ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้

0
1319
หญ้าขมใบย่น
ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล
หญ้าขมใบย่น
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล

หญ้าขมใบย่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Teucrium viscidum Blume จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่ออื่น ๆ ซัวคักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), ซานฮั่วเซียง โจ้วเมี่ยนขู่เฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นหญ้าขมใบย่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกที่มีอายุนานหลายปี
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร
    – ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณปลายกิ่ง ตามลำต้นและใบจะมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม[1]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่กัน
    – ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบมีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ผิวใบมีน้ำเมือกเหนียวติดอยู่ ด้านหลังใบย่นเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียวอ่อน ใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจนและใบมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.7-3 เซนติเมตร[1]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อและเรียงกันเป็นคู่ โดยจะออกดอกบริเวณตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน กลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรอยหยัก กลีบดอกจะเรียงตัวกันเป็นรูประฆังซ้อนทับกัน ด้านบนมี 2 กลีบ ส่วนด้านล่างมี 3 กลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน เกสรมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย[1]
  • ผล
    – ผล เป็นรูปไข่มีขนาดเล็ก เป็นทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร[1]
    – ผล มีสีเป็นสีเหลืองน้ำตาล และผลมีผิวย่น

สรรพคุณของต้นหญ้าขมใบย่น

1. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้าหรืองูกัดได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว และปวดข้อเข่าได้ (ทั้งต้น)[1]
3. ทั้งต้นมีรสชาติเฝื่อน มีความขมและเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะ จึงนำมาใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น ช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยกระจายเลือด (ทั้งต้น)[1]
4. ทั้งต้นนำมาใช้แก้อาการร้อนใน (ทั้งต้น)[1]
5. นำต้นสดปริมาณประมาณ 35 กรัม นำมาตำผสมกับเหล้าจากนั้นนำไปพอก จะช่วยแก้อาการเจ็บเต้านม (ทั้งต้น)[1]
6. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งใช้สำหรับรับประทาน รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด (ทั้งต้น)[1]
7. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาอาการริดสีดวงในลำไส้ได้ (ทั้งต้น)[1]
8. ทั้งต้นใช้ช่วยแก้อาการเลือดกำเดา และอาเจียนเป็นเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]
9. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-50 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน ใช้เป็นยาสำหรับแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)[1]
10. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาฝีหนองปวดบวมอักเสบ (ทั้งต้น)[1]
11. ทั้งต้นนำมาใช้ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1]
12. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับห้ามเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]

วิธีการใช้สมุนไพรต้นหญ้าขมใบย่น

ใช้ต้นแห้งครั้งละ 20-35 กรัม ส่วนต้นสดใช้ครั้งละ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

ต้นมีสารจำพวก Amino acid, Glucolin, Phenols, Carboxylic acid เป็นต้น[1]
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า ขม ใบ ย่น”.  หน้า 578.