ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง

0
1968
ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง
ยี่หร่า ใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน
ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง
ยี่หร่า ใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน

ยี่หร่า

ยี่หร่า (Tree basil) เป็นผักสมุนไพรที่มีลักษณะคล้ายกะเพรา เป็นพืชสีเขียวอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการต้านโรคมะเร็ง หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อของยี่หร่ามาบ้าง เป็นผักที่มักจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นส่วนประกอบของอาหารไทยในหลาย ๆ เมนู หรือรู้จักกันในรูปของน้ำมันยี่หร่า เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสร้อน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของยี่หร่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum gratissimum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญ 10 ชื่อ คือ “Tree basil” “Clove basil” “Shrubby basil” “African basil” “Wild basil” “Kawawya” “Caraway fruit” “Caraway seed” “Kummel” “Caraway”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โหระพาช้าง กะเพราควาย” ภาคเหนือเรียกว่า “หอมป้อม” ภาคใต้เรียกว่า “หร่า” ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “สะหลีดี” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “จันทน์หอม เนียม” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ยี่หร่า กะเพราญวน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

ลักษณะของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 ชนิด คือ เทียนขาวและอีกชนิดคือยี่หร่าที่เราพบในประเทศไทย
ลำต้น : มีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวสด ใบยี่หร่าจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสร้อน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ
เมล็ด : เมล็ดมีสีดำขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของยี่หร่า

  • สรรพคุณจากใบ ยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ แก้โรคเบื่ออาหาร แก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการคลื่นไส้ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่ม ลดอาการปวดประจำเดือน
  • สรรพคุณจากต้นและรากแห้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง ขับลมในลำไส้
  • สรรพคุณจากน้ำมันหอมระเหย ช่วยระงับอาการหดเกร็งของลำไส้
  • สรรพคุณจากผล ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3 – 5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3 – 4 ถ้วยตวง

ประโยชน์ของยี่หร่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบใช้เป็นเครื่องปรุงและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ลดการบูดเน่าเสีย ป้องกันกลิ่นเหม็นอับด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก
2. ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ น้ำมันยี่หร่านำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้

คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้
เส้นใย 26.8 กรัม
ไขมัน 0.6 กรัม
โปรตีน 14.5 กรัม
วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม 
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
เหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

ยี่หร่า เป็นผักสมุนไพรและเป็นเครื่องเทศที่สำคัญ มีการนำคำว่า “ยี่หร่า” มาตั้งเป็นชื่อร้านอาหารมากมาย และยังนำน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ในการหมักและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ต้านมะเร็ง ลดอาการปวดประจำเดือน เพิ่มความอยากอาหาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบย่อยอาหาร เป็นผักสมุนไพรที่มีรสร้อนและพบได้ในเมนูอาหารไทยทั้งหลาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม