การตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยต้นเองเบื้องต้น (ATK)
ATK ชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น สามารถตรวจด้วยตนเองได้ ง่ายและรวดเร็ว รู้ผลภายในเวลา 15-30 นาที

Antigen test kit

ATK (Antigen test kit) คือ ชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ที่ทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว ต่อการใช้งานลักษณะคล้ายกับชุดการตรวจตั้งครรภ์ ที่สามารถตรวจด้วยตนเองได้ และรู้ผลภายในเวลา 15-30 นาที

วิธีการใช้ ATK

ก่อนการทำการตรวจใช้ทุกครั้ง สิ่งสำคัญคือ ต้องความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆด้วยแอลกอฮอล์ ให้เรียบร้อย ล้างมือ สวมถุงมือ และตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ จากนั้นเริ่มทำการตรวจตามขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดซอง ก้านSwab ห้ามสัมผัสปลายสำลี
2. สอดก้าน Swab ในโพลงจมูก ทีละข้าง หมุน 5-10 รอบ ความลึกของไม้ Swab ตามคู่มือ
3. จุ่มก้านที่เก็บตัวอย่างลงในหลอดน้ำยา หมุนก้าน 5-10 ครั้ง
4. นำหลอดดูดน้ำยา หยดลงช่อง 2-3 หยด รอผล 15-30 นาที

การอ่านผลการตรวจ ATK

ก่อนอื่นต้องขออธิบายความหมายของอักษรภาษาอังกฤษตัว T และ C ที่อยู่บนอุปกรณ์ชุดตรวจATK
ตัว T ( T คือ Test line) ใช้สำหรับอ่านผลการทดสอบ ในการตรวจค่าว่าเป็น บวก หรือ ลบ ตัว C ( C คือ Control line) คือแถบควบคุมที่จะบอกว่า ผลการทดสอบน่าเชื่อถือหรือไม่
1.หากตรงตัวอักษร C ขึ้นสีแดงขีดเดียว ซึ่งแปลว่า ผลตรวจเป็นลบ (Negative) ไม่พบเชื้อ
2.หากตรงตัวอักษร C และ T ขึ้นสีแดง 2 ขีด ซึ่งก็แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก (Positive) พบเชื้อ
3.หากไม่ขึ้นขีดสีแดง ที่ตัว C และ ตัว T หรือมีสีแดงเฉพาะตรงตัว T ก็อาจจะเป็นไปได้ที่แผ่นเทสมีปัญหา

ความแม่นยำของการตรวจ ATK

การใช้ชุดตรวจATK สำหรับตรวจด้วยตนเอง มีความแม่นยำในระดับเบื้องต้น ถ้าเราได้รับเชื้อมาไม่นานและได้รับเชื้อมาไม่มาก เมื่อทำการตรวจก็อาจได้ผลเป็นลบได้ ดังนั้น ถ้าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากตรวจในวันแรก 3-5 วัน ด้วยวิธีการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นการตรวจที่แม่ยำ ที่ตรวจหาเชื้อได้แม้จะพบเชื้อที่น้อย เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง

ข้อดีของการตรวจแบบ ATK

1.เป็นชุดทดสอบที่ตรวจง่าย สามารถตรวจด้วยตนเองได้
2.สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เพื่อช่วยลดการรอคอยในการตรวจ
3.ทราบผลภายในเวลา 15-30 นาที
4.หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก
5.ถ้าชุดตรวจมีคุณภาพและตรวจถูกต้อง ทราบผลเป็นบวก จะช่วยแยกผู้ป่วยออกจากผู้ที่ไม่ป่วยได้เร็วขึ้น

ข้อเสียของการตรวจแบบ ATK

1.ต้องทำการตรวจซ้ำ 2 ครั้ง ตรวจครั้งแรกคือตรวจเบื้อต้น ตรวจครั้งที่ 2 คือตรวจยืนยันผล
2.บางครั้งตรวจ ให้ผลเป็นบวกปลอม คือ ตรวจแบบ ATK ได้ผลเป็นบวก แต่ ตรวจแบบ RT-PCRผลเป็นลบ
ซึ่งการตรวจการ RT-PCR จะให้ผลที่แม่นยำกว่า ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาในการไม่พบเชื้อ
3.ถ้าตรวจแบบ ATK ผลออกมาเป็นลบ และตรวจแบบ RT-PCR ผลเป็นบวก ก็จะเกิดปัญหาในการพบเชื้อขึ้น
และต้องทำการตรวจผลการยืนยันอีกครั้ง

การตรวจแบบ ATK เหมาะกับใคร

1.เหมาะกับผู้ที่สงสัยจะติดเชื้อ หรือไม่แสดงอาการ
2.เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาเชื้อในเบื้องต้น
3.แหล่งชุมชน และสถานบันเทิง ในการตรวจเบื้องต้น

ข้อควรระวังในการใช้ชุดตรวจ ATK

ชุดตรวจ ATK ต้องมี อย.(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) การเก็บรักษานั้น ต้องเก็บในที่อุณภูมิกำหนด และต้องตรวจสอบวันหมดอายุก่อนใช้งานทุกครั้ง และอย่าเปิดหรือฉีกบรรจุภัณฑ์ก่อนการใช้งาน หรือห้ามนำอุปกรณ์ที่ทำการใช้แล้วมาทำการทดสอบซ้ำ

จะทำอย่างไรเมื่อผลจากชุดตรวจ ATK เป็นบวก

เมื่อรู้ว่าได้พบเชื้อ ผลเป็นบวก แยกตัวออกมา เพื่อกักตัว และรีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อทางโรงพยาบาลจะได้จัดส่งรถมารับ เพื่อทำการตรวจหาเชื้อที่แน่นอนอีกครั้ง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไปอย่างไรก็ตามการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK ซึ่งเป็นการตรวจในเบื้องต้น ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ออกมารองรับปัญหาเหล่านี้ แม้จะได้ผลไม่ครบ 100 % แต่ก็สามารถใช้คัดกรองในเบื้องต้นได้ เพื่อให้รู้ว่าเราอยู่ในภาวะพบเชื้อแล้วหรือยัง และเข้าทำการรักษาอย่างไรต่อไป

ATK เมื่อใช้แล้วกำจัดอย่างไรให้ปลอดภัย

ชุดตรวจโควิด-19 ATK ที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยง ต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคต่อผู้จัดเก็บขยะหลังการตรวจเชื้อด้วย จึงจำเป็นให้คัดแยกขยะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ขยะที่ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น เอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ขยะประเภทนี้ให้เก็บรวบรวมทิ้งถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิดมิดชิดได้เลย
2. ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น ตลับหรือแผ่นทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยด ไม้ Swap ขยะประเภทนี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง ต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป เพราะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้ จึงขอให้ผู้ที่ใช้ ATK กำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือ ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาว ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ บริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม