเขียวเข้ม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบหรือปลายยอด
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเมื่อดอกบานเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 0.8 เซนติเมตร
    – ช่อดอกมีดอกย่อยอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลม มีสีขาว ดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว(โดยดอกจะส่งกลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน) และดอกมักจะบานไม่พร้อมกัน
    – ดอกมีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมากคล้ายกับเส้นด้ายกระจายรวมตัวกันเป็นพุ่มกลมคล้ายกับดอกกระถิน
    – โดยต้นจะออกดอกมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาวหรือก็คือในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสามารถออกดอกได้ปีละหลายครั้งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ
  • ผล
    – ผลเป็นรูปไข่เบี้ยว ผลมีสีเป็นสีเขียว มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.7 เซนติเมตร และมักจะมีจะงอยอยู่ที่ส่วนปลาย
    – เมื่อผลแก่ตัวลงจะแตกออกเป็นแนวเดียว
  • เมล็ด
    – ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำอยู่ 1-2 เมล็ด
    – เมล็ดมีลักษณะรูปทรงเป็นรูปทรงไข่ และเมล็ดจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่ โดยจะเรียกกันว่ารกสีแดงสด

สรรพคุณของต้นรสสุคนธ์

1. ลำต้นและราก ใช้ต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม โดยจะมีสรรพคุณในการช่วยรักษาฝี และแก้อาการฝีบวมได้ (ลำต้น, ราก)
2. ใบหรือรากตำใช้สำหรับพอกทำเป็นยาแก้ผดผื่นคันได้ (ใบ, ราก)
3. ใบหรือรากนำมาต้มกับใช้สำหรับดื่ม โดยจะให้สรรพคุณเป็นยาแก้อาการตกเลือดภายในปอดได้ (ใบ,ราก)
4. ใบหรือรากนำมาต้มกับน้ำใช้อม มีสรรพคุณทางยาในการช่วยแก้แผลในปากได้ (ใบ, ราก)
5. ตำรับยาพื้นบ้านทางภาคใต้ จะนำใบมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มแก้อาการสะอึกได้ (ใบ)
6. ใบ นำมาใช้ช่วยรักษาโรคหิดได้ (ใบ)
7. ดอกนำมาใช้ปรุงเป็นยาหอมใช้คู่กับเถาของต้นอรคนธ์ขาวหรือของต้นรสสุคนธ์แดง จะมีสรรพคุณในการช่วยแก้ลมวิงเวียน และแก้อาการอ่อนเพลียได้ (ดอก)
8. ดอก นำมาใช้เข้าเครื่องยาหอม มีฤทธิ์ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
9. น้ำเลี้ยงจากต้น นำมาผสมกับต้นหอม มีสรรพคุณทางยาในการนำมาใช้รักษาอาการฝีหนองได้ (น้ำเลี้ยงจากต้น)

ประโยชน์ของต้นรสสุคนธ์

1. เป็นไม้มงคล โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่ปลูกจะเป็นผู้ดีมีความงามบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ จะเป็นคนมีชื่อเสียงก้าวไกลเหมือนดังเถาที่เลื้อยไปได้ไกล ผู้คนจึงนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือน
2. ต้น มักจะนำมาปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากดอกให้ทั้งความสวยงามและกลิ่นที่หอม
3. ไม้ที่ได้จากต้นหรือเถา เป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ที่ดีจึงนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
4. เถาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกมัดหลังคาให้คงที่ หรือนำมาใช้มัดไม้สำหรับงานก่อสร้าง ส่วนเถาที่มีขนาดใหญ่ก็มักจะนำมาใช้ทำเป็นชิงช้าให้เด็กแกว่งเล่น
5. ใบแก่ นำมารูดเมือกปลาไหลได้ เพื่อให้เมือกในตัวปลาไหลนั้นหลุดออกมา

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มูลนิธิหมอชาวบ้าน นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 297 (เดชา ศิริภัทร), ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://www.earth.com/